วันอังคารที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2560

หากธุรกิจเพิ่งเริ่มสตาร์ท ควรจ้างสำนักงานบัญชีอิสระทำดีไหม ?


เพราะการทำบัญชีจะมีส่วนช่วยให้ผู้ประกอบการได้รับทราบถึงรายรับและรายจ่ายภายในกิจการของบริษัททั้งหมด ทำให้การทำบัญชีจึงกลายเป็นอีกหนึ่งสิ่งสำคัญที่จะขาดเสียไม่ได้ในการประกอบธุรกิจ

ซึ่งข้อมูลที่ได้มาในส่วนดังกล่าวเป็นเครื่อง

มือที่สำคัญของผู้ประกอบการในการควบคุมการดำเนินงานของทางบริษัท ที่จะทำให้รู้ว่าจะต้องเพิ่มเงินลงไปในส่วนไหน หรือตัดทอนในส่วนอะไรและมีกำไรมากน้อยขนาดไหนในแต่ละเดือน

ซึ่งการทำบัญชีจะสามารถทำให้กำหนดแผน งานที่เหมาะสมให้กับธุรกิจของตนเองได้ในที่สุดจึงถือเป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการทุกคนจะต้องทำ สำหรับธุรกิจเปิดใหม่ควรจ้างบริษัทรับทำบัญชีเป็นการเฉพาะเข้ามาจัดการดูแลให้ดีไหม

เกณฑ์บ่งชี้ว่าธุรกิจถึงเวลาที่จะต้องจ้างบริษัทบัญชี

รูปแบบการจัดตั้งธุรกิจคือสิ่งแรกที่ผู้ประกอบการจะต้องใช้เป็นหลักเกณฑ์ในการพิจารณาว่าควรจะใช้บริการรับทำบัญชีหรือไม่ เพราะหากเป็นธุรกิจที่มีรูปแบบการดำเนินงานที่มีเจ้าของเพียงคนเดียว เป็นธุรกิจการค้าขายแบบง่ายๆ และไม่ยุ่งยากจนเกินไปนัก ปราศจากการร่วมหุ้นก็อาจไม่มีความจำเป็นที่จะต้องไปเสียเงินจ้างบริษัทรับทำบัญชี

แต่หากธุรกิจของผู้ประกอบการมีการจดทะเบียนที่เป็นบริษัทในรูปแบบของนิติบุคคลซึ่งมีข้อกำหนดตามกฎหมายในการทำบัญชีส่งทุกเดือน ก็สมควรจะต้องจ้างบริษัทรับทำบัญชีอย่างที่สุด

เกณฑ์การตัดสินใจจ้างสำนักงานบัญชี

ถ้าธุรกิจมีเงินหมุนเวียนในระบบไม่เกินสองแสนบาทต่อเดือน และอาจเป็นประเภทร้านขายของ หรือขายสินค้าที่มีหน้าร้าน ก็คงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องจ้างบริษัทมาทำบัญชี เพราะจำนวนเงินดังกล่าวผู้ประกอบการน่าจะสามารถดูแลและจัดทำบัญชีรายรับรายจ่ายเองได้

แต่หากมีเงินหมุนเวียนในระบบมากกว่านั้น ก็อาจจะต้องให้บริษัทรับทำบัญชีมาดูแลในเรื่องดังกล่าว เพราะจำนวนเงินที่มากหากผู้ประกอบการเป็นคนทำบัญชีเอง ด้วยการค้าขายหรือบริหารงานไปพร้อมๆ กันย่อมจะเกิดความล่าช้าขึ้นเป็นธรรมดา และอาจนำไปสู่การทำบัญชีที่อาจมีข้อผิดพลาดหรือตกหล่นมากขึ้น ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อการทำธุรกิจ


ถ้าตัวผู้ประกอบการเองมีความรู้ในเรื่องของบัญชีเป็นอย่างดี และมีใบอนุญาตผู้ตรวจสอบบัญชี ก็ลืมไปได้เลยที่คิดจะไปจ้างบริษัทอื่นมาทำบัญชีให้ เพราะเป็นการสิ้นเปลืองงบประมาณโดยใช่เหตุ แต่ต้องขึ้นอยู่กับปัจจัยที่ว่าการทำบัญชีด้วยตนเองนั้นจะต้องไม่กลายเป็นภาระที่มากเกินไปสำหรับผู้ประกอบการ ซึ่งจะต้องบริหารงานบริษัทร่วมไปด้วย

แต่หากคาด การณ์ว่าแนวโน้มการเติบโตในอนาคตของธุรกิจของคุณจะมีอัตราการขยายตัวที่สูงมากขึ้นในระยะเวลาอันรวดเร็ว แนะนำให้จ้างบริษัทรับทำบัญชีมาช่วยงานด้วยทันที เพราะบริษัทบัญชีที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญจะเข้ามามีส่วนช่วยวางแผนและช่วยพัฒนาโครงสร้างที่ยั่งยืนต่อการขยับขยายธุรกิจในอนาคตของบริษัทคุณแน่นอน


ซึ่งรายละเอียดที่บริษัทบัญชีทำจะมีความน่าเชื่อถือมากกว่า และจะได้รับประโยชน์ที่คุ้มค่าหากเปรียบเทียบกับเงินที่ต้องจ่ายให้บริษัทเหล่านี้ในแต่ละเดือน ผู้ประกอบการอาจจะไม่จำเป็นต้องเสียเงินจ่ายภาษีมากเพราะบริษัทที่รับทำบัญชีมักจะมีช่องทางที่ทำให้ค่าใช้จ่ายในเรื่องภาษีของบริษัทผู้ประกอบการในแต่ละปีลดลง

ที่มาจาก: www.pangpond.com/p=50185

การจดทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะ

        ผู้ประกอบกิจการที่มีหน้าทีเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ จำต้องไปดำเนินการจดทะเบียนภายใน 30 วัน โดยใช้แบบ ภ.ธ. 01 ภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่ประกอบกิจการ โดยผู้ประกอบกิจการชั่วคราวก็จะได้รับยกเว้นไม่ต้องจดทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะ โดยมีประกาศอธิบดีกรมสรรพากร (ฉบับที่ 1) ได้กำหนดกิจการดังต่อไปนี้เป็นการประกอบกิจการชั่วคราว
  • การขายอสังหาริมทรัพย์ที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะกรณีขายอสังหาริมทรัพย์ที่ผู้ขายมีไว้ในการประกอบกิจการ
  • กรณีขายอสังหาริมทรัพย์ภายใน 5 ปี นับตั้งแต่วันที่ได้อสังหาริมทรัพย์มา
  • การให้กู้ยืมเงินของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ไม่ใช่ธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ หรือบริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ หรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจดังกล่าว ซึ่งให้กู้ยืมเงินเป็นครั้งคราวโดยไม่ใช่การประกอบกิจการตามปกติ
          หากการประกอบกิจการธุรกิจเฉพาะ ประกอบกิจการในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ให้ยื่นขอจดทะเบียนต่อสำนักงานสรรพากรพื้นที่ ที่สถานที่ประกอบการตั้งอยู่

          หากการประกอบกิจการธุรกิจเฉพาะ มีหลายสาขา ให้ยื่นคำขอจดทะเบียนต่อสำนักงานสรรพากรพื้นที่ ที่สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่

          ผู้ประกอบการที่มีหน้าที่เสียภาษีธุรกิจเฉพาะ มีสิทธิยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะและตามแบบที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด หรือ ภ.ธ. 01 ผ่านเวปไซต์ www.rd.go.th ได้อีกวิธีหนึ่ง

          หากผู้ประกอบการจดทะเบียนแล้วและดำเนินกิจการตามปกติ ผู้ประกอบการจะต้องยื่นชำระ ภาษีธุรกิจเฉพาะ หรือ ภ.ธ. 02 ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป

          ในกรณีที่เลิกกิจการ ย้ายสถานประกอบการ โอนกิจการ หรือเปลี่ยนแปลงรายการที่ประกอบกิจการ ผู้ประกอบกิจการมีหน้าที่แจ้งการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ตามแบบ ภ.ธ. 09 ต่อสำนักงานกรมสรรพากรที่จัดทะเบียนไว้ ภายใน 15 วัน นับตั้งแต่มีการเปลี่ยนแปลง

วันจันทร์ที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2560

บริการประกาศหนังสือพิมพ์

  • เชิญประชุมผู้ถือหุ้นสามัญประจำปี 
  • เชิญประชุมผู้ถือหุ้นวิสามัญประจำปี
  • เพิ่มทุน ลดทุนจดทะเบียนบริษัท 
  • กรรมการเข้า-ออก
  • เลิกบริษัท 
  • ชำระบัญชี
  • เปลี่ยนแปลงห้างหุ้นส่วนเป็นบริษัท 
  • ประกาศจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร
  • ย้ายสำนักงาน
  • แก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อบังคับ ระเบียบของบริษัท 
  • เปลี่ยนตราประทับ
  • เปลี่ยนแปลงอำนาจกรรมการ 
  • ประกาศจ่ายเงินปันผล
  • หนังสือแจ้งให้ชำระหนี้
  • ประกาศอื่นๆ

บริการตรวจสอบบัญชี

          บริษัท บุศราคัมการบัญชี จำกัด เป็นบริษัทที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้อย่างถูกต้องกับสภาวิชาชีพบัญชี โดยมีการวางหลักประกันเพื่อให้ลูกค้าได้มั่นใจในการให้บริการตรวจสอบบัญชี

          สำหรับงานตรวจสอบบัญชี ทางบริษัทได้รวมรวบผู้มีประสบการณ์ทางด้านการตรวจสอบบัญชี โดยมีประสบการณ์ทำงานจากบริษัท Big4 ทางด้านการตรวจสอบบัญชี มากกว่า 8 ปี ที่ผ่านมามีลูกค้าให้ความเชื่อถือในงานบริการตรวจสอบบัญชีของทางบริษัทเราโดยบริษัท บุศราคัมการบัญชี จำกัด รับเป็นผู้ตรวจสอบบัญชีให้กว่า 100 ราย โดยประกอบไปด้วยบริษัทหลากหลายอุตสาหกรรม ที่มี่รายได้ตั้งแต่ 1 ล้านบาท ไปจนถึง 1,000 ล้านบาท


ทำไมถึงเลือกใช้บริการตรวจสอบบัญชีกับทางเรา

เราใช้เทคโนโลยีการตรวจสอบบัญชีสมัยใหม่ โดยมีการประเมินความเสี่ยงในการตรวจสอบบัญชี, วางแผนการตรวจสอบบัญชี และใช้เทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์มาช่วยในการตรวจสอบ ทำให้งานตรวจสอบบัญชีมีประสิทธิภาพมากกว่าการตรวจสอบปกติ
เรามีการตรวจสอบระบบควบคุมภายใน เพื่อประเมินความเสี่ยงในการตรวจสอบบัญชี และมีการทำหนังสือเสนอแนะแก่ผู้บริหารในกรณีที่เจอข้อบกพร่องของการควบคุมภายใน
เราทำความเข้าใจธุรกิจลูกค้าก่อนตรวจสอบทำให้ลดภาระของลูกค้าในการ support ผู้ตรวจสอบบัญชี
   

ธุรกิจที่เรามีความเชี่ยวชาญในการรับตรวจสอบบบัญชี
  • รับตรวจสอบบัญชี ธุรกิจประเภทซื้อมา-ขายไป
  • รับตรวจสอบบัญชี ธุรกิจบริการ
  • รับตรวจสอบบัญชี ธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง
  • รับตรวจสอบบัญชี ธุรกิจโรงงานอุตสาหกรรม
  • รับตรวจสอบบัญชี องค์กรไม่แสวงหาผลกำไร เช่น มูลนิธิ, สมาคม
  • รับตรวจสอบบัญชี นิติบุคคลอาคารชุด และหมู่บ้านจัดสรร


รายละเอียดการตรวจสอบ
  • ตรวจสอบงบการเงินประจำปี โดยผู้ตรวจสอบที่ได้รับอนุญาต (CPA) ตามที่กฎหมายกำหนด
  • ตรวจสอบงบการเงินประจำปี โดยผู้สอบบัญชีภาษีอากร (TA) ตามที่กฎหมายกำหนด
  • จัดทำรายงานเสนอข้อบกพร่องของการควบคุมภายในที่ตรวจพบ (ถ้ามี)
  • บริการจัดเตรียมรายละเอียดประกอบการยื่นงบการเงิน พร้อมยื่นงบส่งกระทรวงพาณิชย์ ได้แก่ สบช.3, สำเนารายชื่อผู้ถือหุ้น (บอจ.5)

          อัตราค่าบริการรับตรวจสอบบัญชีสำหรับค่าบริการรับตรวจสอบบัญชี ขึ้นอยู่กับความซับซ้อนของลักษณะธุรกิจ และปริมาณเอกสารของบริษัทลูกค้า โดยเราจะคำนวณค่าบริการตรวจสอบบัญชีจากปริมาณพนักงานที่ใช้ในการตรวจสอบ และระยะเวลาในการทำงานเป็นสำคัญ โดยค่าบริการเริ่มต้นที่ x,xxx บาท (สำหรับงบการเงินเปล่าที่ไม่มีรายการเคลื่อนไหวในระหว่างปี)

วันศุกร์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2560

ความรู้บัญชีและภาษีอากร

บทความ : การจดทะเบียน บริษัท ห้างหุ้นส่วน

บทความ : หมายเรียกตำรวจไม่ส่งงบการเงิน

บทความ : แนวข้อสอบ ผู้สอบบัญชีภาษีอากร (TA)

บทความ : โปรแกรมบัญชี

บทความ : ผู้ทำบัญชี  ผู้ตรวจสอบบัญชี และเรื่องทั่วไป

บทความ : ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

บทความ : ภาษีเงินได้นิติบุคคล

วันศุกร์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

จดทะเบียนบริษัท หรือ ห้างหุ้นส่วนดีไหม



จดทะเบียนแบบไหนดี ?
จะจดทะเบียนดีหรือไม่ ?
หลังจดไปแล้วมีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง ?
มันช่วยลดภาษีได้จริงหรือ ?

มีผู้ประกอบการหลายราย  ที่เริ่มต้นจะประกอบธุรกิจ  หรือประกอบธุรกิจมานานแล้วแต่ลังเลว่าจะจดทะเบียน บริษัท หรือห้างหุ้นส่วนดีหรือไม่  มีลูกค้าหลายรายโทรเข้ามาปรึกษา และสอบถามเข้ามาจำนวนมาก ว่าจะจดทะเบียนบริษัทดีไหม  

ขอให้ทุกท่านพิจารณาปัจจัยดังต่อไปนี้ค่ะ

1. งานที่ท่านทำจำเป็นที่จะต้องจดทะเบียนบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนหรือไม่  (ถ้าปกติรับงานจากบุคคลธรรมดา  หรือ มีคนรู้จักที่ ดิวงานด้วยกันอยู่แล้ว อันนี้ไม่แนะนำให้จดค่ะ  เพราะยังไงลูกค้าก็ให้ความเชื่อถือในตัวเราอยู่แล้ว  แต่หากรับงานกับบุคคลภายนอกที่ไม่รู้จักเลย  ถ้าอยากสร้างความน่าเชื่อถือ  จดทะเบียนบริษัท ห้างหุ้นส่วน  ก็ถือว่าจำเป็นอย่างยิ่ง  เพราะลูกค้าไม่รู้จักตัวตนเราเลย ดังนั้น การที่จะไว้ใจที่จะให้เราทำงานให้ก็ค่อนข้างเสี่ยงค่ะ  

2. ท่านมีความจำเป็นต้องจดทะเบียน  บริษัท  ห้างหุ้นส่วน  เพราะภาษีที่เสียค่อนข้างสูงมาก  ดังนั้นการเลือกจดทะเบียนบริษัท ห้างหุ้นส่วน ก็ถือว่า เป็นสิ่งที่ดี ที่จะช่วยท่านให้เสียภาษีลดลง  ทีนี้ เราจะรู้ได้อย่างไรละว่าหลังจากจดทะเบียนแล้ว  ระหว่าง  ยอมเสียภาษีนามบุคคลแบบเดิม  หรือ  ยอมจ่ายค่าทำบัญชีดีกว่าแล้วเสียภาษีลดลง  อันนี้ค่อนข้างเป็นประเด็นเลยทีเดียวและต้องให้คนที่มีความรู้เฉพาะทางช่วยคำนวณภาษีให้ เปรียบเทียบระหว่างภาษีนามบุคคล และ นิติบุคคล  หรือท่านจะลองศึกษาจาก web site ที่น่าเชื่อถือก็ได้ค่ะ แล้วลองคำนวณ เพื่อพิจารณาเปรียบเทียบเบื้องต้น

3. แล้วจะจดทะเบียนแบบไหนดี  ทุกท่าน ลองอ่านตามลิงค์นี้นะคะ  >>>  จดทะเบียนแบบไหนดี

4. นอกจากท่านจะมีค่าใช้จ่ายในการจดทะเบียนแล้ว  ก็จะมีค่าใช้จ่าย  และความยุ่งยาก  เกิดขึ้นหลายๆอย่าง  เช่น  ค่าทำบัญชีและตรวจสอบ อาจเริ่มต้นปีละ 8000+........บางรายหลักแสนก็ขึ้นอยู่กับจำนวนเอกสารและรายได้ของกิจการค่ะ  (ท่านลองพิจาณาดูค่ะว่า  ระหว่างค่าใช้จ่ายที่จ่ายไป  หรือ  ค่าภาษีที่ได้จ่ายไปอย่างไหนคุ้มกว่ากัน) 

ส่วนความยุ่งยากที่เกิดขึ้น  ก็จะเป็นเรื่องการจัดเก็บเอกสารบัญชีที่ถูกต้องตามที่กรมสรรพากรกำหนด ในส่วนนี้ก็เป็นเรื่องที่สำคัญมากพอสมควรเพราะ หากท่านเก็บเอกสารไม่เรียบร้อยแล้ว  บิลหาย  มีบิลแต่มีเหล่านั้นใช้ไม่ได้  นั่นคือปัญหา เกี่ยวกับการจัดทำบัญชีและการเสียภาษีนามนิติบุคคลนั่นเอง  

นอกจากนี้บางท่านก็ไม่รู้เลยว่าต้องจัดทำบัญชีและตรวจสอบ  หรือรู้แต่ไม่มีงบประมาณในการจัดทำบัญชีและตรวจสอบ  เป็นเหตุให้ได้รับหมายเรียกจากทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติให้ยื่นงบการเงิน

ดังนั้น  ทางเราอยากให้ทุกๆท่านพิจารณาให้อย่างถี่ถ้วนก่อนที่จะจดทะเบียนบริษัท  "บริษัท บุศราคัมการบัญชี  จำกัด"  ขอเป็นกำลังใจให้กับผู้ประกอบการทุกๆท่านนะคะ  หากมีข้อสงสัยเพิ่มเติม  สามารถโทรปรึกษาเราได้ค่ะ ยินดีให้คำแนะนำกับทุกๆท่านค่ะ  089-6386450

อ่านรายละเอียดอื่นๆเพิ่มเติม

วันพุธที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

ค่าปรับยื่น ภงด51 ล่าช้า

ข้อควรระวังสำหรับการยื่นแบบ ภ.ง.ด. 51

การยื่นแบบ ภ.ง.ด. 51 เป็นการยื่นแบบแสดงรายการภาษีครึ่งปี ซึ่งเป็นการนำส่งภาษีไว้ล่วงหน้า โดยความผิดที่อาจจะเกิดขึ้นได้สำหรับกรณีนี้นั้น มีอยู่ 2 กรณี คือ การยื่นแบบแสดงรายการล่าช้า และ การประมาณการกำไรสุทธิขาดไปเกินร้อยละ 25
1. การยื่นแบบล่าช้า กรณีที่ไม่ได้ยื่นแบบแสดงรายการตามกำหนดเวลา บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลต้องระวางโทษปรับอาญาตามมาตรา 35 แห่งประมวลรัษฎากร ดังนี้.
1. กรณียื่นแบบแสดงรายการ ภายใน 7 วันนับตั้งแต่วันพ้นกำหนดยื่นรายการ ต้องระวางโทษปรับ 1,000 บาท
2. กรณียื่นแบบแสดงรายการหลังจาก 7 วันนับตั้งแต่วันพ้นกำหนดเวลายื่นรายการต้องระวางโทษปรับ 2,000 บาท
ถ้าหากมีเงินภาษีต้องชำระ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลยังต้องรับผิดชอบเสียเงินเพิ่มตามมาตรา 67 ตรีแห่งประมวลรัษฎากรในอัตราร้อยละ 1.5 ต่อเดือน
2. การประมาณการกำไรสุทธิสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีขาดไปเกินร้อยละ 25
มาตรา 67 ตรีแห่งประมวลรัษฏากรกำหนดไว้ว่า หากกิจการประมาณการกำไรสุทธิขาดไปเกินร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิ โดยไม่มีเหตุอันสมควร มีผลทำให้ต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 20 ของจำนวนเงินภาษีที่ต้องชำระ
ตัวอย่างเช่น บริษัทได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคล (ภ.ง.ด.51) โดยประมาณการกำไรสุทธิทั้งปีไว้จำนวน 6,000,000 บาท แต่ปรากฏว่าเมื่อสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี บริษัทมีกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้จำนวน 10,000,000 บาท จากกรณีดังกล่าวบริษัทแสดงประมาณการกำไรสุทธิทั้งปีตามแบบ ภ.ง.ด. 50 ต่ำกว่ากำไรสุทธิจริงที่ได้ยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 เมื่อสิ้นรอบระยะเวลาบัญชีไปจำนวน 4,000,000 บาท หรือคิดเป็นร้อยละ 40 ซึ่งถือว่าบริษัทฯได้ประมาณการขาดไปเกินกว่าร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิตามแบบ ภ.ง.ด.50
อย่างไรก็ตามประมวลรัษฏากรมีบทอนุโลมเพื่อลดหย่อนกรณีประมาณการกำไรขาดเกินไว้ นั่นคือ คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป. 50/2537 ได้ระบุไว้ว่า ถ้าหากกิจการสามารถเลือกที่จะประมาณการกำไรสุทธิและยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีครึ่งปีไว้ “ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง” ของภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ได้ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในรอบระยะเวลาบัญชีที่แล้ว กรณีดังกล่าวจะถือว่าเป็นกรณีที่มีเหตุอันสมควร และถ้าหากกิจการทำได้เพียงเท่านี้ก็ไม่มีปัญหาที่ต้องโดนเบี้ยปรับเงินเพิ่มและยื่นคำร้องขอพิจารณาลดเบี้ยปรับและเงินเพิ่มย้อนหลังอีกต่อไป
ตัวอย่างเช่น บริษัทแห่งหนึ่งได้ยื่นภาษีเงินได้สำหรับรอบบัญชีปี 2556 ไว้จำนวน 5,000,000 บาท ดังนั้นในปี 2557 บริษัทฯ ดังกล่าวต้องยื่นชำระภาษีครึ่งปีของไว้ไม่ต่ำกว่า 2,500,000 บาท ถึงแม้ว่าจะประมาณการกำไรสุทธิขาดเกินไปกว่าร้อยละ 25 ก็ถือว่าเป็นเหตุอันสมควร เพราะเสียภาษีไว้ไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของ 5,000,000 บาท

การคำนวณ “เงินเพิ่ม” เมื่อประมาณการกำไรสุทธิขาดเกินไปกว่าร้อยละ 25

ตัวอย่างเช่น บริษัท SMEs มีทุนที่ชำระแล้วในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีไม่เกิน 5 ล้านบาท และมีรายได้จากการขายสินค้าจำนวน 25 ล้านบาท มีกึ่งหนึ่งของประมาณการกำไรสุทธิที่ต้องเสียภาษีคือ 2,500,000 บาท (จากประมาณการกำไรสุทธิทั้งปี 5,000,000 บาท) ดังนั้นภาษีที่คำนวณได้และต้องยื่นแบบแสดงรายการก็คือก็คือ 405,000 บาทเนื่องจากกิจการดังกล่าวได้รับยกเว้นกำไรสุทธิ 300,000 บาทแรกตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นรัษฎากรฉบับที่ 564
เมื่อถึงวันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี ปรากฎว่าบริษัทฯมีกำไรสุทธิที่เกิดขึ้นจริงจำนวน 10,000,000 บาท นั่นหมายความว่า บริษัทฯได้ประมาณการขาดเกินไปถึงร้อยละ 50 ซึ่งมากกว่าร้อยละ 25 ดังนั้นวิธีการคำนวณเงินเพิ่มจะเป็นดังนี้
1. กำไรสุทธิตาม ภ.ง.ด.50 = 10,000,000 บาททำให้บริษัทฯมีกึ่งหนึ่งของกำไรสุทธิ = 5,000,000 บาท
2. คำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลตามอัตราที่กฎหมายกำหนด รวมภาษีที่คำนวณได้ 905,000.00
3. ดังนั้นภาษีที่ยื่นขาดไปจำนวน (905,000 – 405,000) = 500,000 บาท มีผลให้บริษัทต้องเสียเงินเพิ่ม 20 % ของภาษีที่ชำระขาดไป (500,000 x 20%) คือ = 100,000 บาท

Disqus Shortname

Comments system