วันอังคารที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2557

ขั้นตอนการจดทะเบียนบริษัท

ขั้นตอนการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท ห้างหุ้นส่วนจำกัด นิติบุคคล 

     ผู้มีหน้าที่จดทะเบียนพาณิชย์ คือ บุคคลธรรมดาคนเดียว หรือหลายคน (ห้างหุ้นส่วนสามัญ) หรือนิติบุคคล รวมทั้งนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมาย ต่างประเทศที่มาตั้งสำนักงานสาขาในประเทศไทยซึ่งประกอบกิจการอันเป็นพาณิช ยกิจตามที่กระทรวงพาณิชย์กำหนด กิจการที่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ได้ออกประกาศให้ผู้ประกอบกิจการดังต่อไปนี้ ต้องจดทะเบียนพาณิชย์ คือ
  1. ผู้ประกอบกิจการโรงสีข้าวและโรงเลื่อยที่ใช้เครื่องจักร
  2. ผู้ ประกอบกิจการขายสินค้าไม่ว่าอย่างใดๆ อย่างเดียวหรือหลายอย่าง คิดรวมทั้งสิ้น ในวันหนึ่งขายได้เป็นเงินตั้งแต่ 20 บาท ขึ้นไปหรือมีสินค้าดังกล่าวไว้เพื่อขายมีค่ารวมทั้งสิ้นเป็นเงินตั้งแต่ 500 บาทขึ้นไป
  3. นายหน้าหรือตัวแทนค้าต่างซึ่งทำการเกี่ยวกับสินค้า ไม่ว่าอย่างใดๆ อย่างเดียวหรือหลายอย่างก็ตาม และสินค้านั้นมีค่า รวมทั้งสิ้นในวันหนึ่งวันใดเป็นเงินตั้งแต่ 20 บาทขึ้นไป
  4. ผู้ประกอบ กิจการหัตถกรรมหรืออุตสาหกรรมไม่ว่าอย่างใดๆ อย่างเดียวหรือหลายอย่างก็ตาม และขายสินค้าที่ผลิตได้ คิดราคารวมทั้งสิ้นในวันหนึ่งวันใดเป็นเงินตั้งแต่ 20 บาทขึ้นไปหรือในวันหนึ่งวันใดมีสินค้าที่ผลิตได้มีราคารวมทั้งสิ้น
    ตั้งแต่ 500 บาทขึ้นไป
  5. ผู้ ประกอบกิจการขนส่งทางทะเล การขนส่งโดยเรือกลไฟหรือเรือยนต์ประจำทาง การขนส่งโดยรถไฟ การขนส่ง โดยรถรางการขนส่งโดยรถยนต์ประจำทาง การขายทอดตลาด การรับซื้อขายที่ดิน การให้กู้ยืมเงิน การรับแลกเปลี่ยน หรือซื้อขายเงินตราต่างประเทศ การซื้อหรือขายตั๋วเงิน การธนาคาร การโพยก๊วน การทำโรงรับจำนำ และการทำโรงแรม
  6. ขาย ให้เช่า ผลิต หรือรับจ้างผลิต แผ่นซีดี แถบบันทึก วีดิทัศน์ แผ่นวีดิทัศน์ ดีวีดีหรือแผ่นวีดิทัศน์ระบบดิจิทัล เฉพาะที่เกี่ยวกับการบันเทิง
  7. ขายอัญมณี หรือเครื่องประดับซึ่งประดับด้วยอัญมณี
  8. ซื้อ ขายสินค้าหรือบริการโดยวิธีการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเครือข่าย อินเตอร์เน็ต บริการอินเตอร์เน็ต ให้เช่าพื้นที่ของเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย บริการเป็นตลาดกลางในการซื้อขายสินค้าหรือบริการโดยวิธีการใช้สื่อ อิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
  9. การให้บริการเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อใช้อินเตอร์เน็ต
  10. การให้บริการฟังเพลงและร้องเพลงโดยคาราโอเกะ
  11. การให้บริการเครื่องเล่นเกมส์
  12. การให้บริการตู้เพลง
กิจการที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์
มีกิจการบางอย่างที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์ คือ
1. การค้าเร่ การค้าแผงลอย
2. กิจการเพื่อการบำรุงศาสนาหรือเพื่อการกุศล
3. กิจการของนิติบุคคลซึ่งได้มีพระราชบัญญัติ หรือพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งขึ้น
4. กิจการของกระทรวง ทบวง กรม
5. กิจการของมูลนิธิ สมาคม สหกรณ์
6. พาณิชยกิจซึ่งรัฐมนตรีได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ได้แก่
1. บริษัทจำกัด ห้างหุ้นส่วนจำกัด ห้างหุ้นส่วนสามัญ จดทะเบียน ที่เป็นนิติบุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วยหุ้นส่วนและบริษัท และได้ยื่นแบบแสดงรายการเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจของห้างหุ้นส่วนบริษัทไว้ แล้วต่อนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท ยกเว้นบริษัทจำกัด ห้างหุ้นส่วนจำกัด ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน ที่ประกอบกิจการต่อไปนี้ต้องจดทะเบียนพาณิชย์ด้วย
(1) ขาย ให้เช่า ผลิต หรือรับจ้างผลิต แผ่นซีดี แถบบันทึก วีดิทัศน์ แผ่นวีดิทัศน์ ดีวีดี หรือแผ่นวีดิทัศน์ระบบดิจิทัล เฉพาะที่เกี่ยวกับการบันเทิง(2) ขายอัญมณี หรือเครื่องประดับซึ่งประดับด้วยอัญมณี
(3) ซื้อขายสินค้าหรือบริการโดยวิธีการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเครือข่าย อินเตอร์เน็ต บริการอินเตอร์เน็ตให้เช่าพื้นที่ของเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย บริการเป็นตลาดกลางในการซื้อขายสินค้าหรือบริการโดยวิธีการใช้สื่อ อิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
(4) การให้บริการเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อใช้อินเตอร์เน็ต
(5) การให้บริการฟังเพลงและร้องเพลงโดยคาราโอเกะ
(6) การให้บริการเครื่องเล่นเกมส์
(7) การให้บริการตู้เพลง
2. พาณิชยกิจของกลุ่มเกษตรที่ได้จดทะเบียนตาม ปว.141 ลงวันที่ 1 พฤษภาคม 2515
การยื่นจดทะเบียนพาณิชย์?
ท่าน สามารถ Download แบบพิมพ์ ไปใช้ในการจดทะบียนได้ หรือ ขอรับแบบพิมพ์ได้ที่สำนักงานบริการจดทะเบียนธุรกิจ และสำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดทุกแห่ง

การจดทะเบียนตั้งใหม่ มีเอกสารดังนี้1. คำขอจดทะเบียน : แบบ ทพ. ( Print - out 2 แผ่น )
2. หลักฐานประกอบคำขอ
2.1 สำเนาบัตรประจำตัวของเจ้าของกิจการ หรือ หุ้นส่วนผู้จัดการ หรือ ผู้รับผิดชอบในการประกอบกิจการในประเทศในกรณีเป็นนิติบุคคลต่างประเทศ
2.2 สำเนาเอกสารแสดงการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลในต่างประเทศหนังสือแต่งตั้งผู้ รับผิดชอบดำเนินการในประเทศใบอนุญาตทำงาน ในกรณีเป็นนิติบุคคลต่างประเทศ
2.3 การจดทะเบียนพาณิชย์ เป็นผู้ประกอบพาณิชยกิจการขายหรือให้เช่า แผ่นซีดี แถบบันทึก วีดิทัศน์ แผ่นวีดิทัศน์ ดีวีดีหรือแผ่นวีดิทัศน์ระบบดิจิทัล เฉพาะที่เกี่ยวกับการบันเทิง ให้ผู้ประกอบพาณิชยกิจแจ้งข้อมูลและส่งสำเนาเอกสารต่อไปนี้ประกอบการขอจด ทะเบียน คือ
- หมายเลขบัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากร พร้อมทั้งแนบสำเนาบัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากร
- แผนที่สถานที่ซึ่งใช้ประกอบพาณิชยกิจเป็นปกติ
- สำเนาหนังสืออนุญาตหรือหนังสือรับรองให้เป็นผู้จำหน่ายหรือให้เช่าสินค้าดังกล่าวจากเจ้าของลิขสิทธิ์ของสินค้าที่ขายหรือให้เช่า
2.4 การจดทะเบียนพาณิชย์ เป็นผู้ประกอบพาณิชยกิจการขายอัญมณีหรือเครื่องประดับ ซึ่งประดับด้วยอัญมณี ต้องเพิ่มหลักฐานหนังสือยินยอมให้ใช้สถานที่ประกอบพาณิชยกิจหรือสัญญาเช่า นอกจากนั้นต้องส่งหลักฐานเพิ่มเติม ดังนี้
- กรณีเป็นบุคคลธรรมดา ต้องทำหนังสือชี้แจงพร้อมแนบหลักฐานแสดงจำนวนเงินทุนที่นำมาใช้ในการประกอบ พาณิชยกิจ หรือมาให้ข้อเท็จจริงในเรื่องดังกล่าว?
- กรณีเป็นนิติบุคคล ต้องทำหนังสือชี้แจงว่าตนเองประกอบอาชีพอะไร เช่น เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ หรือเป็นกรรมการบริษัทใด แล้วแต่กรณี ประกอบคำขอจดทะเบียนด้วย
2.5 หนังสือมอบอำนาจ (ถ้ามี)

การจดทะเบียนเปลี่ยนแปลง มีเอกสารดังนี้

1. คำขอจดทะเบียน : แบบ ทพ. ( Print - out 2 แผ่น )
2. หลักฐานประกอบคำขอ
2.1 สำเนาบัตรประจำตัวของเจ้าของกิจการ หรือหุ้นส่วนผู้จัดการ หรือผู้รับผิดชอบในการประกอบกิจการในประเทศในกรณีเป็นนิติบุคคลต่างประเทศ
2.2 ใบทะเบียนพาณิชย์หรือใบแจ้งความ กรณีใบทะเบียนพาณิชย์สูญหาย
2.3 สำเนาหลักฐานอื่นแล้วแต่กรณี เช่น ใบสำคัญการสมรสใบสำคัญการเปลี่ยนชื่อตัวและชื่อสกุล เป็นต้น
2.4 หนังสือแต่งตั้งผู้รับผิดชอบดำเนินการในประเทศหรือหลักฐานการเปลี่ยนแปลง กรรมการในกรณีเปลี่ยนแปลงผู้รับผิดชอบดำเนินการในประเทศหรือกรรมการ
2.5 หนังสือมอบอำนาจ (ถ้ามี)
รายการที่ต้องยื่นจดทะเบียนเปลี่ยนแปลง มีดังนี้1. เลิกชนิดประกอบกิจการ บางส่วน และ/หรือเพิ่มใหม่
2. เปลี่ยนชื่อที่ใช้ในการประกอบกิจการ
3. ย้ายสำนักงานใหญ่
4. เปลี่ยนผู้จัดการ
5. เจ้าของหรือผู้จัดการย้ายที่อยู่
6. เพิ่มหรือลดเงินทุน
7. ย้าย เลิก หรือเพิ่มสาขา โรงเก็บสินค้า หรือตัวแทนค้าต่าง
8. อื่นๆ เช่น เจ้าของหรือผู้จัดการเปลี่ยนชื่อตัวหรือชื่อสกุล หรือรายการที่จดทะเบียนไว้ไม่ตรงตามข้อเท็จจริง
หมายเหตุุ หากต้องการเปลี่ยนแปลงรายการใด ให้กรอกรายละเอียดเฉพาะรายการที่ต้องการเปลี่ยนแปลงเท่านั้น

การจดทะเบียนเลิก มีเอกสารดังนี้
1. คำขอจดทะเบียน : แบบ ทพ. ( Print - out 2 แผ่น )
2. หลักฐานประกอบคำขอ
2.1 สำเนาบัตรประจำตัวของเจ้าของกิจการ หรือหุ้นส่วนผู้จัดการ หรือผู้รับผิดชอบในการประกอบกิจการในประเทศในกรณีเป็นนิติบุคคลต่างประเทศ
2.2 ใบทะเบียนพาณิชย์หรือใบแจ้งความ กรณีใบทะเบียนพาณิชย์สูญหาย
2.3 หนังสือรับฝากบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชีในกรณีที่มีหน้าที่จัดทำบัญชี
2.4 สำเนาเอกสารการสั่งให้เลิกประกอบกิจการในประเทศในกรณีเป็นนิติบุคคลต่างประเทศ
2.5 สำเนาใบมรณบัตรของผู้ประกอบกิจการ ในกรณีที่ผู้ประกอบกิจการถึงแก่กรรม
2.6 หนังสือมอบอำนาจ (ถ้ามี)

สถานที่จดทะเบียน

1. ผู้ประกอบพาณิชยกิจที่มีสำนักงานตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ยื่นคำขอจดทะเบียนได้ที่ ส่วนจดทะเบียนธุรกิจกลาง หรือ สำนักงานบริการจดทะเบียนธุรกิจ 1 - 7
2. ผู้ประกอบพาณิชยกิจที่มีสำนักงานตั้งอยู่ในต่างจังหวัด ยื่นคำขอจดทะเบียนได้ที่องค์การบริหารส่วนจังหวัด หรือเมืองพัทยา แล้วแต่กรณี เว้นแต่พาณิชยกิจที่รัฐมนตรีกำหนดเป็นการเฉพาะ ให้ยื่นคำขอจดทะเบียนได้ที่สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดที่สำนักงาน ตั้งอยู่ ยกเว้นองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา ระยอง ชัยภูมิ สมุทรปราการ และนราธิวาส ซึ่งยังไม่พร้อมที่จะรับจดทะเบียนให้ยื่นคำขอจดทะเบียนได้ที่สำนักงานพัฒนา ธุรกิจการค้าจังหวัด หรืออำเภอหรือกิ่งอำเภอที่สำนักงานตั้งอยู่ พาณิชยกิจที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดเป็นการเฉพาะให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกรม พัฒนาธุรกิจการค้า มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
- ขาย ให้เช่า ผลิต หรือรับจ้างผลิต แผ่นซีดี แถบบันทึก วีดิทัศน์ แผ่นวีดิทัศน์ ดีวีดี หรือแผ่นวีดิทัศน์ระบบดิจิทัล เฉพาะที่เกี่ยวกับการบันเทิง
- ขายอัญมณี หรือเครื่องประดับซึ่งประดับด้วยอัญมณี
- ซื้อขายสินค้าหรือบริการโดยวิธีการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเครือข่าย อินเตอร์เน็ต บริการอินเตอร์เน็ตให้เช่าพื้นที่ของเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย บริการเป็นตลาดกลางในการซื้อขายสินค้าหรือบริการโดยวิธีการใช้สื่อ อิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
- การให้บริการเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อใช้อินเตอร์เน็ต
- การให้บริการฟังเพลงและร้องเพลงโดยคาราโอเกะ
- การให้บริการเครื่องเล่นเกมส์
- การให้บริการตู้เพลง
ค่าธรรมเนียม
  1. การขอดำเนินการตาม พ.ร.บ. ทะเบียนพาณิชย์ฯ จะต้องเสียค่าธรรมเนียมตามประเภทของการดำเนินการดังต่อไปนี้
  2. จดทะเบียนพาณิชย์ตั้งใหม่ 50 บาท
  3. จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงรายการจดทะเบียน ครั้งละ20 บาท
  4. จดทะเบียนเลิกประกอบพาณิชยกิจ20 บาท
  5. ขอให้ออกใบแทนใบทะเบียนพาณิชย์ ฉบับละ 30 บาท
  6. ขอตรวจเอกสารของผู้ประกอบพาณิชยกิจ ครั้งละ 20 บาท
  7. ขอให้เจ้าหน้าที่คัดสำเนาและรับรองสำเนาเอกสาร ฉบับละ 30 บาท
กำหนดระยะเวลาการจดทะเบียนพาณิชย์
  1. จดทะเบียนพาณิชย์ตั้งใหม่ ต้องจดทะเบียนภายใน 30 วันนับแต่วันเริ่มประกอบกิจการ
  2. การเปลี่ยนแปลงรายการที่จดทะเบียนไว้ตาม (1) ต้องจดทะเบียนภายใน 30 วัน
    นับแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลง
  3. เลิกประกอบกิจการ ต้องจดทะเบียนภายใน 30 วันนับแต่วันที่เลิกประกอบกิจการ
  4. ใบทะเบียนพาณิชย์สูญหายต้องยื่นขอใบแทนภายใน 30 วันนับแต่วันสูญหาย
หน้าที่ของผู้ประกอบกิจการ
  1. ต้องขอจดทะเบียนต่อนายทะเบียนภายในกำหนดเวลาที่กล่าวไว้ในข้อ 7 ตามแต่กรณี
  2. ต้องแสดงใบทะเบียนพาณิชย์หรือใบแทนใบทะเบียนพาณิชย์ไว้ ณ สำนักงานในที่
    เปิดเผยและเห็นได้ง่าย
  3. ต้องจัดให้มีป้ายชื่อที่ใช้ในการประกอบกิจการไว้หน้าสำนักงานแห่งใหญ่และสำนักงาน
    สาขา โดยเปิดเผยภายในเวลา 30 วันนับแต่วันที่จดทะเบียนพาณิชย์ ป้ายชื่อให้เขียนเป็นอักษรไทย อ่านง่ายและชัดเจน จะมีอักษรต่างประเทศในป้ายชื่อด้วยก็ได้ และจะต้องตรงกับชื่อที่จดทะเบียนไว้ หากเป็นสำนักงานสาขาจะต้องมีคำว่า "สาขา" ไว้ด้วย
  4. ต้องไปให้เข้อเท็จจริงเกี่ยวกับรายการจดทะเบียนตามคำสั่งของนายทะเบียน
  5. ต้องอำนวยความสะดวกแก่นายทะเบียนและพนักงานเจ้าหน้าที่ ซึ่งเข้าทำการ
    ตรวจสอบในสำนักงานของผู้ประกอบกิจการ
บทกำหนดโทษ
  1. ประกอบกิจการโดยไม่จดทะเบียน แสดงรายการเท็จ ไม่ยอมให้ถ้อยคำ ไม่ยอมให้พนักงาน
    เจ้า หน้าที่เข้าไปตรวจสอบในสำนักงาน มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท กรณีไม่จดทะเบียนอันเป็นความผิดต่อเนื่อง ปรับอีกวันละไม่เกิน 100 บาท จนกว่าจะได้ปฏิบัติให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติ
  2. ถ้าใบทะเบียนพาณิชย์สูญหายไม่ยื่นคำร้องขอรับใบแทน หรือไม่แสดงใบทะเบียนพาณิชย์ไว้
    ที่ สำนักงานที่เห็นได้ง่าย ไม่จัดทำป้ายชื่อ มีความผิด ปรับไม่เกิน 200 บาท และถ้าเป็นความผิดต่อเนื่อง ปรับอีกวันละไม่เกิน 20 บาท จนกว่าจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง
  3. ผู้ประกอบกิจการซึ่งกระทำการฉ้อโกงประชาชน ปนสินค้าโดยเจตนาทุจริต ปลอมสินค้า
    หรือ กระทำการทุจริตอื่นใดอย่างร้ายแรงในการประกอบกิจการ จะถูกถอนใบทะเบียนพาณิชย์ เมื่อถูกสั่งถอนใบทะเบียนพาณิชย์แล้วจะประกอบกิจการต่อไปไม่ได้ เว้นแต่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์จะสั่งให้รับจดทะเบียนพาณิชย์ใหม่
  4. ผู้ประกอบกิจการที่ถูกสั่งถอนใบทะเบียนพาณิชย์แล้ว ยังฝ่าฝืนประกอบกิจการต่อไป
    มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือจำคุกไม่เกินหนึ่งปีหรือทั้งจำทั้งปรับ

แหล่งที่มา :  http://www.tapakom.com/registration-step.html

ไม่มีความคิดเห็น:

Disqus Shortname

Comments system