วันอาทิตย์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2557

จดทะเบียนแบบไหนดี



     เมื่อจะเริ่มต้นประกอบกิจการ   จะจดทะเบียนแบบไหนดี
     
1. บุคคลธรรมดา
            หรืออีกนัยหนึ่ง คือ “ธุรกิจเจ้าของคนเดียว” ลักษณะของกิจการประเภทนี้คือ การตัดสินใจต่าง ๆ เป็นสิทธิของผู้เป็นเจ้าของเพียงคนเดียว การตัดสินใจต่าง ๆ อยู่ในลักษณะ คิดคนเดียว ทำคนเดียว  ซึ่งผลดีคือตัดสินใจง่ายและรวดเร็ว   แต่ผลจากการคิดคนเดียว ไม่ว่าจะเป็นผลดี…ได้ กำไร หรือเป็นผลเสีย….ขาดทุน ก็รับผลคนเดียวเต็ม ๆ  ซึ่งลักษณะธุรกิจประเภทนี้จะดีมากถ้าเจ้าของไม่มีปัญหาเรื่องเงินทุนหมุน เวียน เพราะธุรกิจประเภทนี้ไม่สามารถระดมทุนจากใครได้
ลักษณะการเสียภาษี เป็นไปตาม “อัตราก้าวหน้า”   ซึ่งหมายถึง  ถ้ารายได้มากก็จะเสียภาษีมาก โดยอัตราภาษี สูงสุด ถึง 37% ของกำไรหลังหักค่าใช้จ่าย   นั่นคือ ค่าใช้จ่ายจะถูกกำหนดไว้ เป็น 2 ลักษณะ  คือ อัตราเหมา ( กำหนดเป็นเปอร์เซ็นต์ตายตัวตามประเภทของธุรกิจ)    และค่าใช้จ่ายตามจริง   (ต้องอ้างอิงเอกสารค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่สรรพากรยอมรับได้   หลังจากนั้นจึงนำมาหักค่าลดหย่อนส่วนตัว จึงจะเป็นฐานภาษีสำหรับคำนวณภาษีที่ต้องชำระ 
           
2.นิติบุคคล
           
               เป็นรูปแบบธุรกิจที่บุคคล 2 คนขึ้นไป ตกลงทำกิจการร่วมกัน โดยมีวัตถุประสงค์จะแบ่งเป็นผลกำไร ตามอัตราส่วนที่แต่ละคนได้ลงทุน ซึ่งแบ่งได้ เป็น 2 ประเภท คือ
1.      หุ้างหุ้นส่วนสามัญ
      - ลักษณะธุรกิจประเภทนี้ ไม่จำเป็นต้องเป็นนิติบุคคล 
      - ผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนต้องรับผิดชอบในหนี้สินไม่จำกัดจำนวน
      - ถ้าไม่จดทะเบียนจะมีสถานะเป็นคณะบุคคล
                 - ถ้าจดทะเบียน มีสถานะเป็นนิติบุคคล เรียกว่า “ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล"
                
                การจัดทำบัญชีและเสียภาษี การเสียภาษีเงินได้ของคณะบุคคลจะเสียภาษีเงินได้เหมือนกับบุคคลธรรมดาที่แยกออกจากตัวบุคคล ถือเป็นบุคคลอีกคนหนึ่งตามมาตรา 56 วรรค (2) ของประมวลรัษฏากร นอกจากนี้เงินส่วนแบ่งกำไรจากห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ด้วย

           2 . ห้างหุ้นส่วนจำกัด
                 - ต้องจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล 
                 - ความรับผิดชอบของผู้เป็นหุ้นส่วนแบ่งเป็น 2 ประเภทคือ
                 - ผู้เป็นหุ้นส่วนรับผิดชอบในหนี้สินจำกัด ไม่เกินเงินที่ได้ลงทุนไป ซึ่งหุ้นส่วน ประเภทนี้จะไม่มีสิทธิในการตัดสินใจในกิจการ
- ผู้เป็นหุ้นส่วนรับผิดชอบในหนี้สิน “ไม่ จำกัดจำนวน” ในที่นี้คือ “หุ้นส่วนผู้จัดการ” ซึ่งหุ้นส่วนประเภทนี้จะมีหน้าที่รับผิดชอบ และมีสิทธิเต็มที่ในการตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ ของกิจการ
    
                การจัดทำบัญชีและเสียภาษี มีหน้าที่ต้องจัดทำบัญชี เหมือนกรณีตั้งบริษัท และเสียภาษีตามอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล
           3 . บริษัทจำกัด
                 มีลักษณะจำเพาะดังนี้คือ
                 -   แบ่งเงินลงทุนเป็นหุ้นมีมูลค่าหุ้นละ เท่า ๆ กัน
                 -   มีผู้เริ่มก่อการจัดตั้งบริษัท ไม่น้อยกว่า 3 คน
                 -   ผู้ถือหุ้นรับผิดชอบไม่เกินจำนวนค่าหุ้นที่ยังชำระไม่ครบถ้วน
                 -   มีสภาพเป็นนิติบุคคล
                 -   สามารถระดมทุนได้มากและง่าย
                 -       ลักษณะการตัดสินใจในการบริหารงานเป็นในรูปของคณะกรรมการบริษัท จึงทำให้ได้รับความน่าเชื่อถือมากกว่าแบบบุคคลธรรมดา
                  
                 การจัดทำบัญชีและเสียภาษี   มีหน้าที่ต้องจัดทำบัญชี และเสียภาษีตามอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล
รายละเอียด
เจ้าของคนเดียว
ห้างหุ้นส่วน
บริษัทจำกัด
1. เงินลงทุน
มีเงินทุนจำกัด
ระดมทุนได้มากขึ้น
ระดมทุนได้ง่ายและมาก
2. การบริหารงาน
มีอำนาจตัดสินใจคนเดียว
ต้องปรึกษากับหุ้นส่วน
บริหารโดยคณะกรรมการบริษัท
3. ความรับผิดในหนี้สิน
เต็มจำนวน
- เต็มจำนวน(กรณีไม่จำกัดความรับผิดชอบ)
- จำกัด ไม่เกินมูลค่าหุ้น (กรณีจำกัดความรับผิดชอบ)
จำกัดเฉพาะมูลค่าหุ้นที่ยังชำระไม่ครบ
4. ผลกำไรขาดทุน
รับเพียงคนเดียว
เฉลี่ยให้ผู้เป็นหุ้นส่วน
จ่ายเป็นเงินปันผลตามจำนวนหุ้นที่ถือ
5. ภาษีเงินได้
ตามอัตราก้าวหน้า สูงถึง 37%
ตามอัตราก้าวหน้า สูงถึง 37%   แต่ถ้าจดเป็นนิติฯ จะเสีย 15%-30% กรณีขาดทุนไม่ต้องเสียภาษี
อัตราร้อยละ 30 ของกำไรสุทธิ (SME เสียภาษีตามอัตราก้าวหน้า 15%-30%) ในกรณีขาดทุนไม่ต้องเสียภาษี
6. ความน่าเชื่อถือ
ต่ำ
ปานกลาง
สูง

วันอาทิตย์ที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2557

เมื่อเจอหมายเรียก ไม่ส่งงบการเงินควรทำอย่างไร (ภาค1)



มีลูกค้าหลายราย  โทรเข้ามาสอบถามเกี่ยวกับ  หมายเรียก  จากสำนักงานตำรวจแห่งชาติที่มิได้นำส่งงบการเงิน  ซึ่งตามกฎหมายบังคับให้มีการยื่นงบการเงินประจำปี  สำหรับผู้ประกอบธุรกิจที่มิได้นำส่งงบการเงินประจำปีก็อาจเป็นเหตุให้ได้รับหมายเรียกจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ

ปัจจุบันทางกรมพัฒนาธุรกิจการค้า  จะลิสรายชื่อบริษัท หรือห้างหุ้นส่วน นิติบุคคล  ที่มิได้นำส่งงบการเงินประจำปี  ส่งให้ทาง สำนักงานตำรวจแห่งชาติดำเนินการออกหมายเรียกให้เราไปจ่ายค่าปรับ  สูงสุดถึง 50,000 บาทเลยหล่ะค่ะ

สำหรับในปีนี้ท่านใดที่ยื่นงบการเงินไม่ทันแล้ว  หรือโดนหมายเรียก  สามารถโทรมาปรึกษาเราได้ค่ะ(ไม่มีค่าใช้จ่าย  ยินดีให้คำแนะนำฟรีค่ะ)

โดนหมายเรียก หรือมิได้ยื่นงบการเงิน  เราจะทำอย่างไรดี  คำถามยอดฮิตเลยค่ะ

อันดับแรกที่ควรทำคือ  เมื่อถูกหมายเรียก  ควรติดต่อหาผู้จัดทำบัญชี  ให้โดยเร็ว  แล้วรีบดำเนินการจัดทำงบการเงินให้เป็นปัจจุบัน  โดยปกติอายุความ  จะ  1  ปีทั้งในส่วนของ  กรมพัฒ  และ สรรพากร  (ค่าปรับในส่วนนี้เป็นค่าปรับยื่นงบการเงินล่าช้าค่ะ  เช่น  โดยปกติ  งบการเงินปี 2555  จะต้องยื่นภายใน 31/5/56  แต่เรามิได้ยื่นใช่ไหมค่ะ  อายุความ  นับไปอีก 1 ปี ค่ะ  หลังจาก 31/5/57  คือวันที่  1/6/57  เป็นต้นไป  สามารถยื่นงบการเงินปี 55 โดยไม่เสียค่าปรับ (ยื่นงบการเงินล่าช้าค่ะ)  แต่งบการเงินปี 56  เราก็ต้องยื่นนะคะ  สำหรับท่านใดที่ยื่นงบการเงิน ปี 2556 ไม่ทันแล้ว  ภายใน 31/5/57 ที่สิ้นสุดระยะเวลาการยื่น  ภายในสองเดือนนับแต่สิ้นสุดระยะเวลาการยื่น  แค่ปรับกรมพัฒน์ ยื่นงบการเงินล่าช้าอยู่ที่ 2,000  บาทค่ะ  เกินจากนั้น  ดูตามเรต  รูปภาพที่แนบให้ดูเลยค่ะ  ข้อควรระวังนิดนึงนะคะ  ตอนนี้เลยระยะเวลาการยื่นแล้วค่ะ  สำหรับ  บจก. ที่อนุมัติงบการเงินไม่ทัน  30/4/57  จะเสียค่าปรับเพิ่มค่ะในส่วนที่อนุมัติการเงินไม่ทัน  บริษัท 6,000  บาท  กรรมการ 6,000  บาท  (สรุปต้องเสียค่าอนุมัติงบการเงินไม่ทัน  และค่ายื่นงบการเงินล่าช้า)  

หากเรายื่นแบบแสดงรายการให้เป็นปัจจุบันแล้ว  ยังไม่ได้หมายความว่าเราจะพ้นผิดในส่วน  หมายเรียกที่  ทาง  สนง ตำรวจส่งมา  แต่อายุความนี้จะหมดภายใน  5 ปี   หากเราไม่สบายใจก็ไปพบตำรวจ ทางตำรวจก็จะให้เราไปจ่ายค่าปรับกรมพัฒน์ 12000แล้วเอาใบเสร็จมาปิดเรื่อง  เพราะถ้าไม่เข้าไปพบกับทางตำรวจ  รายชื่อเราก็ยังโชว์ว่ายังไม่เคลียให้เรียบร้อยในส่วนนี้ซึ่งค่าปรับสูงสุดจะอยู่ที่ 50,000 บาท

ถ้าเราคิดว่าจะไม่ทำธุรกิจแล้วแนะนำให้ยื่นงบการเงินให้เป็นปัจจุบัน  เคลียกับทางกรมพัฒน์ ตำรวจ  สรรพากรให้เรียบร้อย  แล้วจดเลิกบริษัทไปเลยค่ะ  จะได้ไม่เสียค่าใช้จ่ายในการจัดทำบัญชี  ตลอดค่าปรับต่างๆ ที่ตามมาค่ะ


ท่านใดที่อ่านภาคแรกแล้วกำลังสงสัยว่าจะทำอย่างไรต่อไปดี  อย่าลืมติดตามอ่านภาคสองนะคะ  เพื่อเป็นแนวทางในการตัดสินใจค่ะ


หากมีข้อสงสัยเพิ่มเติม  โทรมาปรึกษาเราได้ค่ะ  ยินดีให้คำปรึกษาฟรี  ไม่มีค่าใช้จ่าย



ติดต่อคุณฝ้าย  089-6386450  ID LINE     buacc   
(เวลาทำการ จันทร์-เสาร์ 9.00 - 17.00)






เมื่อเจอหมายเรียก ไม่ส่งงบการเงินควรทำอย่างไร (ภาค1)




http://nukbunche.blogspot.com/2014/12/3.html




เมื่อเจอหมายเรียก ไม่ส่งงบการเงินควรทำอย่างไร (ภาค2)




http://nukbunche.blogspot.com/2014/12/2.html




เมื่อเจอหมายเรียก ไม่ส่งงบการเงินควรทำอย่างไร (ภาค3)




http://nukbunche.blogspot.com/2014/06/blog-post.html




Disqus Shortname

Comments system