วันอาทิตย์ที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

จดทะเบียนพาณิยช์อิเล็กทรอนิกส์

ทำไมต้องจดทะเบียนพาณิยช์อิเล็กทรอนิกส์ 


กองพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบในการส่งเสริมและสนับสนุนพาณิชย์ อิเล็กทรอนิกส์ เพื่อเพิ่มและขยายช่องทางการตลาดให้แก่ผู้ประกอบการ จากการดำเนินงานที่ผ่านมาพบว่า พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของประเทศไทยยังไม่เป็นที่แพร่หลายมากนัก สาเหตุหนึ่งเกิดจากการขาดความน่า เชื่อถือของผู้ประกอบการ ทำให้ผู้บริโภคขาดความมั่นใจ เพราะไม่สามารถรู้หรือทราบได้ว่าผู้ประกอบการเป็นใคร อยู่ที่ไหน กรณีมีปัญหาหรือข้อพิพาทต่างๆ ไม่สามารถตรวจสอบการมีตัวตนของผู้ประกอบการได้
ดังนั้น จะเห็นว่า ความเชื่อถือและเชื่อมั่นดังกล่าว ถือเป็นสิ่งสำคัญในการดำเนินธุรกิจ พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ การที่จะช่วยกระตุ้นให้พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ได้รับความแพร่หลายในประเทศไทย เกิดการทำธุรกรรมพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้น จะต้องมีการสร้างความน่าเชื่อถือให้แก่ผู้ประกอบการ ทั้งนี้ เพื่อให้ผู้บริโภคเกิดความมั่นใจในการตัดสินใจทำธุรกรรมพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ดังนั้น กรมพัฒนาธุรกิจการค้า จึงได้กำหนดให้ผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ที่มีสถานประกอบการตั้งอยู่ในประเทศไทย ต้องมาจดทะเบียนพาณิชย์ เพื่อให้ผู้บริโภคสามารถตรวจสอบการมีตัวตนของผู้ประกอบการได้ว่า ผู้ประกอบการมี ตัวตนจริงหรือไม่ เป็นใคร อยู่ที่ไหน ทำธุรกรรมอะไรบ้าง
ประโยชน์ของการจดทะเบียน
  1. สร้างความน่าเชื่อถือให้แก่ผู้ประกอบการในระดับหนึ่ง โดยกรมฯ จะจัดทำเลขทะเบียน พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (เครื่องหมาย Registered) จัดส่งให้แก่ผู้ประกอบการ (ส่งทางe-Mail ในรูปแบบ Source Code) เพื่อให้ผู้ประกอบการนำไปแสดงไว้บน Web Site หรือ Home Page เพื่อแสดงว่าได้ จดทะเบียนกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าแล้ว เมื่อผู้บริโภค (ผู้ซื้อ) เห็นเครื่องหมาย Registered แล้ว จะเกิดความมั่นใจในการทำธุรกรรมเพิ่มมากขึ้น โดยเมื่อ click ที่เลขทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ระบบจะเชื่อมโยงมายังฐานข้อมูลกรมฯ และแสดงข้อมูลทางทะเบียนของผู้ประกอบการ เพื่อให้ ประชาชนสามารถตรวจสอบสถานะและการมีตัวตนของผู้ประกอบการได้
  2. กรมฯ จะนำรายชื่อเว็บไซต์ที่ขึ้นทะเบียน มาจัดทำเป็นฐานข้อมูล แยกตามประเภทธุรกิจ ผ่านเว็บไซต์ www.dbd.go.th/edirectory นำไปเผยแพร่แก่ผู้ประกอบการและประชาชนผู้สนใจผ่านสื่อต่าง ๆ เพื่อเป็นการช่วยเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ให้แก่ผู้ประกอบการอีกทางหนึ่ง
  3. ผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ที่จดทะเบียนแล้ว สามารถยื่นขอใช้เครื่อง หมายรับรองความน่าเชื่อถือ (Trustmark) จากกรมฯ ได้ ซึ่งเครื่องหมาย Trustmark นี้จะมีความ น่าเชื่อถือสูงกว่าเครื่องหมาย Registered กล่าวคือ จะออกให้แก่เว็บไซต์ที่มีคุณสมบัติตามที่กรมฯ กำหนด เท่านั้น เพื่อเป็นการยกระดับผู้ประกอบการของไทยให้เป็นที่ยอมรับทั้งในและต่างประเทศ (www.trustmarkthai.com)
  4. การได้รับสิทธิพิเศษต่างๆ เช่น การเข้าร่วมการอบรมสัมมนา การได้รับคำแนะนำ และการได้รับข้อมูลข่าวสารด้านการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
ผู้มีหน้าที่จดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
คือ บุคคลธรรมดาและนิติบุคคลที่มีสถานประกอบการตั้งอยู่ในประเทศไทย ซึ่งประกอบพาณิชยกิจในเชิงพาณิชย์อันเป็นอาชีพปกติ ดังนี้
  1. ซื้อขายสินค้าหรือบริการ ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ได้แก่ บุคคลที่มีเว็บไซต์เพื่อทำการซื้อขายสินค้าหรือบริการ
  2. บริการอินเทอร์เน็ต (ISP : Internet Service Provider)
  3. ให้เช่าพื้นที่ของเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย (Web Hosting) เช่น www.ireadyhost.com 
  4. ริการเป็นตลาดกลางในการซื้อขายสินค้าหรือบริการ โดยวิธีการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (e-Marketplace) เช่น www.ThaiDBmarket.com
เอกสารที่ต้องใช้ประกอบการจดทะเบียน
  1. คำขอจดทะเบียนพาณิชย์ (แบบ ทพ.) และ รายละเอียดเกี่ยวกับเว็บไซต์ (เอกสารแนบ)
  2. สำเนาบัตรประจำตัว
    - กรณีบุคคลธรรมดา ได้แก่ สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
    - นิติบุคคล ได้แก่ สำเนาบัตรประจำตัวผู้จัดการของห้างหุ้นส่วน หรือของกรรมการผู้มีอำนาจของบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัด (ไม่ต้องแนบหนังสือรับรองการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล)
  3. หนังสือมอบอำนาจ (ถ้ามี)
  4. หนังสือชี้แจง (กรณียื่นล่าช้าหรือเกินกำหนด)
กำหนดเวลาการยื่นคำขอจดทะเบียน
ผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ที่ยังไม่ได้จดทะเบียนพาณิชย์ ให้ยื่นขอจดทะเบียนให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน นับแต่วันเริ่มประกอบการ
สถานที่ยื่นจดทะเบียน
  1. ผู้ประกอบการที่มีสํานักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ให้ยื่นคําขอจดทะเบียนพาณิชย็ต่อสํานักงานเขตต่าง ๆ และศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร

    รายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อได้ที่:
    สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง สำนักการคลัง โทร. 0-2224-1916, 0-2225-1945
    หรือที่ ฝ่ายปกครอง สำนักงานเขตทุกแห่ง และที่เว็บไซต์ www.bangkok.go.th/fiic
     
  2. ผู้ประกอบการที่มีสํานักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่จังหวัดอื่น นอกจากกรุงเทพมหานคร ให้ยื่นคําขอจดทะเบียนพาณิชย์ต่อองค์การบริหารส่วนจังหวัดนั้น ๆ หรือ เมืองพัทยา แล้วแต่กรณี 

ตัวอย่างเว็บไซต์ประเภทซื้อขายสินค้าหรือบริการที่ต้องจดทะเบียน
  • มีระบบการสั่งซื้อ เช่น ระบบกรอกฟอร์ม ระบบตะกร้า e-mail หรืออื่นๆ
  • มีระบบการชำระเงิน ออฟไลน์ หรือ ออนไลน์ เช่น การโอนเงินผ่านระบบบัญชี การชำระด้วยบัตรเครดิต หรือ e-cash , e-wallet เป็นต้น เป็นต้น
  • มีระบบสมัครสมาชิก เพื่อรับบริการข้อมูลหรืออื่น ๆ โดยมีการคิดค่าใช้จ่าย (ถือเป็นการขายบริการ) เช่น บริการข่าวสาร/บทความ/หนังสือ การรับสมัครงานผ่านทางอินเทอร์เน็ต เป็นต้น
  • มีวัตถุที่ประสงค์หลักในการรับจ้างโฆษณาสินค้าหรือบริการของผู้อื่น และมีรายได้จากการโฆษณานั้น
  • รับจ้างออกแบบเว็บไซต์ หรือเพียงโฆษณาว่าเป็นผู้รับจ้างออกแบบเว็บไซต์ เพราะถือว่าการออกแบบเว็บไซต์นั้นมีช่องทางการค้าปกติบนอินเทอร์เน็ต
  • เว็บไซต์ให้บริการเกมส์ออนไลน์ที่คิดค่าบริการจากผู้เล่น (เจ้าของเว็บไซต์ต้องจดทะเบียน)
  • เว็บไซต์ที่มีการส่งมอบสินค้าหรือบริการผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เช่น การ Download โปรแกรม เกมส์ Ringtone Screensaver SMS เป็นต้น
ตัวอย่างเว็บไซต์ประเภทซื้อขายสินค้าหรือบริการที่ไม่ต้องจดทะเบียน

  • มีเฉพาะหน้าร้านโชว์สินค้าของตนเอง แต่ทำการค้าในช่องทางปกติ (ไม่ใช่อินเทอร์เน็ต) แม้จะมีข้อความแจ้งว่าให้ติดต่อได้ เช่น สนใจโทร.ติดต่อหรือ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่….
  • การโฆษณาสินค้าของตนเอง โดยลักษณะของการโฆษณานั้นไม่ใช่วัตถุที่ประสงค์หลักของกิจการและไม่ใช่ช่องทางค้าปกติ แม้จะมี banner ของผู้อื่นมาติดและมีรายได้จาก banner ก็ตาม
  • การประชาสัมพันธ์หรือเผยแพร่ข้อมูลแก่สมาชิกหรือบุคคลทั่วไป โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายหรือบริการ เช่น เพื่อการสอน ประกาศรับสมัครงาน
  • การประชาสัมพันธ์ข้อมูลเกี่ยวกับบริษัท หรือสินค้า
  • เว็บไซต์ส่วนตัว (ส่วนบุคคล) ที่สร้างขึ้นเพื่อเผยแพร่ข้อมูลส่วนตัว การงาน การศึกษา หรือความสนใจส่วนตัว
  • เว็บไซต์ที่เป็นสื่อกลางด้านข้อมูล โดยมีจุดประสงค์ในการแลกเปลี่ยนข้อมูล โดยไม่มีการเสียค่าสมาชิกหรือ ค่าใช้จ่ายใดๆ
  • ร้านอินเทอร์เน็ตที่ให้บริการในการเล่น net ที่เจ้าของร้านได้รายได้จากค่าชั่วโมงการเล่นอินเทอร์เน็ต (อินเทอร์เน็ตคาเฟ่) และ เกมส์คอมพิวเตอร์ ประเภทนี้ เจ้าของร้านอินเทอร์เน็ตฯ
  • ไม่ต้องจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ แต่ให้จดทะเบียนพาณิชย์ ปกติ (ถือเป็นพาณิชยกิจธรรมดา ในช่องทางปกติ ไม่ใช่ e-Commerce )

ไม่มีความคิดเห็น:

Disqus Shortname

Comments system