วันพุธที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

ค่าปรับยื่น ภงด51 ล่าช้า

ข้อควรระวังสำหรับการยื่นแบบ ภ.ง.ด. 51

การยื่นแบบ ภ.ง.ด. 51 เป็นการยื่นแบบแสดงรายการภาษีครึ่งปี ซึ่งเป็นการนำส่งภาษีไว้ล่วงหน้า โดยความผิดที่อาจจะเกิดขึ้นได้สำหรับกรณีนี้นั้น มีอยู่ 2 กรณี คือ การยื่นแบบแสดงรายการล่าช้า และ การประมาณการกำไรสุทธิขาดไปเกินร้อยละ 25
1. การยื่นแบบล่าช้า กรณีที่ไม่ได้ยื่นแบบแสดงรายการตามกำหนดเวลา บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลต้องระวางโทษปรับอาญาตามมาตรา 35 แห่งประมวลรัษฎากร ดังนี้.
1. กรณียื่นแบบแสดงรายการ ภายใน 7 วันนับตั้งแต่วันพ้นกำหนดยื่นรายการ ต้องระวางโทษปรับ 1,000 บาท
2. กรณียื่นแบบแสดงรายการหลังจาก 7 วันนับตั้งแต่วันพ้นกำหนดเวลายื่นรายการต้องระวางโทษปรับ 2,000 บาท
ถ้าหากมีเงินภาษีต้องชำระ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลยังต้องรับผิดชอบเสียเงินเพิ่มตามมาตรา 67 ตรีแห่งประมวลรัษฎากรในอัตราร้อยละ 1.5 ต่อเดือน
2. การประมาณการกำไรสุทธิสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีขาดไปเกินร้อยละ 25
มาตรา 67 ตรีแห่งประมวลรัษฏากรกำหนดไว้ว่า หากกิจการประมาณการกำไรสุทธิขาดไปเกินร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิ โดยไม่มีเหตุอันสมควร มีผลทำให้ต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 20 ของจำนวนเงินภาษีที่ต้องชำระ
ตัวอย่างเช่น บริษัทได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคล (ภ.ง.ด.51) โดยประมาณการกำไรสุทธิทั้งปีไว้จำนวน 6,000,000 บาท แต่ปรากฏว่าเมื่อสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี บริษัทมีกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้จำนวน 10,000,000 บาท จากกรณีดังกล่าวบริษัทแสดงประมาณการกำไรสุทธิทั้งปีตามแบบ ภ.ง.ด. 50 ต่ำกว่ากำไรสุทธิจริงที่ได้ยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 เมื่อสิ้นรอบระยะเวลาบัญชีไปจำนวน 4,000,000 บาท หรือคิดเป็นร้อยละ 40 ซึ่งถือว่าบริษัทฯได้ประมาณการขาดไปเกินกว่าร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิตามแบบ ภ.ง.ด.50
อย่างไรก็ตามประมวลรัษฏากรมีบทอนุโลมเพื่อลดหย่อนกรณีประมาณการกำไรขาดเกินไว้ นั่นคือ คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป. 50/2537 ได้ระบุไว้ว่า ถ้าหากกิจการสามารถเลือกที่จะประมาณการกำไรสุทธิและยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีครึ่งปีไว้ “ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง” ของภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ได้ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในรอบระยะเวลาบัญชีที่แล้ว กรณีดังกล่าวจะถือว่าเป็นกรณีที่มีเหตุอันสมควร และถ้าหากกิจการทำได้เพียงเท่านี้ก็ไม่มีปัญหาที่ต้องโดนเบี้ยปรับเงินเพิ่มและยื่นคำร้องขอพิจารณาลดเบี้ยปรับและเงินเพิ่มย้อนหลังอีกต่อไป
ตัวอย่างเช่น บริษัทแห่งหนึ่งได้ยื่นภาษีเงินได้สำหรับรอบบัญชีปี 2556 ไว้จำนวน 5,000,000 บาท ดังนั้นในปี 2557 บริษัทฯ ดังกล่าวต้องยื่นชำระภาษีครึ่งปีของไว้ไม่ต่ำกว่า 2,500,000 บาท ถึงแม้ว่าจะประมาณการกำไรสุทธิขาดเกินไปกว่าร้อยละ 25 ก็ถือว่าเป็นเหตุอันสมควร เพราะเสียภาษีไว้ไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของ 5,000,000 บาท

การคำนวณ “เงินเพิ่ม” เมื่อประมาณการกำไรสุทธิขาดเกินไปกว่าร้อยละ 25

ตัวอย่างเช่น บริษัท SMEs มีทุนที่ชำระแล้วในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีไม่เกิน 5 ล้านบาท และมีรายได้จากการขายสินค้าจำนวน 25 ล้านบาท มีกึ่งหนึ่งของประมาณการกำไรสุทธิที่ต้องเสียภาษีคือ 2,500,000 บาท (จากประมาณการกำไรสุทธิทั้งปี 5,000,000 บาท) ดังนั้นภาษีที่คำนวณได้และต้องยื่นแบบแสดงรายการก็คือก็คือ 405,000 บาทเนื่องจากกิจการดังกล่าวได้รับยกเว้นกำไรสุทธิ 300,000 บาทแรกตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นรัษฎากรฉบับที่ 564
เมื่อถึงวันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี ปรากฎว่าบริษัทฯมีกำไรสุทธิที่เกิดขึ้นจริงจำนวน 10,000,000 บาท นั่นหมายความว่า บริษัทฯได้ประมาณการขาดเกินไปถึงร้อยละ 50 ซึ่งมากกว่าร้อยละ 25 ดังนั้นวิธีการคำนวณเงินเพิ่มจะเป็นดังนี้
1. กำไรสุทธิตาม ภ.ง.ด.50 = 10,000,000 บาททำให้บริษัทฯมีกึ่งหนึ่งของกำไรสุทธิ = 5,000,000 บาท
2. คำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลตามอัตราที่กฎหมายกำหนด รวมภาษีที่คำนวณได้ 905,000.00
3. ดังนั้นภาษีที่ยื่นขาดไปจำนวน (905,000 – 405,000) = 500,000 บาท มีผลให้บริษัทต้องเสียเงินเพิ่ม 20 % ของภาษีที่ชำระขาดไป (500,000 x 20%) คือ = 100,000 บาท

1 ความคิดเห็น:

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

Online Casino in Maharashtra | kadangpintar
Explore online casino games in Maharashtra from India - 메리트 카지노 쿠폰 Read here reviews, play free, or 온카지노 get instant casino 바카라사이트 bonuses for your entertainment.

Disqus Shortname

Comments system