ข้อแตกต่างระหว่าข้อแตกต่างระหว่าง บัญชีการเงิน และ บัญชีภาษีอากร
ในการจัดทำบัญชีของธุรกิจนอกจากจะต้องมีความรู้ด้านบัญชีไม่ว่าจะเป็นหลักการบัญชีทั่วไป
มาตรฐานการบัญชีแล้ว
นักบัญชีและผู้บริหารกิจการจะต้องมีความรู้ด้านภาษีอากรอีกด้วย
ดังนั้นการจัดทำงานเกี่ยวกับบัญชีจะต้องมีแนวทาง
ที่จะกำหนดในการจัดทำเพราะต้องคำนึงถึงทั้งหลักการบัญชีและกฎหมายภาษีอากร
ซึ่งมีอยู่บ่อยครั้งมักจะพบว่า บัญชีที่
ได้จัดทำนั้นไม่ตอบสนองกับหลักเกณฑ์ทางกฎหมายภาษีอากร
มีข้อขัดแย้งกับที่นักบัญชีจะต้องเข้าไปแก้ไขปรับปรุงให้เป็น
ที่ยอมรับและถูกต้องทั้งด้านการบัญชีและกฎหมายภาษีอากร จะเห็นได้ว่าหากนักบัญชีได้มีการจัดทำบัญชีตั้งแต่สมุดรายวันขั้นต้น
สมุดขั้นปลาย งบทดลอง งบการเงิน นักบัญชีจะยึดหลักการบัญชีและมาตรฐานการบัญชี
อีกนัยหนึ่งก็คือยึดหลักของบัญชีการเงิน (Financial Accounting) นักบัญชีจะต้องนำข้อมูลทางบัญชีการเงินมาปรับปรุงให้สอดคล้องกับกฎหมายภาษีอากรซึ่งก็คือการบัญชีภาษีอากร
(Tax Accounting) ข้อแตกต่างระหว่างบัญชีการเงินกับบัญชีภาษีอากรจึงสรุปได้ดังต่อไปนี้
บัญชีการเงิน (Financial Accounting)
เป็นการจัดทำบัญชีเพื่อบันทึกรายการค้าที่เกิดขึ้นในแต่ละงวดบัญชี
ตลอดจนการแสดงฐานะการเงินของกิจการในการจัดทำงบการเงิน
แสดงการเปลี่ยนแปลงฐานะการเงิน และผลการดำเนินงานของกิจการเพื่อรายงานต่อผู้บริหาร
ผู้ถือหุ้น บุคคลภายนอก และส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นงบกำไรขาดทุน
งบต้นทุนผลิต งบดุล งบกระแสเงินสด งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้น
งบประกอบอื่นและหมายเหตุประกอบงบการเงินของกิจการ
และรายละเอียดประกอบการจัดทำรายงานทางการเงินที่เกี่ยวข้อง
บัญชีภาษีอากร (Tax Accounting)
เป็นการนำหลักเกณฑ์ทางบัญชี
มาตรฐานการบัญชี มาปรับให้เข้ากับประมวลรัษฎากรและกฎหมายภาษีอากรต่างๆ
ให้สอดคล้องกันเพื่อให้ถูกต้องตามหลักการบัญชีและกฎหมายภาษีอากรไม่ว่าจะเป็นเรื่องการคำนวณกำไรขาดทุนสุทธิ
เงื่อนไขการรับรู้รายได้และรายจ่ายของกิจการ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีหัก ณ ที่จ่าย หรืออากรแสตมป์
สืบเนื่องมาจากหลักการบัญชี หลายประการที่ขัดแย้งไม่เป็นไปตามกฎหมายภาษีอากรนั่นเอง
มักจะพบเห็นกันเมื่อมีการจัดทำบัญชีของธุรกิจในแต่ละรายการค้าแต่ละงวดบัญชีมักจะปรากฏอยู่เสมอว่า
หลักในการจัดทำบัญชีไม่เป็นไปตามกฎหมายภาษีอากร
ซึ่งผู้จัดทำบัญชีจะต้องมีการปรับปรุงแก้ไขรายการค้าที่เกิดขึ้นให้เป็นไปตามเงื่อนไขทางภาษีอากรที่ได้กำหนดเอาไว้
นักบัญชีส่วนใหญ่มีความรู้ความเข้าใจในการจัดทำบัญชีการเงิน
แต่ขาดความเข้าใจในตัวบทกฎหมายภาษีอากรโดยเฉพาะการนำกฎหมายภาษีอากรมาประยุกต์ใช้ให้เข้ากันกับหลักการบัญชี
โดยมากแล้วนักบัญชีมักจะทราบแต่พื้นฐานเบื้องต้นในการคำนวณหรือชำระภาษีอากร เช่น
อัตราร้อยละของภาษีที่ต้องชำระ ต้องหักและนำส่งเท่านั้น
สรุปวัตถุประสงค์ของข้อแตกต่างระหว่างบัญชีการเงินและบัญชีภาษีอากรได้ดังนี้
บัญชีการเงิน
1.
ช่วยในด้านการควบคุมรายรับ ? รายจ่ายสินทรัพย์ - หนี้สินและส่วนของเจ้าของ
2.
ช่วยในการบริหารงานของกิจการ
3.
ช่วยในการตัดสินใจในการดำเนินงานขยาย ? เลิกกิจการ ฯลฯ
4.
เพื่อประโยชน์แก่บุคคลภายนอกโดยเฉพาะผู้ถือหุ้นที่ต้องการข้อมูลไปใช้ในการตัดสินใจ
5.
หลักฐานพิสูจน์ความถูกต้องในการจัดทำบัญชี
การรวบรวมข้อมูลทางบัญชีการเงิน
บัญชีภาษีอากร
1.
ปรับหลักการบัญชีให้เข้ากับกฎหมายภาษีอากร
2.
หาข้อยุติทางบัญชีและภาษีอากรให้สอดคล้องกัน
3.
ปรับปรุงการบันทึกบัญชีให้เหมาะสมถูกต้องตามกฎหมายภาษีอากร
4.
จัดทำบัญชีที่กฎหมายภาษีอากรกำหนดให้ทำ เช่น
บัญชีพิเศษแสดงการหักภาษี ณ ที่จ่าย และการนำส่งภาษีรายงานภาษีมูลค่าเพิ่ม
5.
ปรับปรุงรายรับทางบัญชีให้ตรงกับภาษีอากร
ที่มา : www.cpaccount.net
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น