วันจันทร์ที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2557

เมื่อเจอหมายเรียกไม่ส่งงบการเงินควรทำอย่างไร (ภาค2)

บางท่านที่ได้อ่านภาคแรกไปแล้ว  ลองดูภาคสองเพิ่มเติมนะคะ  เพื่อเป็นแนวทางในการตัดสินใจว่าจะทำอย่างไรต่อไปดี

ลูกค้าหลายรายโทรมาปรึกษาเรา  แล้วอย่างนี้เราควรจะเข้าไปพบตำรวจดีไหมนะ  แล้วถ้าไม่ไปหล่ะ  ไม่อยากเสียค่าปรับเลย 

ธุรกิจก็ไม่ได้ดำเนินการแต่อย่างใดแค่เปิดบริษัทไว้เฉยๆ

เรามาดูข้อดีและข้อเสียกันค่ะ  ก่อนตัดสินใจค่ะ

ข้อดี

1  ประหยัดค่าใช้จ่ายในการจัดทำงบการเงินค่ะ  เพราะการปิดงบนั้น  ต้องปิดบัญชีตั้งแต่เริ่มกิจการค่ะ  สมมติว่าไม่ได้ส่งงบการเงินมาเป็นเวลาหลายปี  

ค่าใช้จ่ายในการปิดงบนะคะ  ตามราคาตลาดงบเปล่า  ไม่มีรายการค้า  จะอยู่ที่  8000  -  12,000  ต่อปี  ซึ่งเมื่อนับจำนวนปีที่คุณไม่ได้ส่งงบการเงินแล้ว  

ก็มากโขอยู่ค่ะ  เช่นเริ่มเปิดกิจการตั้งแต่ปี  2555  ปัจจุบัน คือ 2557  ผ่านมาแล้ว  3 ปี  คูณเอาง่าย ๆ 3*8,000  รวม  24,000  ทั้งนี้ยังไม่รวมค่าปรับต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น 

ข้อเสีย

1  เมื่อคุณโดนหมายเรียกแล้วไม่เข้าไปพบตำรวจ  เสี่ยงมากเลยนะคะ  เพราะว่าหากเรามีคดีความ  หรือบังเอิญ  ซวย   ต้องขึ้นโรงพัก  ขึ้นศาลชื่อของคุณมันอยู่

ในระบบของทางตำรวจ  นั่นไง  คนนี้โดนหมายแล้วไม่เข้าไปพบ  เกิดตรวจสอบเช็กประวัติเรา  มันออนไลน์นะคะ  แล้วจะทำอย่างไรดี  เลือกเอาค่ะ  ตอนหมาย

มาเข้าไปเจรจา  ทางพี่ตำรวจเค้าก็จะให้เราไปจ่ายค่าปรับกรมพัฒน์ 12000 แล้วเอาใบเสร็จมาปิดเรื่องค่ะ  ครั้งแรกออกหมายเรียก  ครั้งสองออกหมายจับ  

ครั้งสามออกหมายศาล  กรณีที่โดนหมายเรียกครั้งแรก  ซึ่งถ้าไม่จ่ายเครียให้เรียบร้อย  ค่าปรับในชั้นศาลสูงสุดที่ 50,000 สารภาพผิดแล้วจ่ายค่าปรับเป็นอันจบเรื่อง


2  สำหรับบางคนที่ทำงาน  หรือจะเข้าไปทำงาน  องค์กรใหญ่ๆ ราชการ  รัฐวิสาหกิจ  บริษัทข้ามชาติ   ดูด้วยนะคะ  บางที่เช็คประวัติเรา  ว่ามีคดีอะไรติดตัวหรือไม่  ซึ่งปัจจุบัน  บริษัท ใหญ่ ๆ เค้าเช็ค  ก่อนรับคนเข้าทำงานค่ะ  อาจทำให้คุณไม่ได้งานในที่ใฝ่ฝันค่ะ  ถ้าถามว่า  แล้วอย่างนี้ใครโดนบ้าง  บอกเลยค่ะไม่รอด  กรรมการทุกคน  ฝ้ายแนะนำให้ปรึกษากันนะคะ  ว่าจะแจ้งเลิกกิจการดีไหม  เพราะตอนจดกิจการเราก็แจ้งทางกรมพัฒน์  ตอนเลิกก็ต้องแจ้งเช่นกันค่ะ


3  เรื่องมิจฉาชีพ  เคยดูข่าวไหมคะว่า  มีคนแอบอ้างชื่อบริษัท  ไปกระทำให้บุคคลภายนอกเสียหาก  แด่วนี้มิจฉาชีพเยอะมาก  มีเทคนิคกระทำความผิดหลากหลายวิธี  สื่ออิเล็กทรอนิกส์  เข้าถึงได้ง่าย  เค้ามีวิธีเช็ครายละเอียดข้อมูลได้อยู่แล้วค่ะ  ถ้าให้คิดร้ายๆ นะคะ  เอาชื่อบริษัทเราไปหลอกชาวบ้าน  แล้วยังไง
กรรมการไม่มีใครรู้เรื่องซักคน  วันนึง  เกิดฟ้องร้องบริษัท  แน่ะ  ไม่รู้อิโหน่อิเหน่เลย   จู่ๆก็โดนฟ้องร้อง  ทำยังไงหล่ะทีนี้เรื่องใหญ่ขึ้นศาล  ติดต่อทนายความค่ะ  ขึ้นโรงขึ้นศาลต่อสู้คดีกันต่อไป  ว่าเราไม่ใช่ผู้กระทำความผิดนะ


4  นอกจากค่าปรับกรมพัฒน์แล้ว  ก็ยังมีค่าปรับ สรรพากรค่ะ  ซึ่งสรรพากรมีอำนาจในการประเมินภาษีเราค่ะ  ตรวจบริษัทเราย้อนหลังได้ถึง  5  ปี  ลูกค้าบางราย  มีรายได้แต่ไม่ยอมนำส่งงบการเงิน  วันดีคืนดี  โดนสรรพากรสุ่มตรวจไปแจ๊คพอตแตกเลยค่ะ  โดนประเมินภาษีเป็นล้านก็มีค่ะ  (ขึ้นอยู่กับขนาด  และรายได้ของธุรกิจ)


อย่าลืมติดตามอ่านเมื่อเจอหมายเรียกไม่ส่งงบการเงินควรทำอย่างไร (ภาค3) ภาคนี้สำหรับคนตัดสินใจที่จะเครียปัญหาต่าง ๆ ให้เรียบร้อยแล้วตั้งใจจะทำทุกอย่างให้เรียบร้อย  เราจะมาแจงรายละเอียดให้ฟังกันค่ะ  ว่าค่าใช้จ่าย  มีอะไรบ้าง

เห็นไหมคะว่าการเปิดบริษัท  ทิ้งไว้  แล้วไม่นำส่งงบการเงิน  อาจทำให้คุณมีปัญหาหลายๆ อย่างตามมา  ไม่ใช่เรื่องเล่น ๆ เลยค่ะ  ถ้ากำลังเจอปัญหาแบบนี้อยู่

โทรหาเราได้ค่ะ  ยินดีที่ได้ช่วยเหลือ  ให้คำแนะนำทุกท่านฟรีค่ะ


ติดต่อคุณฝ้าย  089-6386450  ID LINE     buacc      
(เวลาทำการ จันทร์-เสาร์ 9.00 - 17.00)




สำหรับผู้ที่อ่านไม่ครบทุกภาค  สามารถ เข้าไปอ่านได้ตามลิ้งค์ด้านล่างค่ะ



เมื่อเจอหมายเรียก ไม่ส่งงบการเงินควรทำอย่างไร (ภาค1)


http://nukbunche.blogspot.com/2014/12/3.html


เมื่อเจอหมายเรียก ไม่ส่งงบการเงินควรทำอย่างไร (ภาค2)


http://nukbunche.blogspot.com/2014/12/2.html


เมื่อเจอหมายเรียก ไม่ส่งงบการเงินควรทำอย่างไร (ภาค3)


http://nukbunche.blogspot.com/2014/06/blog-post.html


ไม่มีความคิดเห็น:

Disqus Shortname

Comments system