วันอาทิตย์ที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

การวางแผนภาษีเงินได้นิติบุคคล

การวางแผนทางภาษี สำหรับธุรกิจ SMEs (ฉบับ Do it yourself)
                                                     
                                           การวางแผนภาษีเงินได้นิติบุคคล
 จากบทความการวางแผนทางภาษี สำหรับธุรกิจ SMEs (ฉบับ Do it yourself) ตอนที่ 1 ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับภาษีธุรกิจ สรุปได้ว่า ภาษีเงินได้นิติบุคคล  เป็นภาษีทางตรง (Direct Tax) ที่ SMEs ต้องรับภาระมากที่สุด  ดังนั้น  ผู้ประกอบการ SMEs จึงควรมีการวางแผนภาษีเงินได้นิติบุคคล เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ
                    ทั้งนี้ ภาษีเงินได้นิติบุคคล เป็นภาษีที่กรมสรรพากรเป็นผู้จัดเก็บเพื่อนำส่งรายได้ให้แก่รัฐบาล โดยจัดเก็บอัตราสูงสุดไม่เกินร้อยละ 30 ของกำไรสุทธิ  ซึ่งประมวลรัษฎากรได้กำหนดสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่เกี่ยวข้องกับ SMEs ดังนี้
1.      การลดอัตรา  โดยลดอัตราภาษีนิติบุคคลสำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีทุนจดทะเบียนชำระแล้วในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี ไม่เกิน 5 ล้านบาท ดังนี้
กำไรสุทธิ
อัตราภาษีร้อยละ
1-150,000 บาท
ได้รับการยกเว้น
150,001  1,000,000 บาท
15
1,000,001 -3,000,000 บาท
25
3,000,001 บาทขึ้นไป
30

2.      การยกเว้นภาษี เช่น เงินปันผลหรือผลประโยชน์ที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลได้รับจากการถือหุ้นในบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่เป็นนิติบุคคลร่วมลงทุน
3.      การหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมในอัตราเร่ง บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
ที่ซื้อทรัพย์สินมาใช้งาน หากทรัพย์สินนั้นใช้งานเกิน 
รอบระยะเวลาบัญชี สามารถหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาในอัตราเร่งได้  เช่น
-                   โปรแกรมคอมพิวเตอร์ หักได้ ร้อยละ 40 ในวันที่ได้มา
-                   เครื่องจักรที่ใช้สำหรับ R&D หักได้ ร้อยละ 40 ในวันที่ได้มา
-                   อาคารโรงงาน หักได้ ร้อยละ 25 ในวันที่ได้มา
4.      การหักค่าใช้จ่ายแบบพิเศษ  ปกติรายจ่ายเพื่อการดำเนินธุรกิจ สามารถนำมาหักเป็นรายจ่ายได้  3  รูปแบบ คือ 1) หักรายรายจ่ายเท่าที่จ่ายไป 2) หักน้อยกว่าที่จ่ายไปหรือไม่ยอมให้หักรายจ่าย  และ 3) หักรายจ่ายได้มากกว่าที่จ่ายจริง โดยการหักรายจ่ายได้มากกว่าที่จ่ายจริง  เป็นเรื่องที่รัฐต้องการส่งเสริมหรือสนับสนุนในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง จึงกำหนดสิทธิประโยชน์ในการหักรายจ่ายที่หักได้มากกว่า 1 เท่า  เช่น 
-    รายจ่ายที่หักได้ 1.25 เท่า เช่น เครื่องจักร อุปกรณ์ หรือวัสดุประหยัดพลังงาน
-     รายจ่ายที่หักได้ 1.50เท่าเช่น สนับสนุนกีฬาตามโครงการยุทธศาสตร์ 4ปี
สร้างกีฬาชาติ
-    รายจ่ายที่หักได้ 2เท่า เช่น การวิจัยและพัฒนา การจ้างคนพิการ การฝึกอบรมลูกจ้างและฝึกเตรียมเข้าทำงานการสร้างและรักษาสนามเด็กเล่นสาธารณะ ค่าโรงแรม ห้องสัมมนาเพื่อจัดอบรมให้ลูกจ้าง  รายจ่ายร่วมออกร้าน นิทรรศการ งานแสดงสินค้าในและต่างประเทศ
                   ทั้งนี้  การให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีจะกำหนดหลักเกณฑ์ธุรกิจ SMEsลักษณะใดลักษณะหนึ่งในการให้สิทธิประโยชน์ หากธุรกิจ SMEs สอดคล้องกับหลายลักษณะ ก็จะได้รับสิทธิประโยชน์เพิ่มขึ้น
                   ในส่วนของสิทธิประโยชน์ในข้อ 3 และ 4  เป็นเงื่อนไขนำไปใช้หักลดค่าใช้จ่าย เพื่อนำไปใช้เป็นเกณฑ์การพิจารณากำไรสุทธิตามข้อ 1 ดังนั้น ผู้ประกอบการ SMEsควรวางแผนภาษีตามประเภทธุรกิจของตนเอง  เช่น  หากกิจการมีความจำเป็นต้องซื้อเครื่องจักร  ควรซื้อเครื่องจักรที่ประหยัดพลังงาน  เนื่องจากหักค่าใช้จ่ายได้ 1.25 เท่า หากเดินทางไปจัดงานแสดงสินค้าในต่างประเทศ สามารถนำมาหักค่าใช้จ่ายได้ 2 เท่า การวิจัยและพัฒนา หักค่าใช้จ่ายได้ 2 เท่า เป็นต้น
                   นอกจากนี้  คณะรัฐมนตรียังได้เห็นชอบมาตรการภาษี เพื่อการสนับสนุน ส่งเสริม หรือบรรเทาปัญหาต่าง ๆ เป็นระยะ  ผู้ประกอบการควรติดตามความเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่อง  อาทิ  
·       การให้สิทธิประโยชน์ภาษีเงินได้บริษัทนิติบุคคลในตลาดหลักทรัพย์mai โดยลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลเหลือร้อยละ 25 สำหรับกำไรสุทธิที่ไม่เกิน 50 ล้านบาท เพื่อส่งเสริมให้บริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ mai สามารถยกระดับเป็นบริษัทรายใหญ่  และจูงใจให้ SMEs จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ mai
·       การลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลเหลือร้อยละ 15 สำหรับกำไรสุทธิให้แก่ศูนย์กลางการจัดหาสินค้าเพื่อการผลิตระหว่างประเทศ  สำหรับรายได้จากการจัดซื้อและขายสินค้าให้แก่วิสาหกิจ
ในเครือที่ตั้งในต่างประเทศ โดยสินค้าดังกล่าวมิได้ถูกนำเข้ามาในประเทศไทย
 เป็นเวลา 5 รอบระยะเวลาบัญชีต่อเนื่องกัน
·       ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลให้แก่โครงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสำหรับกำไรสุทธิของโครงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในแต่ละโครงการ เฉพาะที่คำนวณจากรายได้จากการจำหน่ายคาร์บอนเครดิตไม่ว่าจะกระทำในหรือนอกประเทศไทยเป็นเวลา 3 รอบระยะเวลาบัญชี
·       มาตรการภาษีให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยต่าง ๆ เช่น อาทิ การยกเว้นภาษีเงินได้ให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล สำหรับเงินได้ที่เป็นค่าสินไหมทดแทน ที่ได้รับจากบริษัทประกอบกิจการประกันภัยเพื่อชดเชยความเสียหาย เฉพาะส่วนที่เกินมูลค่าต้นทุนของทรัพย์สินที่เหลือจากการหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคา
·       มาตรการภาษีช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการชุมนุมทางการเมือง เช่น ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล สำหรับเงินได้เท่ากับจำนวนเงินช่วยเหลือในส่วนของเงินเดือนประจำที่ได้จ่ายให้ลูกจ้างไปแล้วตามบัญชี โดยเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกำหนด
·       มาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการอ่าน เช่น การยกเว้นภาษีเงินได้ให้แก่นิติบุคคลสำหรับเงินได้เป็นจำนวนเงินหรือมูลค่าของทรัพย์สิน 2 เท่าของรายจ่ายที่จ่ายไปเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อส่งเสริมการอ่าน
                   ทั้งนี้ ภาษีเงินได้นิติบุคคล ได้มีการปรับปรุงรายละเอียดการให้สิทธประโยชน์เป็นระยะ ดังนั้นผู้ประกอบการ SMEs สามารถติดตามข้อมูลได้จาก
                   http://www.rd.go.th/publish/33892.0.html  หรือ
                   http://www.rd.go.th/publish/42798.0.html
                   เพื่อนำมาใช้เป็นข้อมูลประกอบการวางแผนทางภาษี สำหรับธุรกิจ SMEs ในส่วนของการวางแผนภาษีเงินได้นิติบุคคล ขอจบเพียงเท่านี้  สำหรับตอนต่อไปจะได้กล่าวถึงการวางแผนภาษีโรงเรือนและที่ดินต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น:

Disqus Shortname

Comments system