วันอังคารที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2557

เพิ่งเปิดบริษัท ควรทำอย่างไร ภาค1

มีหลายท่าน ที่เข้าใจว่าจะทำธุรกิจอะไรสักอย่างมันสามารถเริ่มต้นได้ง่ายดาย ไปจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทแล้วสามารถเริ่มต้นธุรกิจได้เลย หลายๆท่านนอกจากจะมีความสามารถเชี่ยวชาญในธุรกิจที่กำลังจะเริ่มต้น แต่ส่วนใหญ่ยังขาดความรู้ในเรื่องการจัดทำบัญชีอยู่ ทำให้เกิดปัญหาหลายๆอย่างตามมา วันนี้เราจะมาอธิบายให้ฟังกันคะสำหรับผู้ที่ต้องการมีธุรกิจส่วนตัวเป็นของตนเอง หรือต้องการศึกษาเบื้องต้นก่อนว่ากว่าจะเริ่มต้นประกอบธุรกิจเราต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง ส่วนท่านใดนะคะที่ยัง ไม่ทราบว่าจะเลือกจดทะเบียนแบบไหนดี ลองเข้าไปอ่านลิ้งค์นี้ค่ะ http://nukbunche.blogspot.com/2014_06_01_archive.html

การเริ่มต้นธุรกิจค่ะ. นอกจากเราจะต้องมีเงินลงทุน มีความเชี่ยวชาญในธุรกิจนั้นๆแล้ว เรายังต้องมีความรู้ในด้านบัญชีและภาษีด้วยค่ะ แล้วเราจะต้องเตรียมตัวอะไรบ้างหล่ะ

กรณี ที่ท่านเลือกจดทะเบียน บุคคลธรรมดา. ร้านค้า
ท่านมีหน้าที่จะต้องนำส่งภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยการยื่นแบบ ภงด90 ภงด94
แก่กรมสรรพากร เสียภาษีครึ่งปี และปลายปี โดยการหัก ค่าใช้จ่ายแบบเหมา หรือตามจริงก็ได้ค่ะ
หากท่าน ไม่ยอมยื่น เพื่อเสียภาษีจะเกิดอะไรขึ้น. หากเจ้าหน้าที่สรรพากรตรวจพบว่าเรายื่นภาษีขาดตกหล่น หรือไม่ได้ยื่น เจ้าหน้าที่มีอำนาจในการประเมินภาษีเราแน่นอนค่ะ

กรณี ที่ท่านเลือกจดทะเบียน นิติบุคคล บริษัทจำกัด ห้างหุ้นส่วนจำกัด
ท่านมีหน้าที่จะต้องนำส่งภาษีเงินได้นิติบุคคล โดยการยื่นแบบ. ภงด50 ภงด51
แก่กรมสรรพากร. โดยการหักค่าใช้จ่ายตามจริง.

โดยปกติแล้วการจดทะเบียนนิติบุคคล นอกจากจะมีความน่าเชื่อมากกว่า ทะเบียนพาณิชย์(ร้านค้าทั่วๆไปแล้ว). ท่านยังต้องแสดงผลการดำเนินงานผ่านออกมาในรูปแบบงบการเงินซึ่งต้องหาผู้จัดทำบัญชี และผู้สอบบัญชี เซ็นรับรองงบการเงินด้วย. ซึ่งส่วนใหญ่นักธุรกิจมือใหม่อาจยังไม่ทราบตรงนี้ ว่าจะต้องนำส่งงบการเงินแก่กรมพัฒน์และกรมสรรพากร.  หลายๆท่านอาจสงสัยว่าเราสามารถจัดทำเองได้ ไม่ต้องจ้างคนทำบัญชีให้เปลืองค่าใช้จ่าย จริงๆแล้วในงบการเงินจะต้องมีผู้จัดทำบัญชีและผู้สอบบัญชีเซ็นรับรองงบการเงิน. ซึ่งจำเป็นอย่างมากที่จะต้องหาผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางสายวิชาชีพบัญชี ซึ่งต้องได้รับการอบรมและขึ้นทะเบียนกับสภาวิชาชีพบัญชีเท่านั้น. (เป็นสายอาชีพแขนงหนึ่งเหมือน พวก หมอ วิศวะ ทนายความ) และการจ้างบุคคลเหล่านี้เงินเดือนสูงมาก

ดังนั้นบริษัท ห้างหุ้นส่วนขนาดเล็ก จึงนิยมใช้บริการตามสำนักงานบัญชีมากกว่าที่จะจ้างพนักงานบัญชี มาประจำออฟฟิตโดยตรง เพราะนอกจากจะช่วยท่านลดค่าใช้จ่าย. ต้นทุนแรงงานคนแล้ว สำนักงานจะช่วยให้ท่านเสียภาษีอย่างถูกต้อง. อีกทั้งยังมีความรู้เฉพาะทางมากกว่า การรับนักศึกษาจบใหม่มาทำงาน

ปัจจุบัน มีหลากหลายบริษัทที่เข้ามาปรึกษาเรา เพราะขาดความรู้ที่ว่าจะต้องนำส่งงบการเงินทำให้เสียค่าปรับต่างๆ. ไม่ว่าจะเป็นค่าปรับในส่วนกรมพัฒน์ กรมสรรพากร หมายเรียกตำรวจ ท่านสามารถเข้าไปอ่านได้ตามลิงค์ด้านล่าง. หากท่านจัดตั้งห้างหุ้นส่วน หรือบริษัท นิติบุคคลแล้วมิได้นำส่งงบการเงินประจำปีจะเกิดปัญหาอะไรบ้าง

http://nukbunche.blogspot.com/2014/06/blog-post.html

หวังว่าทุกท่านที่ได้ติดตามอ่านบล๊อกของเราจะเป็นประโยชน์แก่ท่าน. ในการวางแนวทางการดำเนินธุรกิจ หากท่านใดกำลังเจอปัญหาแบบเดียวกันอยู่ท่านสามารถโทรมาปรึกษาเราได้ค่ะ ยินดีให้คำแนะนำท่านฟรี ไม่คิดค่าใช้จ่ายค่ะ.

 หากท่านใดสนใจใช้บริการของเราราคาไม่แพงต่อรองได้.  งบเปล่าราคาเริ่มต้น 6500 บาทรวมค่าสอบบัญชีแล้ว

ในบล๊อกถัดไปนะคะเราจะมารีวิวการจัดทำบัญชีเบื้องต้นให้ท่านนักธุรกิจมือใหม่ค่ะ. เพราะหากท่านไม่ได้เตรียมความพร้อมในเรื่องการจัดทำบัญชีแล้ว ท่านอาจต้องมาปวดหัวทีหลังกับการทีมีแต่รายได้ แต่หาค่าใช้จ่ายมาลงบัญชีให้ถูกต้องตามประมวลรัษฎากรไม่ได้ค่ะ หรือมีแต่ค่าใช้จ่ายเหล่านั้นถือเป็นค่าใช้จ่ายต้องห้าม. (ซึ่งอาจเป็นเหตุให้ท่านเสียภาษีสูงได้ค่ะ). แล้วติดตามชมกันนะคะ เพิ่งเปิดบริษัทควรทำอย่างไรภาค2

วันจันทร์ที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2557

เมื่อเจอหมายเรียก ไม่ส่งงบการเงินควรทำอย่างไร (ภาค3)

สำหรับคนที่อ่าน  เมื่อเจอหมายเรียก  ไม่ส่งงบการเงินควรทำอย่าง  (ภาค 1-2)  มาแล้ว  และกำลังตัดสินใจว่าจะเครีย  ปิดบัญชีให้เรียบร้อย  ภาค3 นี้

ฝ้ายจะแจงรายละเอียดให้ค่ะ  ว่าจะมีค่าใช้จ่าย  อะไรที่เกิดขึ้นบ้าง  และจะเสียค่าปรับอยู่ที่เท่าไหร่กัน 

สำหรับกิจการที่ไม่มีรายการค้าเลย  ภาคแรกตามที่ฝ้ายแจ้งไป  ค่าจัดทำงบการเงินรวมค่าสอบบัญชี   ราคาตลาดจะอยู่ที่  8,000-12,000  (ราคาต่อปี)

ซึ่งไม่รวมค่าบริการอื่นๆ    เพื่อเป็นการช่วยทุกคนประหยัดค่าใช้จ่ายค่ะ  ฝ้ายรับทำอยู่ที่  6,000  บาท รับทำบัญชีทั่วประเทศค่ะ

งั้นเราลองมาคำนวนคร่าวๆนะคะค่าใช้จ่ายโดยรวมจะเสียประมาณเท่าไหร่


หลังจากเราจ่ายค่าปรับตำรวจแล้ว  ก็รีบติดต่อจัดทำงบการเงินและนำส่งให้เรียบร้อยค่ะ

(ถ้าจ่ายค่าปรับอย่างเดียวแต่ไม่นำส่ง  จะเกิดอะไรขึ้น  ปีถัดมามีหมายเรียกมาอีก  ก็ต้องจ่ายไปเรื่อยๆ อย่างนี้ทุกปีค่ะ)


 
สมมติเริ่มเปิดกิจการ  ปี 2555 ปัจจุบัน  2557  ต้องนำส่งงบการเงิน  31  พค 2558


ค่าบริการ+ค่าสอบบัญชี   3ปี  (2555-2557)          19,500    (ราคานี้เป็นราคางบเปล่าไม่มีรายการค้า  ถ้ามีรายการเคลื่อนไหวอาจปรับราคาเพิ่มขึ้นเล็กน้อย)
ค่าปรับยื่นงบการเงินล่าช้า 2556                           12,000  
ค่าปรับ  ภงด 50  2556                                            2,000    (ถ้ามีภาษีต้องเสียจะมีเบี้ยปรับเงินเพิ่มค่ะ)
           รวม                                                            32,000                             


สำหรับท่านใดที่ไม่มีเงินก้อนแต่อยากทำให้เรียบร้อย  สามารถทยอยยื่นได้ค่ะ

สามารถดูตารางค่าปรับได้ใน  เมื่อเจอหมายเรียกไม่ส่งงบการเงินควรทำอย่างไร  ภาค1  ค่ะ

เรามีขั้นตอนแนะนำง่าย ๆ ค่ะ ว่าจะทำอะไรก่อนเผื่อสับสน

1  ถ้าอ่านตามนี้แล้วยังไม่เข้าใจ  และกังวล  โทรหาเราได้ฟรีค่ะ  ยินดีให้คำปรึกษา  ADD LINE มาคุยกันก็ได้ค่ะ  ติดต่อคุณฝ้าย  089-6386450  ID LINE     buacc    
(เวลาทำการ จันทร์-เสาร์ 9.00 - 17.00)

2  พบตำรวจไปจ่ายค่าปรับยื่นงบการเงินล่าช้า ปี2556  12,000 ที่กรมพัฒน์แล้วเอาใบเสร็จมาปิดเรื่องกับตำรวจ

3  จัดทำบัญชีให้เป็นปัจจุบัน ยื่นงบการเงินให้เรียบร้อยทั้งกรมพัฒน์  และสรรพากร

4  ถ้าไม่อยากประกอบธุรกิจ  แจ้งเลิกกิจการเลยค่ะ


สำหรับผู้ที่อ่านไม่ครบทุกภาค  สามารถ เข้าไปอ่านได้ตามลิ้งค์ด้านล่างค่ะ



เมื่อเจอหมายเรียก ไม่ส่งงบการเงินควรทำอย่างไร (ภาค1)


http://nukbunche.blogspot.com/2014/12/3.html


เมื่อเจอหมายเรียก ไม่ส่งงบการเงินควรทำอย่างไร (ภาค2)


http://nukbunche.blogspot.com/2014/12/2.html


เมื่อเจอหมายเรียก ไม่ส่งงบการเงินควรทำอย่างไร (ภาค3)


http://nukbunche.blogspot.com/2014/06/blog-post.html

เมื่อเจอหมายเรียกไม่ส่งงบการเงินควรทำอย่างไร (ภาค2)

บางท่านที่ได้อ่านภาคแรกไปแล้ว  ลองดูภาคสองเพิ่มเติมนะคะ  เพื่อเป็นแนวทางในการตัดสินใจว่าจะทำอย่างไรต่อไปดี

ลูกค้าหลายรายโทรมาปรึกษาเรา  แล้วอย่างนี้เราควรจะเข้าไปพบตำรวจดีไหมนะ  แล้วถ้าไม่ไปหล่ะ  ไม่อยากเสียค่าปรับเลย 

ธุรกิจก็ไม่ได้ดำเนินการแต่อย่างใดแค่เปิดบริษัทไว้เฉยๆ

เรามาดูข้อดีและข้อเสียกันค่ะ  ก่อนตัดสินใจค่ะ

ข้อดี

1  ประหยัดค่าใช้จ่ายในการจัดทำงบการเงินค่ะ  เพราะการปิดงบนั้น  ต้องปิดบัญชีตั้งแต่เริ่มกิจการค่ะ  สมมติว่าไม่ได้ส่งงบการเงินมาเป็นเวลาหลายปี  

ค่าใช้จ่ายในการปิดงบนะคะ  ตามราคาตลาดงบเปล่า  ไม่มีรายการค้า  จะอยู่ที่  8000  -  12,000  ต่อปี  ซึ่งเมื่อนับจำนวนปีที่คุณไม่ได้ส่งงบการเงินแล้ว  

ก็มากโขอยู่ค่ะ  เช่นเริ่มเปิดกิจการตั้งแต่ปี  2555  ปัจจุบัน คือ 2557  ผ่านมาแล้ว  3 ปี  คูณเอาง่าย ๆ 3*8,000  รวม  24,000  ทั้งนี้ยังไม่รวมค่าปรับต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น 

ข้อเสีย

1  เมื่อคุณโดนหมายเรียกแล้วไม่เข้าไปพบตำรวจ  เสี่ยงมากเลยนะคะ  เพราะว่าหากเรามีคดีความ  หรือบังเอิญ  ซวย   ต้องขึ้นโรงพัก  ขึ้นศาลชื่อของคุณมันอยู่

ในระบบของทางตำรวจ  นั่นไง  คนนี้โดนหมายแล้วไม่เข้าไปพบ  เกิดตรวจสอบเช็กประวัติเรา  มันออนไลน์นะคะ  แล้วจะทำอย่างไรดี  เลือกเอาค่ะ  ตอนหมาย

มาเข้าไปเจรจา  ทางพี่ตำรวจเค้าก็จะให้เราไปจ่ายค่าปรับกรมพัฒน์ 12000 แล้วเอาใบเสร็จมาปิดเรื่องค่ะ  ครั้งแรกออกหมายเรียก  ครั้งสองออกหมายจับ  

ครั้งสามออกหมายศาล  กรณีที่โดนหมายเรียกครั้งแรก  ซึ่งถ้าไม่จ่ายเครียให้เรียบร้อย  ค่าปรับในชั้นศาลสูงสุดที่ 50,000 สารภาพผิดแล้วจ่ายค่าปรับเป็นอันจบเรื่อง


2  สำหรับบางคนที่ทำงาน  หรือจะเข้าไปทำงาน  องค์กรใหญ่ๆ ราชการ  รัฐวิสาหกิจ  บริษัทข้ามชาติ   ดูด้วยนะคะ  บางที่เช็คประวัติเรา  ว่ามีคดีอะไรติดตัวหรือไม่  ซึ่งปัจจุบัน  บริษัท ใหญ่ ๆ เค้าเช็ค  ก่อนรับคนเข้าทำงานค่ะ  อาจทำให้คุณไม่ได้งานในที่ใฝ่ฝันค่ะ  ถ้าถามว่า  แล้วอย่างนี้ใครโดนบ้าง  บอกเลยค่ะไม่รอด  กรรมการทุกคน  ฝ้ายแนะนำให้ปรึกษากันนะคะ  ว่าจะแจ้งเลิกกิจการดีไหม  เพราะตอนจดกิจการเราก็แจ้งทางกรมพัฒน์  ตอนเลิกก็ต้องแจ้งเช่นกันค่ะ


3  เรื่องมิจฉาชีพ  เคยดูข่าวไหมคะว่า  มีคนแอบอ้างชื่อบริษัท  ไปกระทำให้บุคคลภายนอกเสียหาก  แด่วนี้มิจฉาชีพเยอะมาก  มีเทคนิคกระทำความผิดหลากหลายวิธี  สื่ออิเล็กทรอนิกส์  เข้าถึงได้ง่าย  เค้ามีวิธีเช็ครายละเอียดข้อมูลได้อยู่แล้วค่ะ  ถ้าให้คิดร้ายๆ นะคะ  เอาชื่อบริษัทเราไปหลอกชาวบ้าน  แล้วยังไง
กรรมการไม่มีใครรู้เรื่องซักคน  วันนึง  เกิดฟ้องร้องบริษัท  แน่ะ  ไม่รู้อิโหน่อิเหน่เลย   จู่ๆก็โดนฟ้องร้อง  ทำยังไงหล่ะทีนี้เรื่องใหญ่ขึ้นศาล  ติดต่อทนายความค่ะ  ขึ้นโรงขึ้นศาลต่อสู้คดีกันต่อไป  ว่าเราไม่ใช่ผู้กระทำความผิดนะ


4  นอกจากค่าปรับกรมพัฒน์แล้ว  ก็ยังมีค่าปรับ สรรพากรค่ะ  ซึ่งสรรพากรมีอำนาจในการประเมินภาษีเราค่ะ  ตรวจบริษัทเราย้อนหลังได้ถึง  5  ปี  ลูกค้าบางราย  มีรายได้แต่ไม่ยอมนำส่งงบการเงิน  วันดีคืนดี  โดนสรรพากรสุ่มตรวจไปแจ๊คพอตแตกเลยค่ะ  โดนประเมินภาษีเป็นล้านก็มีค่ะ  (ขึ้นอยู่กับขนาด  และรายได้ของธุรกิจ)


อย่าลืมติดตามอ่านเมื่อเจอหมายเรียกไม่ส่งงบการเงินควรทำอย่างไร (ภาค3) ภาคนี้สำหรับคนตัดสินใจที่จะเครียปัญหาต่าง ๆ ให้เรียบร้อยแล้วตั้งใจจะทำทุกอย่างให้เรียบร้อย  เราจะมาแจงรายละเอียดให้ฟังกันค่ะ  ว่าค่าใช้จ่าย  มีอะไรบ้าง

เห็นไหมคะว่าการเปิดบริษัท  ทิ้งไว้  แล้วไม่นำส่งงบการเงิน  อาจทำให้คุณมีปัญหาหลายๆ อย่างตามมา  ไม่ใช่เรื่องเล่น ๆ เลยค่ะ  ถ้ากำลังเจอปัญหาแบบนี้อยู่

โทรหาเราได้ค่ะ  ยินดีที่ได้ช่วยเหลือ  ให้คำแนะนำทุกท่านฟรีค่ะ


ติดต่อคุณฝ้าย  089-6386450  ID LINE     buacc      
(เวลาทำการ จันทร์-เสาร์ 9.00 - 17.00)




สำหรับผู้ที่อ่านไม่ครบทุกภาค  สามารถ เข้าไปอ่านได้ตามลิ้งค์ด้านล่างค่ะ



เมื่อเจอหมายเรียก ไม่ส่งงบการเงินควรทำอย่างไร (ภาค1)


http://nukbunche.blogspot.com/2014/12/3.html


เมื่อเจอหมายเรียก ไม่ส่งงบการเงินควรทำอย่างไร (ภาค2)


http://nukbunche.blogspot.com/2014/12/2.html


เมื่อเจอหมายเรียก ไม่ส่งงบการเงินควรทำอย่างไร (ภาค3)


http://nukbunche.blogspot.com/2014/06/blog-post.html


Disqus Shortname

Comments system