วันอาทิตย์ที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

จดทะเบียนพาณิยช์อิเล็กทรอนิกส์

ทำไมต้องจดทะเบียนพาณิยช์อิเล็กทรอนิกส์ 


กองพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบในการส่งเสริมและสนับสนุนพาณิชย์ อิเล็กทรอนิกส์ เพื่อเพิ่มและขยายช่องทางการตลาดให้แก่ผู้ประกอบการ จากการดำเนินงานที่ผ่านมาพบว่า พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของประเทศไทยยังไม่เป็นที่แพร่หลายมากนัก สาเหตุหนึ่งเกิดจากการขาดความน่า เชื่อถือของผู้ประกอบการ ทำให้ผู้บริโภคขาดความมั่นใจ เพราะไม่สามารถรู้หรือทราบได้ว่าผู้ประกอบการเป็นใคร อยู่ที่ไหน กรณีมีปัญหาหรือข้อพิพาทต่างๆ ไม่สามารถตรวจสอบการมีตัวตนของผู้ประกอบการได้
ดังนั้น จะเห็นว่า ความเชื่อถือและเชื่อมั่นดังกล่าว ถือเป็นสิ่งสำคัญในการดำเนินธุรกิจ พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ การที่จะช่วยกระตุ้นให้พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ได้รับความแพร่หลายในประเทศไทย เกิดการทำธุรกรรมพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้น จะต้องมีการสร้างความน่าเชื่อถือให้แก่ผู้ประกอบการ ทั้งนี้ เพื่อให้ผู้บริโภคเกิดความมั่นใจในการตัดสินใจทำธุรกรรมพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ดังนั้น กรมพัฒนาธุรกิจการค้า จึงได้กำหนดให้ผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ที่มีสถานประกอบการตั้งอยู่ในประเทศไทย ต้องมาจดทะเบียนพาณิชย์ เพื่อให้ผู้บริโภคสามารถตรวจสอบการมีตัวตนของผู้ประกอบการได้ว่า ผู้ประกอบการมี ตัวตนจริงหรือไม่ เป็นใคร อยู่ที่ไหน ทำธุรกรรมอะไรบ้าง
ประโยชน์ของการจดทะเบียน
  1. สร้างความน่าเชื่อถือให้แก่ผู้ประกอบการในระดับหนึ่ง โดยกรมฯ จะจัดทำเลขทะเบียน พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (เครื่องหมาย Registered) จัดส่งให้แก่ผู้ประกอบการ (ส่งทางe-Mail ในรูปแบบ Source Code) เพื่อให้ผู้ประกอบการนำไปแสดงไว้บน Web Site หรือ Home Page เพื่อแสดงว่าได้ จดทะเบียนกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าแล้ว เมื่อผู้บริโภค (ผู้ซื้อ) เห็นเครื่องหมาย Registered แล้ว จะเกิดความมั่นใจในการทำธุรกรรมเพิ่มมากขึ้น โดยเมื่อ click ที่เลขทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ระบบจะเชื่อมโยงมายังฐานข้อมูลกรมฯ และแสดงข้อมูลทางทะเบียนของผู้ประกอบการ เพื่อให้ ประชาชนสามารถตรวจสอบสถานะและการมีตัวตนของผู้ประกอบการได้
  2. กรมฯ จะนำรายชื่อเว็บไซต์ที่ขึ้นทะเบียน มาจัดทำเป็นฐานข้อมูล แยกตามประเภทธุรกิจ ผ่านเว็บไซต์ www.dbd.go.th/edirectory นำไปเผยแพร่แก่ผู้ประกอบการและประชาชนผู้สนใจผ่านสื่อต่าง ๆ เพื่อเป็นการช่วยเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ให้แก่ผู้ประกอบการอีกทางหนึ่ง
  3. ผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ที่จดทะเบียนแล้ว สามารถยื่นขอใช้เครื่อง หมายรับรองความน่าเชื่อถือ (Trustmark) จากกรมฯ ได้ ซึ่งเครื่องหมาย Trustmark นี้จะมีความ น่าเชื่อถือสูงกว่าเครื่องหมาย Registered กล่าวคือ จะออกให้แก่เว็บไซต์ที่มีคุณสมบัติตามที่กรมฯ กำหนด เท่านั้น เพื่อเป็นการยกระดับผู้ประกอบการของไทยให้เป็นที่ยอมรับทั้งในและต่างประเทศ (www.trustmarkthai.com)
  4. การได้รับสิทธิพิเศษต่างๆ เช่น การเข้าร่วมการอบรมสัมมนา การได้รับคำแนะนำ และการได้รับข้อมูลข่าวสารด้านการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
ผู้มีหน้าที่จดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
คือ บุคคลธรรมดาและนิติบุคคลที่มีสถานประกอบการตั้งอยู่ในประเทศไทย ซึ่งประกอบพาณิชยกิจในเชิงพาณิชย์อันเป็นอาชีพปกติ ดังนี้
  1. ซื้อขายสินค้าหรือบริการ ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ได้แก่ บุคคลที่มีเว็บไซต์เพื่อทำการซื้อขายสินค้าหรือบริการ
  2. บริการอินเทอร์เน็ต (ISP : Internet Service Provider)
  3. ให้เช่าพื้นที่ของเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย (Web Hosting) เช่น www.ireadyhost.com 
  4. ริการเป็นตลาดกลางในการซื้อขายสินค้าหรือบริการ โดยวิธีการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (e-Marketplace) เช่น www.ThaiDBmarket.com
เอกสารที่ต้องใช้ประกอบการจดทะเบียน
  1. คำขอจดทะเบียนพาณิชย์ (แบบ ทพ.) และ รายละเอียดเกี่ยวกับเว็บไซต์ (เอกสารแนบ)
  2. สำเนาบัตรประจำตัว
    - กรณีบุคคลธรรมดา ได้แก่ สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
    - นิติบุคคล ได้แก่ สำเนาบัตรประจำตัวผู้จัดการของห้างหุ้นส่วน หรือของกรรมการผู้มีอำนาจของบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัด (ไม่ต้องแนบหนังสือรับรองการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล)
  3. หนังสือมอบอำนาจ (ถ้ามี)
  4. หนังสือชี้แจง (กรณียื่นล่าช้าหรือเกินกำหนด)
กำหนดเวลาการยื่นคำขอจดทะเบียน
ผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ที่ยังไม่ได้จดทะเบียนพาณิชย์ ให้ยื่นขอจดทะเบียนให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน นับแต่วันเริ่มประกอบการ
สถานที่ยื่นจดทะเบียน
  1. ผู้ประกอบการที่มีสํานักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ให้ยื่นคําขอจดทะเบียนพาณิชย็ต่อสํานักงานเขตต่าง ๆ และศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร

    รายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อได้ที่:
    สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง สำนักการคลัง โทร. 0-2224-1916, 0-2225-1945
    หรือที่ ฝ่ายปกครอง สำนักงานเขตทุกแห่ง และที่เว็บไซต์ www.bangkok.go.th/fiic
     
  2. ผู้ประกอบการที่มีสํานักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่จังหวัดอื่น นอกจากกรุงเทพมหานคร ให้ยื่นคําขอจดทะเบียนพาณิชย์ต่อองค์การบริหารส่วนจังหวัดนั้น ๆ หรือ เมืองพัทยา แล้วแต่กรณี 

ตัวอย่างเว็บไซต์ประเภทซื้อขายสินค้าหรือบริการที่ต้องจดทะเบียน
  • มีระบบการสั่งซื้อ เช่น ระบบกรอกฟอร์ม ระบบตะกร้า e-mail หรืออื่นๆ
  • มีระบบการชำระเงิน ออฟไลน์ หรือ ออนไลน์ เช่น การโอนเงินผ่านระบบบัญชี การชำระด้วยบัตรเครดิต หรือ e-cash , e-wallet เป็นต้น เป็นต้น
  • มีระบบสมัครสมาชิก เพื่อรับบริการข้อมูลหรืออื่น ๆ โดยมีการคิดค่าใช้จ่าย (ถือเป็นการขายบริการ) เช่น บริการข่าวสาร/บทความ/หนังสือ การรับสมัครงานผ่านทางอินเทอร์เน็ต เป็นต้น
  • มีวัตถุที่ประสงค์หลักในการรับจ้างโฆษณาสินค้าหรือบริการของผู้อื่น และมีรายได้จากการโฆษณานั้น
  • รับจ้างออกแบบเว็บไซต์ หรือเพียงโฆษณาว่าเป็นผู้รับจ้างออกแบบเว็บไซต์ เพราะถือว่าการออกแบบเว็บไซต์นั้นมีช่องทางการค้าปกติบนอินเทอร์เน็ต
  • เว็บไซต์ให้บริการเกมส์ออนไลน์ที่คิดค่าบริการจากผู้เล่น (เจ้าของเว็บไซต์ต้องจดทะเบียน)
  • เว็บไซต์ที่มีการส่งมอบสินค้าหรือบริการผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เช่น การ Download โปรแกรม เกมส์ Ringtone Screensaver SMS เป็นต้น
ตัวอย่างเว็บไซต์ประเภทซื้อขายสินค้าหรือบริการที่ไม่ต้องจดทะเบียน

  • มีเฉพาะหน้าร้านโชว์สินค้าของตนเอง แต่ทำการค้าในช่องทางปกติ (ไม่ใช่อินเทอร์เน็ต) แม้จะมีข้อความแจ้งว่าให้ติดต่อได้ เช่น สนใจโทร.ติดต่อหรือ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่….
  • การโฆษณาสินค้าของตนเอง โดยลักษณะของการโฆษณานั้นไม่ใช่วัตถุที่ประสงค์หลักของกิจการและไม่ใช่ช่องทางค้าปกติ แม้จะมี banner ของผู้อื่นมาติดและมีรายได้จาก banner ก็ตาม
  • การประชาสัมพันธ์หรือเผยแพร่ข้อมูลแก่สมาชิกหรือบุคคลทั่วไป โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายหรือบริการ เช่น เพื่อการสอน ประกาศรับสมัครงาน
  • การประชาสัมพันธ์ข้อมูลเกี่ยวกับบริษัท หรือสินค้า
  • เว็บไซต์ส่วนตัว (ส่วนบุคคล) ที่สร้างขึ้นเพื่อเผยแพร่ข้อมูลส่วนตัว การงาน การศึกษา หรือความสนใจส่วนตัว
  • เว็บไซต์ที่เป็นสื่อกลางด้านข้อมูล โดยมีจุดประสงค์ในการแลกเปลี่ยนข้อมูล โดยไม่มีการเสียค่าสมาชิกหรือ ค่าใช้จ่ายใดๆ
  • ร้านอินเทอร์เน็ตที่ให้บริการในการเล่น net ที่เจ้าของร้านได้รายได้จากค่าชั่วโมงการเล่นอินเทอร์เน็ต (อินเทอร์เน็ตคาเฟ่) และ เกมส์คอมพิวเตอร์ ประเภทนี้ เจ้าของร้านอินเทอร์เน็ตฯ
  • ไม่ต้องจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ แต่ให้จดทะเบียนพาณิชย์ ปกติ (ถือเป็นพาณิชยกิจธรรมดา ในช่องทางปกติ ไม่ใช่ e-Commerce )

การวางแผนภาษีเงินได้นิติบุคคล

การวางแผนทางภาษี สำหรับธุรกิจ SMEs (ฉบับ Do it yourself)
                                                     
                                           การวางแผนภาษีเงินได้นิติบุคคล
 จากบทความการวางแผนทางภาษี สำหรับธุรกิจ SMEs (ฉบับ Do it yourself) ตอนที่ 1 ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับภาษีธุรกิจ สรุปได้ว่า ภาษีเงินได้นิติบุคคล  เป็นภาษีทางตรง (Direct Tax) ที่ SMEs ต้องรับภาระมากที่สุด  ดังนั้น  ผู้ประกอบการ SMEs จึงควรมีการวางแผนภาษีเงินได้นิติบุคคล เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ
                    ทั้งนี้ ภาษีเงินได้นิติบุคคล เป็นภาษีที่กรมสรรพากรเป็นผู้จัดเก็บเพื่อนำส่งรายได้ให้แก่รัฐบาล โดยจัดเก็บอัตราสูงสุดไม่เกินร้อยละ 30 ของกำไรสุทธิ  ซึ่งประมวลรัษฎากรได้กำหนดสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่เกี่ยวข้องกับ SMEs ดังนี้
1.      การลดอัตรา  โดยลดอัตราภาษีนิติบุคคลสำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีทุนจดทะเบียนชำระแล้วในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี ไม่เกิน 5 ล้านบาท ดังนี้
กำไรสุทธิ
อัตราภาษีร้อยละ
1-150,000 บาท
ได้รับการยกเว้น
150,001  1,000,000 บาท
15
1,000,001 -3,000,000 บาท
25
3,000,001 บาทขึ้นไป
30

2.      การยกเว้นภาษี เช่น เงินปันผลหรือผลประโยชน์ที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลได้รับจากการถือหุ้นในบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่เป็นนิติบุคคลร่วมลงทุน
3.      การหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมในอัตราเร่ง บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
ที่ซื้อทรัพย์สินมาใช้งาน หากทรัพย์สินนั้นใช้งานเกิน 
รอบระยะเวลาบัญชี สามารถหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาในอัตราเร่งได้  เช่น
-                   โปรแกรมคอมพิวเตอร์ หักได้ ร้อยละ 40 ในวันที่ได้มา
-                   เครื่องจักรที่ใช้สำหรับ R&D หักได้ ร้อยละ 40 ในวันที่ได้มา
-                   อาคารโรงงาน หักได้ ร้อยละ 25 ในวันที่ได้มา
4.      การหักค่าใช้จ่ายแบบพิเศษ  ปกติรายจ่ายเพื่อการดำเนินธุรกิจ สามารถนำมาหักเป็นรายจ่ายได้  3  รูปแบบ คือ 1) หักรายรายจ่ายเท่าที่จ่ายไป 2) หักน้อยกว่าที่จ่ายไปหรือไม่ยอมให้หักรายจ่าย  และ 3) หักรายจ่ายได้มากกว่าที่จ่ายจริง โดยการหักรายจ่ายได้มากกว่าที่จ่ายจริง  เป็นเรื่องที่รัฐต้องการส่งเสริมหรือสนับสนุนในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง จึงกำหนดสิทธิประโยชน์ในการหักรายจ่ายที่หักได้มากกว่า 1 เท่า  เช่น 
-    รายจ่ายที่หักได้ 1.25 เท่า เช่น เครื่องจักร อุปกรณ์ หรือวัสดุประหยัดพลังงาน
-     รายจ่ายที่หักได้ 1.50เท่าเช่น สนับสนุนกีฬาตามโครงการยุทธศาสตร์ 4ปี
สร้างกีฬาชาติ
-    รายจ่ายที่หักได้ 2เท่า เช่น การวิจัยและพัฒนา การจ้างคนพิการ การฝึกอบรมลูกจ้างและฝึกเตรียมเข้าทำงานการสร้างและรักษาสนามเด็กเล่นสาธารณะ ค่าโรงแรม ห้องสัมมนาเพื่อจัดอบรมให้ลูกจ้าง  รายจ่ายร่วมออกร้าน นิทรรศการ งานแสดงสินค้าในและต่างประเทศ
                   ทั้งนี้  การให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีจะกำหนดหลักเกณฑ์ธุรกิจ SMEsลักษณะใดลักษณะหนึ่งในการให้สิทธิประโยชน์ หากธุรกิจ SMEs สอดคล้องกับหลายลักษณะ ก็จะได้รับสิทธิประโยชน์เพิ่มขึ้น
                   ในส่วนของสิทธิประโยชน์ในข้อ 3 และ 4  เป็นเงื่อนไขนำไปใช้หักลดค่าใช้จ่าย เพื่อนำไปใช้เป็นเกณฑ์การพิจารณากำไรสุทธิตามข้อ 1 ดังนั้น ผู้ประกอบการ SMEsควรวางแผนภาษีตามประเภทธุรกิจของตนเอง  เช่น  หากกิจการมีความจำเป็นต้องซื้อเครื่องจักร  ควรซื้อเครื่องจักรที่ประหยัดพลังงาน  เนื่องจากหักค่าใช้จ่ายได้ 1.25 เท่า หากเดินทางไปจัดงานแสดงสินค้าในต่างประเทศ สามารถนำมาหักค่าใช้จ่ายได้ 2 เท่า การวิจัยและพัฒนา หักค่าใช้จ่ายได้ 2 เท่า เป็นต้น
                   นอกจากนี้  คณะรัฐมนตรียังได้เห็นชอบมาตรการภาษี เพื่อการสนับสนุน ส่งเสริม หรือบรรเทาปัญหาต่าง ๆ เป็นระยะ  ผู้ประกอบการควรติดตามความเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่อง  อาทิ  
·       การให้สิทธิประโยชน์ภาษีเงินได้บริษัทนิติบุคคลในตลาดหลักทรัพย์mai โดยลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลเหลือร้อยละ 25 สำหรับกำไรสุทธิที่ไม่เกิน 50 ล้านบาท เพื่อส่งเสริมให้บริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ mai สามารถยกระดับเป็นบริษัทรายใหญ่  และจูงใจให้ SMEs จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ mai
·       การลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลเหลือร้อยละ 15 สำหรับกำไรสุทธิให้แก่ศูนย์กลางการจัดหาสินค้าเพื่อการผลิตระหว่างประเทศ  สำหรับรายได้จากการจัดซื้อและขายสินค้าให้แก่วิสาหกิจ
ในเครือที่ตั้งในต่างประเทศ โดยสินค้าดังกล่าวมิได้ถูกนำเข้ามาในประเทศไทย
 เป็นเวลา 5 รอบระยะเวลาบัญชีต่อเนื่องกัน
·       ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลให้แก่โครงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสำหรับกำไรสุทธิของโครงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในแต่ละโครงการ เฉพาะที่คำนวณจากรายได้จากการจำหน่ายคาร์บอนเครดิตไม่ว่าจะกระทำในหรือนอกประเทศไทยเป็นเวลา 3 รอบระยะเวลาบัญชี
·       มาตรการภาษีให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยต่าง ๆ เช่น อาทิ การยกเว้นภาษีเงินได้ให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล สำหรับเงินได้ที่เป็นค่าสินไหมทดแทน ที่ได้รับจากบริษัทประกอบกิจการประกันภัยเพื่อชดเชยความเสียหาย เฉพาะส่วนที่เกินมูลค่าต้นทุนของทรัพย์สินที่เหลือจากการหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคา
·       มาตรการภาษีช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการชุมนุมทางการเมือง เช่น ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล สำหรับเงินได้เท่ากับจำนวนเงินช่วยเหลือในส่วนของเงินเดือนประจำที่ได้จ่ายให้ลูกจ้างไปแล้วตามบัญชี โดยเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกำหนด
·       มาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการอ่าน เช่น การยกเว้นภาษีเงินได้ให้แก่นิติบุคคลสำหรับเงินได้เป็นจำนวนเงินหรือมูลค่าของทรัพย์สิน 2 เท่าของรายจ่ายที่จ่ายไปเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อส่งเสริมการอ่าน
                   ทั้งนี้ ภาษีเงินได้นิติบุคคล ได้มีการปรับปรุงรายละเอียดการให้สิทธประโยชน์เป็นระยะ ดังนั้นผู้ประกอบการ SMEs สามารถติดตามข้อมูลได้จาก
                   http://www.rd.go.th/publish/33892.0.html  หรือ
                   http://www.rd.go.th/publish/42798.0.html
                   เพื่อนำมาใช้เป็นข้อมูลประกอบการวางแผนทางภาษี สำหรับธุรกิจ SMEs ในส่วนของการวางแผนภาษีเงินได้นิติบุคคล ขอจบเพียงเท่านี้  สำหรับตอนต่อไปจะได้กล่าวถึงการวางแผนภาษีโรงเรือนและที่ดินต่อไป

แนวข้อสอบ TA 3/2558

แนวข้อสอบ TA 3/2558
วิชาความรู้เกี่ยวกับประมวลฯ
ข้อ 1.
ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลเศรษฐี มีนาย ก กับนาย ข เป็นหุ้นส่วนกัน ต่อมานาย ก ตาย ศาลได้สั่งให้ทายาทนาย ก คือ นาย ค เป็นผู้ชำระบัญชี แต่นาย ข และนาย ค  ได้ตกลงกันว่าจะดำเนินกิจการต่อและไปแจ้งเปลี่ยนชื่อจดทะเบียน โดยเอานาย ก (ที่ตายออก)  และเอานาย ค (ที่เป็นทายาทผู้ตายมาเป็นหุ้นส่วนแทนเพราะเป็นทายาทโดยธรรม) ต่อมาวันที่ 10 กย. นาย ข ถอนตัวจากการเป็นหุ้นส่วน โดยมีนาย ง มาเป็นหุ้นส่วนแทน ภายหลัง ห้างมีหนี้เกิดขึ้น 500,000 บาท(หนี้เกิดภายหลังที่นาย ก ตาย) โดยเกิดตั้งแต่ 5 สค.   ทั้งนาย  ค และนาย ง  อ้างว่าตนไม่ต้องรับผิด  โดยนาย ค  อ้างว่าตนไม่ต้องรับผิดเพราะศาลได้สั่งให้ห้างเลิกแล้ว  ส่วนนาย ง อ้างว่าหนี้เกิดก่อนที่ตนจะเข้าเป็นหุ้นส่วน
คำถามคือ ข้ออ้างนาย ค และ นาย ง ฟังขึ้นหรือไม่ อย่างไร
ประเด็นคือ  (รอกูรูทั้งหลายมาตอบนะคะ)
1. นาย ก ตายห้างเลิกหรือไม่  ถ้าเลิก สัญญาที่เกิดขึ้ยภายหลังก็เป็นเพียงสัญญาธรรมดา
2. ถ้าห้างไม่เลิก ใครต้องรับผิดบ้าง
ข้อ 2.
กิจการขาย อุปกรณ์ไฟฟ้า และจดทะเบียนขนส่งสินค้า กิจการมีการขายสินค้า
มูลค่าสินค้ารวมทั้งหมดก่อน Vat 1,000,000 บาท และค่าขนส่ง 20,000 บาท (เงื่อนไข 2/10 n/30)
มีการเรียกเก็บเงินมัดจำมาในวันที่ 25 กย 50,000บาท และส่งของวันที่ 1 ตค. ได้รับเงิน 950,000 บาท ในวันที่ส่งสินค้า
และมีการเรียกเก็บค่าขนส่ง 20,000 บาท ณ วันที่ 4 ตค. ถามว่ากิจการต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ออกใบกำกับอย่างไร และต้องหักภาษีหัก ณ ที่จ่ายหรือไม่

ข้อ.3
3.1 กิจการซื้อกระดาษจาก JP จากต่างประเทศ เพื่อส่งสินค้าไปยัง บรูไน ต้องเสีย vat หรือไม่
3.2 กิจการทำสัญญาเช่าอาคารพาณิชย์ระยะยาว  โดยมีการเรียกเก็บเงินก้อนแรก มาก่อน  และมีการเรียกเก็บค่าเช่ารายปีกิจการจะรับรู้รายได้ตามประมวลรัษฎากรอย่างไร
3.3 กิจการประกอบกิจการเป็นนายหน้าขายสินค้าให้กับบริษัทแห่งหนึ่ง  กิจการจะทำอย่างไรให้ถูกต้องตามประมวลรัษฎากร  (เข้าใจว่าน่าจะถามประเด็นการรับรู้รายได้และการหัก ณ ที่จ่าย)
3.4  รอคนมาบอกเพิ่มนะคะ



วิชาสอบบัญชี
ข้อ 1. ให้เขียนรายงาตรวจสอบและรับรองบัญชี (จงอธิบายและเขียนรายงานเฉพาะเฉพาะส่วนที่ตรวจสอบ)
โดยมีข้อมูลเพิ่มเติมดังนี้
1.1  มียอดลูกหนี้ในงบการเงิน 2,500,000 บาท แต่ในบัญชีแยกประเภท มี 2,000,000 บาท ผู้สอบบัญชี ไม่สามารถหาได้ว่าทำไมยอดต่างกัน5แสน
1.2 ซื้ออุปกรณ์สำนักงาน มา 1 มค.57  คิดค่าเสื่อมทางบัญชี(คาดว่าจะมีอายุการให้ประโยชน์) 4 ปี ได้ปีละ 200,000 แต่ตามประมวลต้ององคิด 5 ปี ซึ่งเท่ากับ160,000
1.3 หุ้นส่วนผู้จัดการจ่ายเดินทางไปยังต่างประเทศเกี่ยวกับการซื้อสินค้าของห้างหุ้นส่วน400,000 บาท แต่ตรวจเอกสารพบว่าเป็นค่าใช้จ่ายตั๋วที่พักของภรรยาและบุตร 310,000
ให้เขียนข้อยกเว้นเฉพาะข้อที่เกี่ยวข้องไม่ต้องเขียนพฤติการณ์

ข้อ 2. ให้จัดทำกระดาษทำการบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทกระแสรายวัน โดยให้รูปแบบกระดาษทำการเป็นตาราง ณ วันที่ 30 พ.ย. และ ณ วันที่ 31 ธ.ค. พร้อมกับเสนอรายการปรับปรุงและรายการบัญชีที่เกี่ยวข้อง  ตามแบบฟอร์มที่กำหนด  โดยโจทย์จะให้ให้รายการยอดคงเหลือของธนาคารกับกิจกานของเดือน พย. และธค. และบอกรายการที่มีผลกระทบ
ข้อ 3.
3.1 เมื่อท่านเข้าสังเกตการณ์นับสินค้าคงเหลือของกิจการ ท่านควรทำอย่างไร(วิธีปฎิบัติ/วิธีการตรวจสอบ)เมื่อเข้าตรวจนับ จงอธิบายมา 5 ข้อ
3.2 วิธิตรวจตัดยอดซื้อ มีวิธีการตรวจสอบ/ปฎิบัติอย่างไร
3.3 วิธีการตรวจตัดยอดขาย มีวิธีการตรวจสอบ/ปฎิบัติอย่างไร
3.4 ใบเพิ่มหนี้มีหลักปฎิบัติอย่างไร




วิชาการบัญชี
ข้อ 1 เรื่องสินค้าคงเหลือ (เป็นแบบตรวจนับสิ้นงวด)
บ. เอ    ผลิตสินค้าชนิดเดียว ใช้การตรวจนับสินค้าคงเหลือแบบสิ้นงวด 
วัตถุดิบ  ใช้วิธีถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก
สินค้าสำเร็จรูป ใช้วิธีเข้าก่อนออกก่อน รายการ ณ  1 กันยายน 2558 มีดังนี้
วัตถุดิบ  300 หน่วย  หน่วยละ 22 บาท
สินค้าสำเร็จรูป  100 หน่วย หน่วยละ 58 บาท
รายการที่เกิดขึ้นระหว่างเดือนกันยายน
1 ซื้อวัตถุดิบเป็นเงินสด จำนวน 800 หน่วย หน่วยละ 24.60 บาท
2. เบิกใช้วัตถุดิบ 1000 หน่วย
3. ซื้อวัตถุดิบเป็นเงินเชื่อ  1000 หน่วย หน่วยละ 20 บาท เงื่อนไขการชำระเงิน (5/10 , n/30 )
4 .จ่ายชำระค่าวัตถุดิบ ได้รับส่วนลด
5. ค่าแรงงานยังไม่ได้จ่าย 16,000 บาท
6. ค่าใช้จ่ายการผลิต อื่นๆ 22000 บาท
7. เบิกวัตถุดิบ 900 หน่วย
8. ค่าเสื่อมราคาอุปกรณ์โรงงาน 5000 บาท
รายการคงเหลือ ณ 30 กันยายน 2558 ดังนี้
วัตถุดิบ 200 หน่วย
งานระหว่างทำ 16600 บาท
สินค้าสำเร็จรูป 300 หน่วย


- คำนวณต้นทุนต่อหน่วยของวัตถุดิบคงเหลือปลายงวด (วัตถุดิบใช้วิธีคิดต้นทุนแบบถัวเฉลี่ย)
- บันทึกรายการค้า
- ปิดบัญชี
- คำนวณต้นทุนต่อหน่วยของสินค้าสำเร็จรูปที่ผลิตเสร็จ 1200 หน่าย (สินค้าสำเร็จรูปใช้วิธีคิดต้นทุนแบบ FIFO)
ข้อ 2 เรื่องงบพิสูจน์ยอดเงินฝากธนาคาร ให้ทำ
- งบพิสูจน์ยอดเงินฝากธนาคาร โดยใช้วิธีหายอดที่ถูกต้อง
- ปรับปรุงรายการ
- เงินฝากธนาคาร ณ สิ้นงวดควรแสดงในงบดุลเป็นเท่าไหร่

ข้อ 3 เรื่องการลงทุน (จำชื่อตามโจทย์ไม่ได้) A และ B มีทุนในห้างหุ้นส่วนรวม 1,200,000 สัดส่วนกำไรคือ 2:3 ต่อมา C นำเงินมาลงทุนให้ห้างเพิ่ม โดยมีส่วนแบ่งกำไร 1:4 ให้ทำ
- คำนวณทุนของแต่ละคน ถ้า C ลงทุน 500,000 (วิธีค่าความนิยม)
- คำนวณทุนของแต่ละคน ถ้า C ลงทุน 500,000 (วิธีเงินเพิ่มพิเศษ)
- คำนวณทุนของแต่ละคน ถ้า C ลงทุน 300,000 (วิธีค่าความนิยม)
- คำนวณทุนของแต่ละคน ถ้า C ลงทุน 300,000 (วิธีเงินเพิ่มพิเศษ)



สรุปนโยบายปรับลดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและSME

จากผลการประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2547  คณะรัฐมนตรีมีมติให้ปรับลดโครงสร้างภาษีดังนี้

1.     ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 
              -   ขยายฐานยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา  สำหรับเงินได้สุทธิ (เงินได้พึงประเมินหลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อน)  จากเดิม 80,000 บาท เป็น100,000 บาท โดยให้มีผลบังคับใช้ย้อนหลังไปตั้งแต่ 1 มกราคม 2547 มีผลทำให้ ผู้มีเงินได้ที่เป็นโสดและมีเงินได้ไม่เกินเดือนละประมาณ 16,000 บาท/เดือน ไม่ต้องเสียภาษี 

              -   เพิ่มค่าลดหย่อนให้บุตรที่อุปการะเลี้ยงดูบิดามารดา (ภาษีแก่ลูกกตัญญู) โดยสามารถหักลดหย่อนได้ทั้งพ่อแม่ตนเองและคู่สมรส คนละ 30,000 บาท รวมสูงสุดไม่เกิน 120,000 บาท โดยมีหลักเกณฑ์ที่สำคัญๆ อาทิ บิดามารดา ต้องมีอายุ 60 ปีขึ้นไป, มีเงินได้พึงประเมินไม่เกิน 30,000 บาท และอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของผู้มีเงินได้แต่ไม่จำเป็นต้องอาศัยอยู่กับลูกก็ได้

              -   ปรับปรุงหลักเกณฑ์การลงทุนในRMF (กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ) โดยผ่อนปรนให้บุคคลธรรมดาได้รับยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้หรือผลประโยชน์ใดๆ ที่ได้รับจากการขายคืนหน่วยลงทุนที่ถือมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี จากเดิมที่กำหนดให้ยกเว้นเฉพาะกรณีขายคืนหน่วยลงทุนเมื่อมีอายุ 55 ปีขึ้นไปเท่านั้น 

2.    ภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับธุรกิจ SME  
             ธุรกิจขนาดย่อม (SME) ที่มีทุนที่ชำระแล้วในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีไม่เกินห้าล้านบาท  ปรับลดอัตราภาษีเป็นดังนี้
              -   กำไรสุทธิ 1 ล้านบาทแรก  เสียภาษีในอัตราร้อยละ 15% (อัตราเดิม 20%)  
              -   กำไรส่วนที่เกิน 1 ล้าน - 3 ล้าน เสียภาษีร้อยละ 25 
              -   กำไรส่วนที่เกิน 3 ล้านขึ้นไป เสียร้อยละ 30 
         ทั้งนี้มีผลย้อนหลังคือ ใช้บังคับสำหรับกำไรสุทธิในรอบบัญชีเริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2547 เป็นต้นไป 

3.    ภาษีมูลค่าเพิ่ม  ขยายฐานภาษีผู้ประกอบการขนาดย่อม จากเดิมที่กำหนดให้ให้ผู้ที่มีรายได้มากกว่า 1.2 ล้าน ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ขยายฐานภาษีเป็น 1.8 ล้าน ทั้งนี้ให้มีผลตั้งแต่ เดือนเมษายน 2548 เป็นต้นไป 

4.    ยกเว้นภาษีในโครงงการปลูกป่าเฉลิมพระเกียรติฯ และแก่เอกชนที่ดำเนินการปลูกป่าเองเพื่อร่วมในโครงการดังกล่าว สำหรับค่าใช้จ่ายในการปลูกป่าตั้งแต่พ.ศ.2546-2550 เช่นเดียวกับการยกเว้นภาษ๊ที่กำหนดไว้ใน พรฎ.#317

5.    หักรายจ่ายได้ 2 เท่าแก่เงินสนับสนุนการศึกษาให้แก่สถานศึกษาของราชการ(ตามที่กระทรวงศึกษาฯ ให้ความเห็นชอบ ดูพรฎ.#420) ของจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกินร้อยละ 10 ของกำไรสุทธิ(นิติบุคคล) หรือของเงินได้ที่เหลือหลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนอื่นๆ(บุคคลธรรมดา) 

Disqus Shortname

Comments system