วันเสาร์ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2557

จดทะเบียนธุรกิจ

บริการจดทะเบียนธุรกิจ 

เริ่มต้นเพียง 2,900 บาท

จดเปิดบริษัท ห้างหุ้นส่วน
ค่าธรรมเนียมตามจริง
ที่นี่ที่เดียว ของแถมจัดเต็ม และเคล็ดลับ
การหาลูกค้าที่ไม่มีใครบอก


โทรปรึกษา ฟรี !!!
062.4593641
แอดไลน์  buacc

เพจ บริษัท บุศราคัมการบัญชี จำกัด


ของแถมจัดเต็ม
มูลค่ารวมกว่า 50,000 บาท
(หมดเขตสิ้นเดือนนี้เท่านั้น)


ของแถมที่ท่านจะได้รับทันที
ที่จดทะเบียนกับเรา
  • ฟรี! โปรแกรมบัญชี ออนไลน์ สำหรับใช้จัดทำเอกสารทางธุรกิจ 
  • ฟรี! ไฟล์ “หน้าที่ของผู้ประกอบการรายใหม่”
  • ฟรี! ที่ปรึกษาบัญชีและภาษีตลอดระยะเวลาดำเนินการ
  • ฟรี! วางระบบบัญชีพื้นฐานให้เหมาะสมกับกิจการของท่าน
  • ฟรี! ไฟล์เอกสารทางธุรกิจ สัญญาต่างๆที่จำเป็นต่อธุรกิจของท่าน
  • ฟรี! จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT)
  • ฟรี! ไฟล์รายงานการประชุมสำหรับเปิดบัญชีธนาคาร
  • ฟรี! โปรแกรมสำหรับออกแบบนามบัตร โบรชัวร์ ป้ายโฆษณา สื่อทางการตลาด
  • ฟรี! เทคนิคการหาลูกค้า
เราให้บริการจดทะเบียน
บริษัท ห้างหุ้นส่วน และจดทะเบียนธุรกิจทุกรูปแบบ
  • จดทะเบียนจัดตั้ง บริษัท, ห้างหุ้นส่วน
  • จดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมทะเบียนพาณิชย์
    ค่าบริการ เริ่มต้น 2,000 บาทต่อกรณี
    • แก้ไขเพิ่มเติมกรรมการและอำนาจกรรมการ 
    • แก้ไขเพิ่มเติมที่ตั้งของสำนักงาน
      (ย้ายที่ตั้งสำนักงาน)
    • แก้ไขเพิ่มเติมดวงตราสำคัญ
    • แก้ไขเพิ่มเติมวัตถุที่ประสงค์
    • แก้ไขเพิ่มเติมหนังสือบริคณห์สนธิ
    • แก้ไขเพิ่มเติมมติพิเศษให้เพิ่มทุน
    • แก้ไขเพิ่มเติม ลดทุน
    • แก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับ
  • จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
    (บุคคลธรรมดา, นิติบุคคล)
  • จดทะเบียนพาณิชย์ / ยกเลิกการจดทะเบียน
    (ร้านค้า, บุคคลธรรมดา)
  • ขึ้นทะเบียนประกันสังคม นายจ้าง / ลูกจ้าง
  • จัดทำแบบประกันสังคมประจำเดือน พร้อมนำส่ง
  • จดทะเบียนเลิกบริษัท, ห้างหุ้นส่วน
062.4593641
แอดไลน์  buacc

เพจ บริษัท บุศราคัมการบัญชี จำกัด


มั่นใจได้! กว่า 100 บริษัท
เลือกใช้บริการทำบัญชีและภาษีกับเรา
โดยผู้เชี่ยวชาญประสบการณ์มากกว่า10ปี
และเป็นที่ปรึกษาให้กับสำนักงานบัญชีหลายแห่ง
One Stop Services
มาที่เดียวจบทุกเรื่องบัญชีและภาษี
  • คุ้มเกินราคา : ทำบัญชีราคาถูก พร้อมปรึกษาธุรกิจที่เสมือนเป็นหุ้นส่วนที่จะคอยสนับสนุนธุรกิจท่านตลอดไป ประสบการณ์สูง : ด้วยทีมงานมืออาชีพ ประสบการณ์ตรงกว่า 10 ปี เคลียร์ได้ทุกประเด็น
  • ตรงเวลา : ด้วยคุณภาพและมาตรฐานเหมือนกันไม่ว่าท่านจะเป็นกิจการขนาดเล็ก กลาง หรือใหญ่ก็ตาม
  • มั่นใจได้ 100% : ผลงานดูแลลูกค้ากว่า 100 บริษัท ชัดเจนทุกคำพูด เราเป็นบริษัทชั้นนำด้านรับทำบัญชี ที่ได้รับความไว้วางใจจากองค์กรมากมาย ในหลากหลายธุรกิจ ทั้งองค์กรธุรกิจขนาดเล็ก กลาง (SMEs) และใหญ่ เช่น
  • รับทำบัญชี ธุรกิจออนไลน์ Facebook, Instagram, Shopee, Lazada
  • รับทำบัญชี ธุรกิจการผลิต
  • รับทำบัญชี ธุรกิจซื้อมาขายไป
  • รับทำบัญชี ธุรกิจให้บริการ
  • รับทำบัญชี ธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง
  • รับทำบัญชี ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์
  • รับทำบัญชี ธุรกิจหอพัก อพาร์ทเมนท์ โรงแรม
  • รับทำบัญชี ธุรกิจให้บริการด้าน ซอฟแวร์
  • รับทำบัญชี ธุรกิจนำเข้าส่งออก
  • รับทำบัญชี ธุรกิจขนส่ง
  • รับทำบัญชี ธุรกิจร้านทอง
  • รับทำบัญชี ธุรกิจคลินิกทัตกรรม
  • รับทำบัญชี ธุรกิจคลินิกศัลยกรรม
  • รับทำบัญชี ธุรกิจการฝากขายในห้างสรรพสินค้า
  • รับทำบัญชี ธุรกิจบริษัทที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI)
5 เหตุผลที่ผู้ประกอบการ
ไว้ใจใช้บริการกับเรา

  1. ฟรี! ให้คำปรึกษาการวางระบบบัญชีเพื่อควบคุมภายใน
  2. ฟรี! เทคนิคการประหยัดภาษีอย่างถูกต้อง
  3. ฟรี! เคลียร์ปัญหาด้านบัญชีและภาษี
  4. ฟรี! วางแผนป้องกันปัญหาบัญชีและภาษีในอนาคต ที่อาจเป็นสาเหตโดนกรมสรรพากรเรียกตรวจสอบ
  5. ฟรี! บริการที่ปรึกษาธุรกิจ (Consult) ที่คอยสนับสนุนธุรกิจของท่านให้ราบรื่น
แอดไลน์  buacc

เพจ บริษัท บุศราคัมการบัญชี จำกัด










วันพุธที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2557

ทำบัญชีอย่างไรให้สรรพากรยอมรับได้



1.ผู้ทำบัญชี จะต้องมีคุณสมบัติโดยเป็นผู้มีภูมิลำเนาในราชอาณาจักรไทย มีความรู้ภาษาไทย ไม่เคยต้องโทษจำคุก ในความผิดตามกฎหมายบัญชี/สอบบัญชี เว้นแต่พ้นโทษมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปีมีคุณวุฒิการศึกษา ไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการบัญชี / สอบบัญชีหรือเทียบเท่า เข้าอบรมพัฒนา วิชาชีพต่อเนื่อง อบรม 3 ปี 27 ชั่วโมง (เนื้อหาเกี่ยวกับบัญชีไม่น้อยกว่า 18 ชั่วโมง แต่ละปีต้องเข้ารับ การอบรมพัฒนาความรู้อย่างต่อเนื่องทางวิชาชีพไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง) และต้องแจ้งรายละเอียดการ อบรม ตามแบบ ส.บช.7 ต่ออธิบดีภายใน 60 วัน นับแต่วันสิ้นปีปฏิทินของทุกปี
2.ต้องมีระบบบัญชี ที่ดี มีเอกสารการรับเงินจ่ายเงิน สต็อกสินค้า ส่งสินค้าให้ครบถ้วนตา พระราช บัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจประมวล รัษฎากร เพื่อเตรียมตัวให้พร้อมอยู่ตลอดสำหรับการเข้าตรวจสอบของสรรพากร
3.ประเภทธุรกิจที่ แตกต่างกัน ก็จะมีรายละเอียดในการทำบัญชีแตกต่างกัน เช่น ธุรกิจบริการ ต้องไม่ลืมที่จะคำนวณ ภาษีหัก ณ ที่จ่ายทุกครั้งที่เกิดการให้บริการ หรือธุรกิจผลิตสินค้า ต้องตีความ ให้ถูกต้องว่าสินค้าใดผลิตเพื่อขาย สินค้าใดรับจ้างผลิต ซึ่งจะมีการลงบัญชีแตกต่างกัน สำหรับธุรกิจ นำเข้า-ส่งออก จะต้องตรวจสอบพิกัดสินค้าที่นำเข้า หรือส่งออก เพราะหากมีการลงพิกัดผิด ก็อาจจะถูก ปรับเสียค่าใช้จ่ายโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ธุรกิจลีสซิ่งและเช่าซื้อ ก็ต้องแยกแยะให้ชัดเจนว่าเป็นธุรกรรม ประเภทใด การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ หรือการให้เช่า ก็จะมีการลงบัญชีที่แตกต่างกัน
4.นักบัญชีที่ดี ต้องทำความเข้าใจกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการทางบัญชี เช่น พระราชบัญญัติ การบัญชี พ.ศ. 2543 มาตรฐานการบัญชี ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยการจัดการห้างหุ้นส่วน และบริษัท พระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน บริษัทจำกัด สมาคมและมูลนิธิ ประมาลรัษฎากร กฎหมาย และระเบียบที่เกี่ยวข้องอื่นๆ เช่น พ.ร.บ.โรงงาน พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้าและลิขสิทธิ์ พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ร.บ.สิ่งแวดล้อม ประกาศของกรมทะเบียนการค้า และกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เป็นต้น
5.หน้าที่ของผู้จัด ทำบัญชี นอกจากจะต้องจัดทำบัญชีให้ถูกต้องแล้ว กรณีปกติ ผู้จัดทำบัญชี จะต้องเก็บรักษาบัญชี และเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีไว้ไม่น้อยกว่า 5 ปี กรณีเลิกกิจการ ก็ต้องเก็บเอกสารจนกว่าจะส่งมอบให้สารวัตรบัญชีและสารวัตรบัญชีเก็บไว้อย่าง น้อยอีก 5 ปี (ส่งมอบภายใน 90 วันขยายได้ถึง 180 วัน) กรณีถูกตรวจสอบ อธิบดีมีอำนาจกำหนดให้เก็บเกิน 5 ปีแต่ไม่เกิน 7 ปี
6.การทำบัญชีให้ถูกต้อง ด้วยหลักการความรู้ทางบัญชี ภาษี และกฎหมาย รวมถึงการเก็บรักษาบัญชี ให้ครบถ้วน ช่วยลดปัญหาความยุ่งยากกับสรรพากร อีกทั้งยังเพิ่มประสิทธิภาพและความน่าเชื่อถือ ให้กับองค์กรอีกด้วยของทุกปี


ที่มา http://www.pwaaccount.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=539319673&Ntype=8

หลักในการวางระบบบัญชีที่ดี



1.อย่าทำการวางระบบบัญชี หรือปรับปรุงตามแฟชั่นหรือตามอย่างผู้อื่น โดยไม่มีความมุ่งมั่น และตั้งใจจริง เนื่องจากการวางระบบจะต้องมีความครบถ้วนถูกต้องของรายการที่เกิดขึ้น การกระทำการใดๆ ที่เป็นการหลีกเลี่ยงการบันทึกรายการบัญชีด้วยวัตถุประสงค์ใดๆ ก็ตามเป็นการเสี่ยงต่อความสูญเปล่าทั้ง ความพยายาม ความตั้งใจ เวลา และทรัพย์สินเงินทอง เนื่องจากจะได้ข้อมูลที่ไม่ตรงกับความเป็นจริงเพื่อใช้ในการบริหารงาน
2.การวางระบบบัญชีที่ดี นั้นจะต้องมีการสอดคล้องไปกับธรรมชาติของการทำงาน และการดำเนิน ธุรกิจที่เป็นจริง ระบบต่างๆ ที่มีการสร้างขึ้นมาจะต้องไม่เป็นการขัดขวางต่อการดำเนินงาน ไม่ทำให้เกิดการผิดพลาดได้อย่างง่ายดาย และผู้ใช้งานข้อมูล ผู้บริหาร หรือเจ้าของกิจการ ควรจะรู้ความต้องการของตนเองก่อนที่จะให้ผู้วางระบบบัญชีทำการวางระบบบัญชี เพื่อที่จะให้การวางระบบสามารถรองรับความต้องการของผู้บริหารหรือเจ้าของ กิจการได้
3.ระบบบัญชีที่มีการควบคุม ภายในอย่างดีเยี่ยมสามารถป้องกันการทุจริตอย่างได้ผลในทุกเรื่อง อาจไม่ใช่ระบบบัญชีที่ดีที่สุดเสมอไป แต่ระบบบัญชีที่ดีนั้นหมายถึง ระบบบัญชีที่มีความ สอดคล้องกับการทำงานและมีการควบคุมภายในที่เหมาะสมกับ สภาพการดำเนินธุรกิจ และขนาดของกิจการนั้นๆ รวมถึงจะต้องสอดคล้องต่อนโยบายในการดำเนินกิจการด้วย ดังนั้นระบบบัญชีที่เหมาะสมใช้งานได้ดีในกิจการแบบเดียวกันแห่งหนึ่ง อาจไม่สามารถใช้ได้ดี กับอีกแห่งหนึ่งก็ได้
4.ระบบบัญชีที่ดีจะต้องมี การเสนอรายงานตามระยะเวลาที่เหมาะสม การเสนอรายงานบางอย่าง ช้าเกินกว่าที่ควรจะเป็นแม้เพียงชั่วเวลาเดียว คุณค่าของรายงานอาจจะเหลือเท่ากับศูนย์ หรือรายงานที่มากเกินไปจะทำให้เกิดการสับสน และแบ่งแยกความสนใจในรายงานที่สำคัญไป
5.ควรเลิกเชื่อว่าระบบ บัญชีและการทำงานต่างๆ ควรจะกำหนดหรือวางรูปแบบ มาจากฝ่าย บัญชีหรือนักบัญชี หรือ หน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งเท่านั้น แต่การวางระบบบัญชีจำเป็นต้อง ใช้ศิลปและศาสตร์หลายแขนง ดังนั้น การวางระบบบัญชีที่ดีและเหมาะสมกับกิจการจะต้อง กิดจากการรวมตัวของแผนกต่างๆในบริษัท และนักบัญชีที่มีประสบการณ์ ทั้งบัญชีการเงิน บัญชีบริหาร บัญชีต้นทุน และบัญชีภาษีอากร
ผู้วางระบบบัญชีหรือฝ่าย บัญชีจะต้องเป็นผู้มีใจกว้าง ยอมรับคำแนะนำหรือ ข้อขัดแย้งจาก ผู้อื่นและจะต้องได้รับการยอมรับจากทุกๆ ฝ่ายโดยเฉพาะผู้บริหาร สามารถประสานงาน และอธิบายเหตุผลต่างๆได้อย่างชัดเจน กรณีที่ฝ่ายบัญชีไม่มีคุณสมบัติเพียงพอ อาจต้องพึ่งพา บุคคลภายนอกที่มีคุณสมบัติมาชดเชย


ที่มา http://www.pwaaccount.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=539319676&Ntype=8

สิทธิของผู้เสียภาษี


ผู้มีหน้าที่เสียภาษีมีสิทธิตามกฎหมายโดยสรุปดังนี้
2.1 การผ่อนชำระภาษี
       - ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตามแบบ ภ.ง.ด. 90 ภ.ง.ด. 91ที่มีจำนวนเกินกว่า 3,000 บาท สามารถแบ่งจ่ายงวดละเท่าๆกัน ไม่เกิน 3 งวด โดยไม่ต้องเสียเบี้ยปรับ เงินเพิ่ม
       - ภาษีอากรที่ค้างชำระ โดยยื่นคำร้องขอผ่อนภายใต้หลักเกณฑ์การผ่อนชำระของกรมสรรพากร

2.2 การยื่นอุทธรณ์คัดค้านการประเมินภาษี  (สำคัญมาก)
        กรณี ที่ผู้เสียภาษีถูกประเมินภาษีอากร หากไม่เห็นด้วยกับการประเมินของเจ้าพนักงานประเมิน ผู้เสียภาษีมีสิทธิ์ยื่นอุทธรณ์การประเมินเป็นหนังสือ (แบบ ภ.ส.6) ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ภายใน 30 วัน นับแต่วันได้รับหนังสือแจ้งการประเมิน และหากได้รับคำวินิจฉัยอุทธรณ์แล้วยังไม่เห็นด้วยก็มีสิทธิอุทธรณ์ต่อศาล ภาษีอากรได้ภายใน 30 วัน นับแต่วันได้รับคำวินิจฉัยอุทธรณ์จากคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ หากไม่ได้ใช้สิทธิอุทธรณ์ภายในกำหนดเวลา ผู้เสียภาษีไม่มีสิทธิอุทธรณ์ใดๆ และต้องชำระภาษี พร้อมทั้งเบี้ยปรับและเงินเพิ่มตามการประเมินให้ครบถ้วน
2.3 ขอทุเลาการชำระภาษีอากรโดยจัดให้มีหลักประกันการชำระหนี้ภาษีอากรค้าง
        การ ใช้สิทธิอุทธรณ์ไม่เป็นเหตุให้ทุเลาการเสียภาษีอากร ผู้เสียภาษีที่ได้รับหนังสือแจ้งการประเมินให้ชำระภาษี มีหน้าที่ต้องชำระภาษ๊ตามการประเมินนั้น ภายในกำหนดเวลาที่ได้แจ้งไว้ในหนังสือแจ้งการประเมิน อย่างไรก็ตาม หากต้องการรอคำวินิจฉัยอุทธรณ์ หรือคำพิพากษา ผู้เสียภาษีมีสิทธิยื่นคำร้องขอทุเลาการชำระภาษี โดยจัดให้มีหลักประกันการชำระหนี้ภาษีอากรด้วยหลักทรัพย์ต่างๆ ภายใต้หลักเกณฑ์ตามระเบียบของกรมสรรพากร
2.4 ของดหรือลดเบี้ยปรับและเงินเพิ่มภาษีอากร
       ผู้ เสียภาษีที่มีหน้าที่ยื่นแบบฯ และชำระภาษีอากรให้ครบถ้วนภายในกำหนดเวลาตามกฎหมาย หากมิได้ยื่นแบบฯ หรือชำระภาษีภายในกำหนดเวลา ต้องรับผิดเสียเบี้ยปรับและเงินเพิ่มตามกฎหมายนอกเหนือจากเงินภาษีที่ต้อง ชำระอีกด้วย อย่างไรก็ดี หากการกระทำความผิดมีเหตุอันควรผ่อนผัน ผู้เสียภาษีอาจมีคำร้องเป็นหนังสือของดหรือลดเบี้ยปรับและอาจได้รับการ พิจารณางดหรือลดเบี้ยปรับให้ได้ ตามหลักเกณฑ์ที่กรมสรรพากรกำหนดไว้ สำหรับเงินเพิ่มไม่มีกฎหมายใดให้อำนาจเจ้าพนักงานฯงดหรือลดให้ได้ เว้นแต่เป็นกรณีที่อธิบดีอนุมัติให้ขยายกำหนดเวลาชำระหรือนำส่งภาษี และได้มีการชำระหรือนำส่งภาษีภายในกำหนดเวลาที่ขยายแล้ว เงินเพิ่มจะลดลงมาเหลือเพียงกึ่งหนึ่ง
2.5 ขอคัดเอกสารหรือขอสำเนาเอกสาร
       ผู้ เสียภาษีมีสิทธิขอคัดเอกสารหรือขอสำเนาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการเสียภาษี ของตนเองได้ เช่น ขอคัดสำเนาแบบแสดงรายการภาษีของตนเอง หรือใบเสร็จรับเงินค่าภาษีแต่ละประเภทที่เป็นของตนเอง เป็นต้น   

ที่มา http://www.pwaaccount.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=539290904&Ntype=8

ข้อควรระมัดระวังในการเลือกผู้ตรวจสอบบัญชี


1. เลือกใช้บริการผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชี ที่มีการปฏิบัติงานตามวิชาชีพและรักษาจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพเป็นอย่างดี จะทำให้รู้ข้อผิดพลาดจากการทำบัญชีหรือการยื่นแบบชำระภาษีที่อาจถูกประเมิน ภาษีอากรได้ล่วงหน้า และแก้ไขได้ทันที ดูรายชื่อผู้สอบบัญชีรับอนุญาตได้ที่  www.dbd.go.th
2. ตรวจสอบข้อมูลรายชื่อและที่อยู่ของผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชี จากเว็บไซต์กรมสรรพากร www.rd.go.th หัวข้อ "ผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชี เลือกรายชื่อ ผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชี"  ควรใช้ผู้สอบบัญชีในพื้นที่จะได้รับประโยชน์, ทราบปัญหาได้รวดเร็วกว่า และแก้ไขข้อผิดพลาดได้ทันที
3. ในกรณีที่ผู้ประกอบการใช้บริการโดยผ่านสำนักงานบัญชี ท่านจะต้องเก็บหลักฐานหนังสือตอบรับงานการตรวจสอบและรับรองบัญชี ที่ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตหรือผู้สอบบัญชีภาษีอากร เป็นผู้จัดทำ และท่านลงนามเห็นชอบในข้อตกลงดังกล่าวด้วย
4. กรณียื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคล (ภงด.50) พร้อมงบการเงิน ท่านควรตรวจสอบรายการในส่วนของผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชี ในแบบแจ้งข้อความของกรรมการหรือผู้เป็นหุ้นส่วนหรือผู้จัดการ ว่าได้มีผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชี ลงลายมือชื่อและแสดงความเห็นไว้ในส่วนนี้แล้ว
5. เมื่อมีการชำระภาษีอากรใด ๆ ท่านควรเรียกใบเสร็จรับเงินค่าภาษีอากรที่ออกโดยกรมสรรพากรและสำเนาแบบแสดง รายการภาษี พร้อมทั้งงบการเงินจากสำนักงานบัญชีหรือผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชี  (ควรเรียกใบเสร็จรับเงินและหักภาษี ณ ทีจ่าย จากผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชีด้วย)
6. ติดตามข่าวสารและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับผู้ทำบัญชีและผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชี จากหน่วยงานกรมสรรพากร และกรมพัฒนาธุรกิจการค้า

ที่มา http://www.pwaaccount.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=539290903&Ntype=8

หน้าที่ของผู้ประกอบการรายใหม่



1. ยื่นแบบและชำระภาษีตามระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด ได้แก่
    1.1 การยื่นแบบ ภงด.1 สำหรับการจ่ายเงินเดือนและหักภาษี ณ ที่จ่ายแต่ละเดือนภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไป
    1.2 การยื่นแบบ ภงด.3 และ 53 สำหรับการจ่ายค่าใช้จ่ายเช่นค่าเช่า, ค่าขนส่ง, ค่าโฆษณา, ค่าจ้างทำของ, ค่าบริการฯ ที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย  ภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไป หากเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม จะต้องยื่นแบบ ภ.พ.30 ทุกเดือน ไม่ว่าจะมีภาษีชำระหรือไม่ หากไม่ยื่นแบบภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไปจะต้องเสียเบี้ยปรับและเงินเพิ่มด้วย
    1.3 การยื่นแบบ ภงด.50 สำหรับการเสียภาษีประจำปี ภายใน 150 วันนับจากวันสิ้นสุดรอบระยะเวลาบัญชีแต่ละปี
    1.4 การยื่นแบบ ภงด.51 สำหรับการเสียภาษีครึ่งปี (6 เดือน) ภายใน 2 เดือนนับจากวันสิ้นสุดรอบระยะเวลาบัญชีครึ่งปี
   


2. มีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีและจดทะเบียนตามกฎหมายกำหนด ได้แก่
    2.1 การขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษี ตามแบบ ลป.10 ภายใน 60 วันนับจากวันที่จดทะเบียนธุรกิจ (หรือยื่นแบบผ่านเว็บไซต์กรมสรรพากรก็ได้)
    2.2 การจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามแบบ ภพ.01 เมื่อเริ่มต้นประกอบกิจการ หรือ เมื่อรายได้ถึง 1.8 ล้านต่อปี ต้องจดทะเบียนภายใน 30 วัน (หรือยื่นแบบผ่านเว็บไซต์ของกรมสรรพากรก็ได้)


3. จัดทำเอกสารหลักฐานและบัญชีตาม พรบ.การบัญชี 2543 (บริษัทจำกัดและห้างหุ้นส่วนจำกัด ต้องมีผู้ทำบัญชีของกิจการ)

4. ให้ความร่วมมือกับเจ้าพนักงานเมื่อได้รับหนังสือเชิญพบ

5. ชำระภาษีอากรตามการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินภายในกำหนดเวลา

6. ปฏิบัติตามกฎหมายภาษีอากรให้ครบถ้วนและถูกต้อง

7. ไม่หลีกเลี่ยงภาษีอากรหรือไม่ปิดบังซ่อนเร้นข้อมูลทางบัญชีและภาษีอากร


ที่มา  http://www.pwaaccount.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=539290902&Ntype=8

5 คำถามยอดฮิตของผู้ทำบัญชี

5 คำถามยอดฮิตของผู้ทำบัญชี

งานบัญชี


ในบรรดาคำถามมากมายที่นักบัญชีมักจะถามเกี่ยวกับการเป็นผู้ทำบัญชีนั้น วันนี้เราได้รวบรวม 5 คำถามยอดฮิตของผู้ทำบัญชี มาฝากกัน
ซึ่งเป็นเรื่องที่ผู้ทำบัญชีไม่ควรพลาด ดังนี้

1. ผู้ทำบัญชี คือใคร?

ผู้ทำบัญชี คือผู้ได้รับมอบหมายจากผู้ประกอบการธุรกิจ ให้เป็นผู้รับผิดชอบในการทำบัญชีของกิจการแห่งหนึ่ง กฎหมายกำหนดให้กิจการหนึ่งแห่งจะต้องมีผู้ทำบัญชี 1 คน ซึ่งอาจเป็นผู้อำนวยการฝ่ายบัญชี สมุห์บัญชี หัวหน้าแผนกบัญชี หรือผู้รับจ้างทำบัญชีอิสระ ก็ได้ ทั้งนี้ผู้ทำบัญชีหนึ่งคนจะรับทำบัญชีได้ไม่เกินปีละ 100 แห่ง

2. ผู้ทำบัญชีต้องมีคุณสมบัติอย่างไร?

คุณสมบัติของผู้ทำบัญชีนั้นถูกกำหนดตามขนาดของธุรกิจ โดยผู้ทำบัญชีให้กับห้างหุ้นส่วนจำกัด หรือบริษัทจำกัด ที่มีทุนจดทะเบียนไม่เกิน 5 ล้านบาท ต้องมีวุฒิไม่ต่ำกว่าอนุปริญญา หรือ ปวส.ทางการบัญชี ส่วนผู้ทำบัญชีให้กับห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทที่มีขนาดใหญ่ ต้องมีคุณวุฒิปริญญาตรีทางการบัญชีขึ้นไป หรือเทียบเท่า

3. นักบัญชีทุกคนต้องขึ้นทะเบียนเป็นผู้ทำบัญชีหรือไม่?

นักบัญชีทุกคนไม่จำเป็นต้องขึ้นทะเบียนเป็นผู้ทำบัญชี เพราะการเป็นนักบัญชีทั่วไปไม่ถือว่าเป็นผู้ทำบัญชี เนื่องจากผู้ทำบัญชีจะต้องเป็นบุคคลที่ผู้ประกอบการหรือนิติบุคคลมอบหมายให้ เป็นผู้มีหน้าที่ทำบัญชีและมีหน้าที่รับผิดชอบในการลงนามใน สบช.3 โดยผู้ทำบัญชีทุกคนจะต้องแจ้งการเป็นผู้ทำบัญชีที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้าภาย ใน 60 วันนับตั้งแต่วันที่รับทำบัญชี

4. ชั่วโมงการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพบัญชี (CPD) นับอย่างไร?

ผู้ทำบัญชีจะต้องมีการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพ (CPD ย่อมาจาก Continuing Professional Development) เพื่อคงสถานะความรู้ทางวิชาชีพไว้ตลอดเวลา รวมทั้งเพิ่มพูมความรู้ใหม่ ๆ ที่เป็นประโยชน์ในการทำบัญชี ทั้งในปัจจุบัน และอนาคต
โดยจะต้องนับชั่วโมงให้ได้ไม่น้อยกว่า 27 ชั่วโมงในรอบ 3 ปี ทั้งนี้ใน 27 ชั่วโมงนั้น จะต้องมีเนื้อหาที่เกี่ยวกับการบัญชีไม่น้อยกว่า 18 ชั่วโมง และเรื่องอื่น ๆ อีก 9 ชั่วโมง โดยเฉลี่ยในรอบ 1 ปีจะต้องมีการพัฒนาความรู้ไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง นอกจากนี้การเป็นวิทยากรสามารถนับได้ 3 เท่าของชั่วโมงบรรยาย โดยไม่ให้นับซ้ำหัวข้อเดิมในทุกรอบ
3 ปี และการเป็นอาจารย์ในสถาบันการศึกษา นับได้วิชาละ 9 ชั่วโมงโดยไม่ให้นับซ้ำหัวข้อเดิมในทุกรอบ 3 ปี

5. การแจ้งการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพ (CPD) ต้องทำอย่างไร?

ผู้ทำบัญชีต้องแจ้งการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพ (CPD) กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าทางอินเทอร์เน็ตใน www.dbd.go.th ภายใน 60 วันหลังจากสิ้นสุดปีปฏิทิน ซึ่งได้แก่ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 1 มีนาคม ของปีถัดไปนั่นเอง
ทราบอย่างนี้แล้วผู้ทำบัญชีอย่าลืม ทำตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวข้างต้นให้ครบถ้วนนะคะ สำหรับผู้ที่เป็นนักบัญชีทั่วไป ก็ไม่ควรละเลยการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องเช่นกันค่ะ


ที่มา  http://th.jobsdb.com/TH/TH/V6HTML/Home/audit51.htm

วันอังคารที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2557

เมื่อรายรับเกิน 1,800,000 บาท ต่อปี




เมื่อเริ่มธุรกิจรายรับที่ได้มาก็ไม่มากผู้ประกอบการขนาดเล็กๆ จึงมักไม่ค่อยคิดถึงเรื่องภาษี แต่เมื่อธุรกิจเริ่มเจริญเติบโตเริ่มมีรายรับมากขึ้นมัวแต่ทำธุรกิจเพลินไป หลายคนไม่เคยนึกเอะใจว่าต้องเสียภาษีหรือไม่ หลายคนเอะใจว่าควรต้องเสียภาษีเพราะมีรายรับมากขึ้นโดยความรู้สึกพื้นๆ ก็น่าจะเป็นเช่นนั้น แต่จะเริ่มต้นอย่างไร บางทีก็นึกไม่ออกก็เลยไม่เสียเลย ซึ่งไม่ถูกต้อง เนื่องจากเมื่อมีรายรับก็มีภาระภาษีตาม ส่วนจะต้องเสียหรือไม่เสีย หรือได้รับยกเว้นแค่ไหนเพียงใด ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง จริงๆ แล้วภาษีสรรพากรที่เกี่ยวข้องกับรายรับที่ได้มาหลักๆ แล้ว ก็มีภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่มหรือภาษีธุรกิจเฉพาะแล้วแต่ว่าทำกิจการที่ต้องเสียภาษีใดสำหรับภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว ผู้ประกอบการก็ควรจะทราบว่าตนเองจะต้องเข้าสู่ระบบภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่ มีจุดที่สังเกตได้ดังนี้

1. เมื่อเริ่มต้นทำธุรกิจให้ครวจสอบดูว่า ทำธุรกิจประเภทใดเนื่องจากภาษีมูลค่าเพิ่มเก็บจากการขายสินค้าหรือการให้บริการ ซึ่งความหมายของคำที่เป็นจุดเริ่มต้นที่จะทำให้ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มมีความหมายดังนี้


คำว่า “สินค้า” หมายความว่า ทรัพย์สินที่มีรูปร่างหรือไม่มีรูปร่างซึ่งอาจมีราคาและถือเอาได้ไม่ว่าจะมีไว้เพื่อขาย เพื่อใช้ หรือเพื่อการใดๆ รวมทั้งสิ่งของทุกชนิดที่นำเข้า (มาตรา 77/1 (9) )

คำว่า ”ขาย” หมายความว่า การจำหน่าย จ่าย โอนสินค้าไม่ว่าจะได้รับประโยชน์หรือค่าตอบแทนหรือไม่ และให้หมายความรวมถึง...(มาตรา77/1(8) )

คำว่า ”บริการ” หมายความว่า การกระทำใดๆ อันอาจหาประโยชน์อันมีมูลค่าโดยมิใช่การขายสินค้า และให้หมายความรวมถึง... (มาตรา 77/1 (9) )

ดังนั้นผู้ประกอบการที่มีการขายสินค้า หรือให้บริการต้องทราบตนเองว่ากำลังประกอบกิจการที่อยู่ในกิจการที่อยู่ในกิจการที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม

ตัวอย่าง

นาย ก. เปิดร้านขายของชำ ในร้านมีการขายสินค้าจำพวก ยาสีฟัน สบู่ ขนมขบเคี้ยว ท็อฟฟี่ เครื่องใช้ในบ้าน ผงซักฟอก ไม้จิ้มฟัน ไม้ขีด ฯลฯ สินค้าทั้งหลายที่กล่าวมาล้วนแต่เป็น “สินค้า” ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม การขายสินค้าดังกล่าวจึงเป็นการประกอบกิจการที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม

นาย ข. เปิดร้านอาหาร มีโต๊ะให้แขกเข้ามารับประทานอาหาร มีคาราโอเกะ เกมออนไลน์ ฯลฯ นาย ข. ประกอบกิจการให้บริการซึ่งเป็นกิจการที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม

สรุป ผู้ประกอบการธุรกิจที่มีการขายสินค้า หรือให้บริการเพื่อหารายได้ ก็ล้วนแต่ประกอบกิจการที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกือบทั้งนั้น
2. เมื่อทราบแล้วว่าประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการตาม 1 แล้ว ก็ต้องตรวจสอบต่อไปว่า การขายสินค้าหรือให้บริการที่ประกอบการนั้น เป็นการขายสินค้าหรือให้บริการที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่ ถ้าได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มก็ไม่ต้องเอามาเข้าระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม กล่าวคือ ไม่ต้องมาเสียภาษีมูลค่าเพิ่มให้กรมสรรพาการ สำหรับการขายสินค้าหรือให้บริการที่ได้รับยกเว้นนั้น (และก็ไม่ต้องเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ)


การขายสินค้าหรือให้บริการที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มปรากฏรายละเอียดตามมาตรา 81 แห่งประมวลรัษฎกร ซึ่งสรุปแล้วมีดังนี้



  1. การขายพืชผลทางการเกษตร
  2. การขายสัตว์ ไม่ว่าจะมีชีวิตหรือไม่มีชีวิต และในกรณีสัตว์ไม่มีชีวิต ไม่ว่าจะเป็นเนื้อ ส่วนต่างๆ ของสัตว์ ไข่ น้ำนม
  3. การขายปุ๋ย
  4. การขายปลาป่น อาหารสัตว์
  5. การขายยาหรือเคมีภัณฑ์ที่ใช้สำหรับพืชหรือสัตว์
  6. การขายหนังสือพิมพ์ นิตยสาร หรือตำราเรียน
  7. การให้บริการการศึกษาของสถานศึกษา
  8. การให้บริการที่เป็นงานทางศิลปะและวัฒนธรรม
  9. การให้บริการการประกอบโรคศิลปะ การสอบบัญชี หรือการว่าความ
  10. การให้บริการวิจัย หรือการให้บริการทางวิชาการ (มีเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสสรพากรกำหนด)
  11. การให้บริการห้องสมุด พิพิธภัณฑ์ สวนสัตว์
  12. การให้บริการตามสัญญาจ้างแรงงาน
  13. การให้บริการจัดแข่งขันกีฬาสมัครเล่น
  14. การให้บริการของนักแสดงสาธารณะ (มีเงื่อนที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด)
  15. การให้บริการขนส่งในราชอาณาจักร
  16. การให้บริการขนส่งระหว่างประเทศ ซึ่งมิใช่เป็นการขนส่งโดยอากาศยาน หรือเรือเดินทะเล
  17. การให้บริการเช่าอสังหาริมทรัพย์
  18. การให้บริการของราชการส่วนท้องถิ่น
  19. การขายสินค้าหรือการให้บริการของกระทรวง ทบวง กรม ซึ่งส่งรายรับทั้งสิ้นให้แก่รัฐโดยไม่หักรายจ่าย
  20. การขายสินค้าหรือการให้บริการเพื่อประโยชน์แก่การศาสนา หรือการสาธารณกุศลภายในประเทศ ซึ่งไม่นำผลกำไรไปจ่ายในทางอื่น


การขายสินค้าหรือการให้บริการทั้ง 20 กรณีตามที่กล่าวข้างต้นได้รับยกว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยผู้ประกอบการที่ขายสินค้าหรือบริการไม่ต้องนำรายรับจากการขายสินค้าหรือให้บริการที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มมาเสียภาษีมูลค่าเพิ่มไม่ว่าจะมีรายรับเท่าใดก็ตาม

ตัวอย่าง


บริษัท ก. จำกัด ประกอบกิจการการขายสินค้า 5 ชนิดดังนี้

  1. ขายข้าวสารในประเทศ มีรายรับ 20 ล้านบาท/ปี
  2. ขายผลไม้สดส่งทั่วประเทศ มีรายรับ 5 ล้านบาท/ปี
  3. ขายเนื้อสัตว์ในประเทศ มีรายรับ 10 ล้านบาท/ปี
  4. ให้เช่าที่ดิน มีรายรับ 1 ล้านบาท/ปี
  5. เป็นร้านขายส่งเครื่องใช้สำนักงานต่างๆ มีรายรับ 1 ล้านบาท/ปี


จะเห็นได้ว่าการขายสินค้าและการให้บริการตาม 1 ถึง 4 ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 81 (1) แห่งประมวลรัษฎากร แม้จะมีรายรับรวมกันถึง 35 ล้านบาท/ปี บริษัท ก. จำกัด ก็ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับรายการทั้ง 4 รายการดังกล่าว ส่วนรายการตาม 5 เป็นการขายสินค้าที่ไม่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม จึงต้องนำมาเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (แต่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มเพราะมีรายรับไม่เกิน 1,800,000 บาท ต่อปี) ทั้งนี้ สำหรับการขายสินค้าที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามรายการ 1 – 5 ต้องเป็นการขายสินค้าในประเทศ ถ้าเป็นการส่งออกสินค้าดังกล่าวจะไม่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มแต่อย่างใด แต่จะได้รับสิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0

3. เมื่อปรากฏว่าผู้ประกอบการได้ขายสินค้าหรือให้บริการ ให้นำเฉพาะการขายสินค้าหรือการให้บริการที่ไม่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (อาจจะมีการขายสินค้าหรือให้บริการที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตาม 2. ด้วย แต่เวลาที่นำมาพิจารณาว่าต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่ก็ไม่ต้องนำส่วนที่ยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มมาร่วมพิจารณา) มาดูผลประกอบการว่ามีการขายสินค้าหรือให้บริการดังกล่าวเกิน 1,800,000 บาทต่อปี หรือไม่ ถ้าไม่เกิน 1,8000,000 บาทต่อปี ถือว่าเป็นกิจการขนาดย่อม และจะได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 81/1 แห่งประมวลรัษฎกรและตามพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการกำหนดมูลค่าของฐานภาษีของกิจการขนาดย่อมที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 432) พ.ศ. 2548

ตัวอย่าง
บริษัท ข. จำกัด เพิ่งเริ่มจดทะเบียนตั้งบริษัท ในปี 2553 มีรายรับจากการประกอบกิจการขาย สินค้าในปี 2553 ดังนี้


  1. ขายเครื่องจักรผลิตสินค้า 500,000 บาท
  2. ขายข้าวโพดให้แก่ผู้ส่งออก 1,000,000 บาท
  3. ขายปุ๋ย 2,000,000 บาท
  4. ให้เช่าอาคาร 1,000,000 บาท
  5. ขายสินค้าอุปโภคบริโภค เช่น สบู่ ยาสีฟัน ยาสระผม ฯลฯ 500,000 บาท
  6. ขายเสื้อผ้าค้าส่ง 500,000 บาท


จะเห็นได้ว่าบริษัท ข. จำกัด มีรายรับทั้งสิ้น 5,5000,000 บาท แต่สำหรับสินค้าและการให้บริการที่ได้รับ ยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มรายการที่ 2), 3) และ 4) มีรายรับทั้งสิ้น 4,000,000 บาท ส่วนสินค้าที่ไม่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มคือรายการที่ 1), 5) และ 6) รวมรายรับทั้งสิ้น 1,500,000 บาท ดังนั้น การขายสินค้าสำหรับรายการที่ 1, 5 และ 6 จึงได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม เนื่องจากมีรายรับรวมไม่เกิน 1,800,000 บาทต่อปี จึงได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม

4. สำหรับกรณีที่ผู้ประกอบการรายใดมีรายรับจากการขายสินค้าหรือให้บริการ (ที่ไม่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม) มีมูลค่าของรายรับรวมกันเกิน 1,800,000 บาทต่อปี การขายสินค้าหรือให้บริการดังกล่าวจะไม่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มอีกต่อ ไปนับตั้งแต่มีรายรับส่วนที่เกิน 1,800,000 บาทต่อปี
ปัญหาก็คือว่า การมีรายรับเกิน 1,800,000 บาทต่อปี โดยข้อเท็จจริงแล้วรายรับส่วนที่เกิน 1,800,000 บาทต่อปี ย่อมเกิดขึ้นในระหว่างปีแน่นอน เมื่อเป็นเช่นนี้แล้วการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มจะเสียอย่างไร กล่าวคือ


  1. เสียจากรายรับส่วนที่เกิน 1,800,000 บาท
  2. เสียจากรายรับตั้งแต่ 1 บาทแรกที่เกิดจากการขายสินค้าหรือให้บริการในปีนั้


ในเรื่องดังกล่าว กรมสรรพากรได้มีแนวทางในการจัดเก็บภาษีว่ารายรับส่วนที่ไม่เกิน 1,800,000 บาท
ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมาย จึงต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มส่วนที่เกิน 1,800,000 บาท ตามหนังสือที่ กค 0702/พ/934 ลงวันที่ 21 มีนาคม 2551
 
5. สำหรับการนับจำนวนมูลค่าของรายรับจากการขายสินค้าหรือให้บริการที่ไม่ได้รับ ยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มว่าเกิน 1,800,000 บาทต่อปี นั้นให้นับสำหรับรายรับที่เกิดขึ้นในแต่ละปี (กรณีเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลให้นับเป็นแต่ละรอบระยะเวลาบัญชี) ถ้ามีรายรับไม่ถึงเกณฑ์ดังกล่าวในปีใดก็ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าพิ่ม ส่วนปีต่อไปก็เริ่มนับใหม่ กล่าวคือให้นับเป็นปีๆ ไป

ที่มา : เอกสารภาษีอากร ประจำเดือน ตุลาคม 2555

อาชีพอิสระนักบัญชี

อาชีพอิสระนักบัญชี    

โดย ณรงค์วิทย์ แสนทอง    



“นักบัญชี” ถือเป็นอาชีพหนึ่ง ที่ต้องอาศัยความรู้ความสามารถเฉพาะทาง และร่ำเรียนมาโดยตรง ทำงานในสายงานบัญชี จนมีประสบการณ์มากพอสมควร ผ่านความรับผิดชอบเป็นสมุห์บัญชี หรือผู้จัดการฝ่ายบัญชีมาก่อน   จึงจะได้รับการยอมรับให้เป็น “นักบัญชี”



“ผู้ทำบัญชี” เป็นวิชาชีพ  ที่ปัจจุบันมีการตรากฎหมายออกมาเพื่อคุ้มครองอาชีพนี้โดยเฉพาะ  คือ พระราชบัญญัติ การบัญชี พ.ศ.๒๕๔๓   “ผู้ทำบัญชี” ที่มีคุณสมบัติตามกฎหมาย แต่อาจไม่ใช่ “นักบัญชี” หากว่าผู้นั้นยังขาดประสบการณ์ในหน้าที่งานบัญชี   และเช่นกัน “นักบัญชี” ผู้มีความสารมาถและประสบการณ์ ไม่อาจจะเป็น “ผู้ทำบัญชี” ได้หากว่าขาดคุณสมบัติวุฒิการศึกษาตามที่กฎหมายกำหนด





เมื่อกล่าวถึง “ผู้ทำบัญชี” ก็ต้องกล่าวถึง “ผู้สอบบัญชี” ซึ่งเป็นวิชาชีพอิสระอีกอาชีพหนึ่ง ที่ต้องอาศัยซึ่งกันและกัน ดังกฏที่ว่า งบการเงินของกิจการหนึ่ง ๆ ผู้ทำบัญชี และผู้ตรวจสอบบัญชีต้องมิใช่คนเดียวกัน หรือเรียกว่า คนทำไม่ตรวจ คนตรวจก็ไม่ทำบัญชี   คล้ายกับอาชีพหมอ ที่ว่า แพทย์เป็นผู้ตรวจแล้วสั่งยา แต่ไม่หยิบยาเอง ส่วนเภสัชกรมีหน้าที่หยิบยา แต่ไม่มีหน้าที่สั่งยาให้คนไข้  หรือยกอีกตัวอย่างหนึ่ง คืออาชีพวิศวกร กับสถาปัตยกรรม ทั้งสองอาชีพทำหน้าที่คู่ขนานกัน



สำหรับนักบัญชี อย่างน้อย ๆ จะต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ  1 ใบ     เพื่อขึ้นทะเบียนเป็น :





ผู้ทำบัญชี

ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต (CPA)

ผู้สอบภาษีอากร (Tax Auditor)

อาชีพและธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับนักบัญชี

1.รับทำบัญชี

2.รับตรวจสอบบัญชี

3.รับวางระบบบัญชี

4.รับเขียนโปรแกรมบัญชี

5.ที่ปรึกษาภาษีอากร

6.เป็นวิทยากร / ผู้สอน วิชาบัญชี – ภาษีอากร

7.สถาบันอบรมบัญชี-ภาษีอากร

8.ผลิต/จำหน่ายโปรแกรมบัญชีสำเร็จรูป



ลำดับที่ 1 – 6 จะทำเป็นอาชีพอิสระด้วยตัวเองคนเดียวก็ได้



ณ ที่นี้จะขอกล่าวถึงอาชีพการรับทำบัญชี  เพราะเป็นงานอิสระที่นักบัญชีส่วนใหญ่เริ่มต้นด้วยการรับทำบัญชี



รูปแบบของธุรกิจรับทำบัญชีนี้ เป็นอย่างไร ?

ท่านสามารถเลือกแบบธุรกิจ ซึ่งแบ่งตามขนาดที่ท่านต้องการ





1.One Man Show

นักบัญชีกลุ่มนี้มีจำนวนมาก  บางรายรับทำบัญชี  บางรายสอนงาน วางระบบ ที่ปรึกษา  ตอนเริ่มต้นอาจทำด้วยตัวคนเดียว แล้วค่อย ๆ หาผู้ช่วยเพิ่มขึ้นตามปริมาณงาน   แต่บางรายต้องการอิสระในการทำงาน ไม่ต้องอาศัยผู้ช่วยหรือทีมงาน   ข้อดีคือควบคุมคุณภาพได้ที่เราอยากให้เป็น  ข้อเสียคือถ้ารับงานมากเกินไปจะทำให้เครียดได้

หากเป็นประเภทรับทำบัญชีส่วนใหญ่เกิดจากในอดีตระหว่างทำงานประจำ  รับจ๊อบทำบัญชีให้กับกิจการอื่นเป็นอาชีพเสริม พอมีมากขึ้น ๆ ก็ลาออกเปลี่ยนเอาจ๊อบบัญชีเป็นอาชีพหลัก  ที่พบเห็นอีกกลุ่มที่ไม่น้อยเลยเป็นแม่บ้านมีภาระงานในบ้านพอสมควร  ไม่อยากออกไปทำงานนอกบ้านจึงรับงานบัญชีมาทำที่บ้าน





2.Teamwork

อาจเริ่มต้นจากตัวคนเดียว แล้วหาผู้ช่วย(พนักงานบัญชี) เพิ่ม รวม ๆ ไม่เกิน 10 คน หรือเริ่มต้นจากการชวนเพื่อน 1-2 คน มาทำร่วมเป็นหุ้นส่วนกัน

บางทีได้งานรับวางระบบบัญชี ก็ต้องมีทีมงานที่สามารถเรียกมาช่วยกันได้โดยทันที





3.Firm

เมื่อกิจการมีทีมงานมากกว่า 5 คน เจ้าของกิจการจะขยายให้โตขึ้น มีพนักงาน 10 หรือ 20 คน แล้วแต่โอกาสและความต้องการ กิจการขนาดนี้ มี 3 แบบ คือ  สำนักงานรับทำบัญชีอย่างเดียว  สำนักงานรับตรวจสอบบัญชีอย่างเดียว  และสำนักงานที่มีทั้งแผนกทำบัญชีและแผนกตรวจสอบบัญชีอยู่ในองค์กรเดียวกัน  และอาจจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล บริษัทจำกัด



ด้านรายได้

ขึ้นอยุ่กับความสามารถในการหางาน และทำงาน  ปัจจุบันองค์กรธุรกิจที่เป็นนิติบุคคล ได้แก่ ห้างหุ้นส่วนจำกัด  บริษัทจำกัด ประมาณ 475,000 ราย หากเราจะขอแบ่งมาทำสัก 10-20 ราย ไม่น่าจะยากเกินกำลัง โดยเฉพาะผู้ที่มีวงพื่อนฝูงและญาติกว้างขวาง





รายได้มากน้อย จะขึ้นอยู่กับขนาดของกิจการที่เราดูแล หากเป็นรายใหญ่จะมีค่าบริการค่อนข้างสูง  ดังนั้นจึงควรมีลูกค้าขนาดใหญ่ไว้บ้าง





อาชีพนี้จะมีรายได้สม่ำเสมอ หากรู้จักเก็บจะเป็นอาชีพที่มั่นคง  แต่ถ้าอยากจะรวยกับอาชีพนี้ ไม่ทราบจะบอกอย่างไรเพราะคำว่า “รวย” ของแต่ละคนพอใจจะรวยไม่เท่ากัน



ต้องเตรียมตัวอย่างไร ?

มีข้อควรคิดถึงคุณสมบัติส่วนตัว และการเตรียมความพร้อม ดังนี้



ความรู้ความสามารถ ประสบการณ์ที่ผ่านมาคิดว่ามั่นใจเต็มที่แล้วหรือยัง เชื่อมั่นในตัวเองมากแค่ไหน โดยปรึกษาขอความเห็นจากเพื่อนนักบัญชีด้วยกัน หรืออดีตหัวหน้าฝ่ายบัญชีที่เราเคารพศรัทธา

เตรียมเผชิญกับสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง  จากเดิมที่เคยออกจากบ้านไปที่ทำงานทุกวัน แต่กลับต้องอยู่กับบ้าน   เคยมีผู้ร่วมงานคอยเป็นเพื่อนคุย ต่อไปนี้เราจะค่อนข้างเหงา ต้องใช้เวลาในการปรับสภาพความเป็นอยู่ระยะหนึ่ง

ไม่หยุดการเรียนรู้ ต้องศึกษาหาความรู้เพิ่มเคิมตลอดเวลา และไม่ลืมที่จะต้องเข้าอบรมวิชาบัญชี-ภาษี ให้ครบ 27 ชั่วโมงทุก ๆ 3 ปี ตามที่สภาวิชาชีพการบัญชีกำหนด

มีที่ปรึกษาส่วนตัว หรือแหล่งที่จะขอคำปรึกษาได้ เพราะไม่มีใครที่พร้อม 100% วิชาการค้นหาได้จากหนังสือ แต่ภาคปฎิบัติต้องอาศัยปรึกษาจากผู้ที่มีประสบการณ์

เวลางาน กับเวลาส่วนตัว ต้องจัดแบ่งให้ลงตัวอย่างเหมาะสม  หากแบ่งเวลาให้กับงานน้อยไป หรือผลัดวันประกันพรุ่งจะทำให้งานค้างจำนวนมาก เป็นผลเสียในด้านการให้บริการ

จัดหาอุปกรณ์เครื่องใช้ให้พอเพียง  อย่างน้อยต้องมีอุปกรณ์สำนักงานครบ และที่ขาดไม่ได้คือ โปรแกรมบัญชีสำเร็จรูป ที่มีประสิทธิภาพ



ปัจจัยที่จะทำให้เกิดความล้มเหลวในอาชีพนี้





1.รับงานที่มีความเสี่ยงสูง

บางคนรับงานทำบัญชีทุกราย โดยไม่เลือกว่ากิจการใดประกอบธุรกิจอย่างซื่อสัตย์หรือไม่  ช่วยเหลือลูกค้าเลี่ยงภาษีอากร  บันทึกตัวเลขบัญชีโดยไม่มีเอกสารหลักฐานที่ถูกต้อง  ให้การช่วยเหลือลูกค้าจนเกินเหตุ  ขาดจรรยาบรรณ ท่านอาจเป็นคนกลุ่มแรกที่จะถูกเพิกถอนใบอนุญาต หรือถูกดำเนินคดีได้





2. ยักยอกเงินภาษี

บางรายให้บริการยื่นชำระภาษีแทนลูกค้า โดยรับเงินสดจากลูกค้าเพื่อไปยื่นแบบชำระภาษีให้สรรพากร แรก ๆ ก็ทำเป็นปกติ ต่อมาการเงินส่วนตัวมีปัญหา นำเงินภาษีที่รับมาจากลูกค้าไปหมุน แล้วนำส่งภาษีไม่ทันอีก เกิดการค้างมากขึ้น ๆ บางรายทำอย่างนี้กับลูกค้าทุกรายที่มี ได้เงินไปหลายแสน บางรายได้ไปนับล้าน จนต้องหนีหายตัวไป  ผลเสียกตกกับลูกค้าที่ค้างส่งภาษี  ทำให้เสียสถาบันวิชาชีพอย่างร้ายแรง





3.บริการแย่ลง

บางรายมีลูกค้าติดต่อมาว่าจ้างมากขึ้น ๆ  ปริมาณงานที่รับมากเกินกว่าที่จะทำได้ทัน ไม่รีบเร่งแก้ปัญหา รับปากกับลูกค่าว่าจะเสร็จแล้ว ผลัดวันประกันพรุ่ง มีข้อผิดพลาดบ่อย ลืมนัด เลื่อนนัดเป็นประจำ  ทำให้ลูกค้าต้องตีจากให้คนอื่นมาทำแทน





4. ขาดการเอาใจใส่

ขาดการดูแลเอาใจใส่ลูกค้า ปีหนึ่งลูกค้าได้เห็นหน้าเพียงครั้งเดียว หรือไม่ได้ไปพบลูกค้าเลยเป็นปี ๆ  และบางรายปล่อยให้ลูกจ้างทำงาน โดยไม่ได้ติดตามผลงาน   ถ้าลูกจ้างบริการไม่ดีผลเสียจะตกกับเรา บางรายมีลูกจ้างให้บริการดีเราก็ดีด้วย  แต่บางทีลูกจ้างที่ดีลาออกไป ไม่ออกเปล่าแถมดึงลูกค้าเราติดไปด้วยอย่างนี้ก็มีเยอะ





5. ขาดการพัฒนาตนเอง

ไม่มีการติดตามข่าวสารภาษีอากร กฎหมาย กฎกระทรวง ที่ออกมาใหม่ เพื่อนำมาประกอบการใช้งาน จนทำให้การทำงานมีข้อผิดพลาด  การศึกษาทางธุรกิจด้านอื่น ๆ ก็ต้องมีความรู้พอเท่าทันลูกค้าบ้างเหมือนกัน





ความภูมิใจในอาชีพนักบัญชี





1.เป็นอาชีพที่มีเกียรติ

ทั้งนี้ผู้ประกอบวิชาชีพต้องปฎิบัติตน ทำหน้าที่อย่างซื่อสัตย์ มีระเบียบวินัย และธำรงไว้ซึ่งจรรยาบรรณในวิชาชีพ  ท่านจะได้รับเกียรติและการยอมรับจากลูกค้าและบุคคลทั่วไป





2. สร้างคุณประโยชน์ให้กับประเทศชาติ

ถือว่ามีส่วนร่วมในสังคม เป็นกลไกหนึ่งในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ สร้างความยุติธรรม ความโปร่งใส ธรรมาภิบาล อันทำให้สังคมอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติ





3. ความมีเอกภาพ

นักบัญชีที่ดีต้องมีเอกภาพ มีอิสระที่จะปฎิบัติหน้าที่อย่างถูกต้องตรงไปตรงมา  ฝ่ายผู้ประกอบการต้องการเสียภาษีน้อย แต่ฝ่ายเจ้าหน้าที่สรรพากรต้องการเก็บภาษีให้ได้มาก ๆ  เรานักบัญชีเป็นผู้อยู่ตรงกลาง ทำอย่างไรจึงจะให้ได้รับความพอใจทั้งสองฝ่าย และอยู่บนเงื่อนไขความ

ถูกต้องด้วย

สิทธิของผู้เสียภาษี

สิทธิของผู้เสียภาษี

 

 

ผู้มีหน้าที่เสียภาษีมีสิทธิตามกฎหมายโดยสรุปดังนี้
2.1 การผ่อนชำระภาษี
- ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตามแบบ ภ.ง.ด. 90 ภ.ง.ด. 91ที่มีจำนวนเกินกว่า 3,000 บาท สามารถแบ่งจ่ายงวดละเท่าๆกัน ไม่เกิน 3 งวด โดยไม่ต้องเสียเบี้ยปรับ เงินเพิ่ม
- ภาษีอากรที่ค้างชำระ โดยยื่นคำร้องขอผ่อนภายใต้หลักเกณฑ์การผ่อนชำระของกรมสรรพากร
2.2 การยื่นอุทธรณ์คัดค้านการประเมินภาษี  (สำคัญมาก)
กรณีที่ผู้เสียภาษีถูกประเมินภาษีอากร หากไม่เห็นด้วยกับการประเมินของเจ้าพนักงานประเมิน ผู้เสียภาษีมีสิทธิ์ยื่นอุทธรณ์การประเมินเป็นหนังสือ (แบบ ภ.ส.6) ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ภายใน 30 วัน นับแต่วันได้รับหนังสือแจ้งการประเมิน และหากได้รับคำวินิจฉัยอุทธรณ์แล้วยังไม่เห็นด้วยก็มีสิทธิอุทธรณ์ต่อศาลภาษีอากรได้ภายใน 30 วัน นับแต่วันได้รับคำวินิจฉัยอุทธรณ์จากคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ หากไม่ได้ใช้สิทธิอุทธรณ์ภายในกำหนดเวลา ผู้เสียภาษีไม่มีสิทธิอุทธรณ์ใดๆ และต้องชำระภาษี พร้อมทั้งเบี้ยปรับและเงินเพิ่มตามการประเมินให้ครบถ้วน
2.3 ขอทุเลาการชำระภาษีอากรโดยจัดให้มีหลักประกันการชำระหนี้ภาษีอากรค้าง
การใช้สิทธิอุทธรณ์ไม่เป็นเหตุให้ทุเลาการเสียภาษีอากร ผู้เสียภาษีที่ได้รับหนังสือแจ้งการประเมินให้ชำระภาษี มีหน้าที่ต้องชำระภาษ๊ตามการประเมินนั้น ภายในกำหนดเวลาที่ได้แจ้งไว้ในหนังสือแจ้งการประเมิน อย่างไรก็ตาม หากต้องการรอคำวินิจฉัยอุทธรณ์ หรือคำพิพากษา ผู้เสียภาษีมีสิทธิยื่นคำร้องขอทุเลาการชำระภาษี โดยจัดให้มีหลักประกันการชำระหนี้ภาษีอากรด้วยหลักทรัพย์ต่างๆ ภายใต้หลักเกณฑ์ตามระเบียบของกรมสรรพากร
2.4 ของดหรือลดเบี้ยปรับและเงินเพิ่มภาษีอากร
ผู้เสียภาษีที่มีหน้าที่ยื่นแบบฯ และชำระภาษีอากรให้ครบถ้วนภายในกำหนดเวลาตามกฎหมาย หากมิได้ยื่นแบบฯ หรือชำระภาษีภายในกำหนดเวลา ต้องรับผิดเสียเบี้ยปรับและเงินเพิ่มตามกฎหมายนอกเหนือจากเงินภาษีที่ต้องชำระอีกด้วย อย่างไรก็ดี หากการกระทำความผิดมีเหตุอันควรผ่อนผัน ผู้เสียภาษีอาจมีคำร้องเป็นหนังสือของดหรือลดเบี้ยปรับและอาจได้รับการพิจารณางดหรือลดเบี้ยปรับให้ได้ ตามหลักเกณฑ์ที่กรมสรรพากรกำหนดไว้ สำหรับเงินเพิ่มไม่มีกฎหมายใดให้อำนาจเจ้าพนักงานฯงดหรือลดให้ได้ เว้นแต่เป็นกรณีที่อธิบดีอนุมัติให้ขยายกำหนดเวลาชำระหรือนำส่งภาษี และได้มีการชำระหรือนำส่งภาษีภายในกำหนดเวลาที่ขยายแล้ว เงินเพิ่มจะลดลงมาเหลือเพียงกึ่งหนึ่ง
2.5 ขอคัดเอกสารหรือขอสำเนาเอกสาร
ผู้เสียภาษีมีสิทธิขอคัดเอกสารหรือขอสำเนาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการเสียภาษีของตนเองได้ เช่น ขอคัดสำเนาแบบแสดงรายการภาษีของตนเอง หรือใบเสร็จรับเงินค่าภาษีแต่ละประเภทที่เป็นของตนเอง เป็นต้น

วางแผนบัญชี ภาษี


1. ส่วนงานการเงิน มี หน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับ การวางแผนกลยุทธ์ การบริหารความเสี่ยง และการควบคุมภายในของส่วนงาน งานรับเงิน งานจ่ายเงิน และตรวจสอบเอกสารตามข้อบังคับว่าด้วยการรับจ่าย และเก็บรักษาเงิน ตลอดจนการบริหารเพื่อการลงทุนใน ตราสารทางการเงิน การจัด ให้มีระบบควบคุมภายในและการบริหารความเสี่ยงทางการเงิน ส่วนงานการเงิน  แบ่งออกเป็น 3 งาน ดังนี้

1.1  งานรับเงิน มีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับ
  • การวางแผนกลยุทธ์ การบริหารความเสี่ยง และการควบคุมภายในของงาน
  • รับชำระเงิน  และติดตามหลักฐานเอกสารที่เกี่ยวข้องจากหน่วยงานต่าง ๆ
  • เก็บรักษาเงินสด ตั๋วเงิน ตราสารทางการเงิน ต้นฉบับสัญญาต่างๆ และเอกสารทางการเงิน
  • ออกหลักฐานการรับเงิน และบันทึกบัญชี
  • จัดทำรายงานการรับเงินประจำวัน และประจำเดือน
  • ลงทะเบียนควบคุมเงินยืมทดรองจ่าย
  • ลงทะเบียนควบคุมเงินรับฝากเพื่อเป็นข้อมูลให้งานตรวจจ่าย และงานบัญชีตรวจสอบก่อนคืนเงินรับฝาก
  • จัดทำประมาณการเงินสด
  • ประเมินผลการรับ และใช้จ่ายเงินของหน่วยงานตามประมาณการเงินสด
  • บริหารการเงิน เพื่อลงทุนในตราสารทางการเงิน
  • จัดทำใบโอน เพื่อปรับปรุงบัญชีเงินฝากธนาคารให้ถูกต้อง
  • ปฏิบัติงานสารบรรณ การเบิกจ่ายพัสดุ ควบคุมงบประมาณของส่วนงานการเงิน
  • ปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมาย
      1.2 งานจ่ายเงิน มีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับ
  • การวางแผนกลยุทธ์ การบริหารความเสี่ยง และการควบคุมภายในของงาน
  • จ่ายเงินให้ถูก ต้องตามกฎหมาย ข้อบังคับ ระเบียบ ข้อผูกพัน และ นิติกรรมสัญญาต่างๆ ซึ่ง ผ่านการตรวจสอบถูกต้องแล้วภายในกำหนด และภายในรอบระยะเวลาบัญชี
  • ลงบันทึกรายการจ่ายเงิน จัดทำรายงานการรับ – จ่ายเงินประจำวัน
  • ควบคุมการเบิก – ถอน เงินสด เงินฝากธนาคาร และเช็ค
  • จัดทำรายงานเงินสดและเงินฝากธนาคารคงเหลือประจำวัน
  • กำหนดรหัสบัญชีเงินฝากธนาคาร
  • จัดทำใบโอนเพื่อปรับปรุงบัญชีเงินฝากธนาคารให้ถูกต้อง
  • ออกหนังสือรับรองภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย
  • จัดทำรายงานภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย
  • นำส่งภาษีทุกประเภทให้กรมสรรพากร
  • เปิด – ปิดบัญชี  และโอนเงินบัญชีเงินทุนหมุนเวียนหน่วยงานในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค
  • ติดตามให้มีผู้มารับเงิน
  • ปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมาย
     1.3  งานตรวจจ่าย  มีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับ
  • การวางแผนกลยุทธ์  การบริหารความเสี่ยง และการควบคุมภายในของงาน
  • ตรวจเอกสารการ เบิก – จ่ายเงินให้ถูกต้องตามกฎหมาย  ข้อบังคับ  ระเบียบ  ข้อผูกพัน และนิติกรรมสัญญาต่าง ๆ  ซึ่งเจ้าของงานได้ตรวจสอบรับรองความถูกต้องแล้ว
  • ตรวจเอกสารการเบิก – จ่ายเงินบัญชีองค์การคลังสินค้า  และโครงการอื่น ๆ ให้ทันตามกำหนดช่วงระยะเวลาการปิดบัญชี
  • รายงานเอกสารค้างจ่าย ณ วันสิ้นปีงบประมาณ
  • บันทึกการจ่ายคืนบัญชีเงินรับฝากในทะเบียนควบคุมเงินรับฝาก
  • ตรวจเอกสารการนำส่งภาษีทุกประเภท  เพื่อนำส่งให้กรมสรรพากร
  • ตรวจเอกสารงบรับ – จ่าย บัญชีเงินทุนหมุนเวียนให้ถูกต้องพร้อมทั้งบันทึกรายการปรับปรุงบัญชี  ตามที่เจ้าของงานได้ตรวจสอบรับรองความถูกต้องตามหลักเกณฑ์ และวิธีปฏิบัติที่กำหนด
  • ปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมาย
2. ส่วนงานการบัญชี  มีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับ การวางแผนกลยุทธ์ การบริหารความเสี่ยง และการควบคุมภายในของส่วนงาน  งานจัดวางระบบบัญชี จัดทำงบการเงิน และวิเคราะห์งบการเงิน ควบคุมบัญชีสินค้าและบัญชีลูกหนี้ ตลอดจนจัดให้มีระบบการควบคุมภายใน และการบริหารความเสี่ยง ตามระเบียบว่าด้วยการบัญชีและการเงินของรัฐวิสาหกิจและหลักการบัญชีที่ รับรองทั่วไป ส่วนงานการบัญชี แบ่งออกเป็น  3 งาน ดังนี้
  
  2.1  งานบัญชี  มีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับ
  • การวางแผนกลยุทธ์ การบริหารความเสี่ยง และการควบคุมภายในของงาน
  • วางระบบและกำหนดรหัสบัญชีทุกประเภท ยกเว้น บัญชีที่เกี่ยวกับสินทรัพย์ถาวร ลูกหนี้และเงินฝากธนาคาร
  • จัดทำบัญชีแสดง ฐานะการเงินขององค์การคลังสินค้า และทุกงบการเงินที่องค์การคลังสินค้ารับผิดชอบ รวมทั้งงบการเงินกองทุนต่าง ๆ ตามกำหนดช่วงระยะเวลา รายเดือน รายไตรมาสและรายปี
  • ปรับปรุงบัญชีทุกรายการที่เกี่ยวข้องกับงบการเงิน ยกเว้นรายการที่เกี่ยวกับเงินฝากธนาคาร และบัญชีลูกหนี้
  • เก็บรักษาเอกสารสำคัญต่างๆ ทางบัญชี และทำลายเอกสารตามระเบียบปฏิบัติของทางราชการ
  • ประสานงานกับผู้สอบบัญชี สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน
  • วางระบบจัดทำบัญชีต้นทุนกิจกรรม และบัญชีต้นทุนของหน่วยงาน
  • วิเคราะห์งบการเงินทุกงวดที่มีการปิดบัญชี เพื่อเป็นข้อมูลในการตัดสินใจของผู้บริหาร
  • จัดทำรายงานผลการดำเนินงานเสนอคณะกรรมการองค์การคลังสินค้าทุกไตรมาส  และทุกปี  โดยประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  • จัดทำงบพิสูจน์ยอดเงินฝากธนาคารทุกบัญชีที่องค์การคลังสินค้ารับผิดชอบ
  • บันทึกการจ่ายคืนบัญชีเงินรับฝากในทะเบียนควบคุมเงินรับฝาก
  • จัดทำรายงานการรับ – จ่ายเงินประจำวัน และประจำเดือน
  • ตรวจสอบรายงานภาษีทุกประเภทกับเอกสารการบันทึกบัญชี
  • ปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมาย
      2.2  งานบัญชีสินค้า มีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับ
  • การวางแผนกลยุทธ์  การบริหารความเสี่ยง และการควบคุมภายในของงาน
  • วางระบบบัญชีสินค้า ตรวจสอบข้อมูลและจัดทำบัญชีสินค้าในคลังสินค้าทุกแห่ง
  • เก็บรักษาเอกสารสำคัญต่าง ๆ ทางบัญชีสินค้าและทำลายเอกสารตามระเบียบปฏิบัติของทางราชการ
  • รายงานยอดสินค้าคงเหลือทุกเดือน
  • ตีราคาสินค้าคงเหลือ ณ วันสิ้นปีงบประมาณ
  • จัดทำรายงานสินค้าค้างจ่ายประจำปี
  • จัดทำคำสั่งแต่ง ตั้งคณะกรรมการตรวจสอบสินค้าคงเหลือประจำงวดครึ่งปี และงวดสิ้นปี งบประมาณ  ตามระเบียบ อคส.ว่าด้วยการรับ – จ่าย และเก็บรักษาสินค้า
  • รวบรวมรายงานการตรวจสอบสินค้าคงเหลือ ของคณะกรรมการตรวจสอบสินค้าคงเหลือ
  • สอบยอดบัญชีสินค้าคงเหลือ กับรายงานการตรวจสอบสินค้าคงเหลือ ของคณะกรรมการตรวจสอบสินค้าคงเหลือ
  • ปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมาย
      2.3  งานบริหารลูกหนี้  มีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับ
  • การวางแผนกลยุทธ์ การบริหารความเสี่ยง และการควบคุมภายในของงาน
  • กำหนดรหัสบัญชีลูกหนี้
  • จัดทำทะเบียนคุมยอดลูกหนี้รายตัวทุกประเภท (ยกเว้นลูกหนี้เงินกู้สวัสดิการ)
  • จัดทำรายงานอายุลูกหนี้รายเดือน
  • ตรวจสอบหนี้ที่ ถึงกำหนดระยะเวลาชำระหนี้ เพื่อออกหนังสือทวงหนี้เร่งรัดให้ชำระเงิน แล้วแจ้งให้หน่วยงานเจ้าของเรื่องที่เกี่ยวข้องรับทราบเพื่อติดตามทวงถามอีก ทางหนึ่ง
  • คำนวณดอกเบี้ยและค่าปรับ ลูกหนี้ที่ผิดนัดชำระเงิน
  • ปรับปรุงรายการบัญชีที่เกี่ยวข้องกับลูกหนี้การค้าและลูกหนี้อื่น ๆ
  • บันทึกบัญชีค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ
  • ขออนุมัติคณะกรรมการองค์การคลังสินค้าเพื่อจำหน่ายบัญชีลูกหนี้
  • จัดทำรายละเอียดลูกหนี้ค้างชำระทุกรอบระยะเวลาที่ต้องปิดงบการเงิน
  • เก็บรักษาเอกสารสำคัญต่าง ๆ ทางบัญชีลูกหนี้และทำลายเอกสารตามระเบียบปฏิบัติของทางราชการ
  • ปฏิบัติงานสารบรรณ การเบิกจ่ายพัสดุ ควบคุมงบประมาณของส่วนงานการบัญชีและสำนักการเงินและการบัญชี
  • ปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมาย

รูปแบบใบกำกับภาษีใหม่ 2557

กรมสรรพากรได้มี ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม ฉบับที่ 197 ลงวันที่ 28 พฤษภาคม 2557 กำหนดให้มีข้อความเพิ่มเติมใน
ใบกำกับภาษีรายงานภาษีซื้อ ภาษีขาย โดยมีส่วนที่จะต้องเพิ่มเติมในรายงานที่สองหลักๆ ดังนี้

     “ใบกำกับภาษี” ให้เพิ่มข้อความ เลขประจำตัวผู้เสียภาษีของผู้ซื้อ สถานประกอบการของผู้ซื้อว่าเป็นสำนักงานใหญ่
หรือสาขา ถ้าเป็นสาขาให้ระบุลำดับที่ด้วย
     “รายงานภาษีซื้อ “ให้เพิ่ม เลขประจำตัวผู้เสียภาษีของผู้ขาย สถานประกอบการของผู้ขายว่าเป็นสำนักงานใหญ่ หรือ สาขา
ถ้าเป็นสาขาให้ระบุลำดับที่ของสาขาด้วย
     “รายงานภาษีขาย “ให้เพิ่มเลขประจำตัวผู้เสียภาษีของผู้ซื้อ สถานประกอบการของผู้ซื้อว่าเป็นสำนักงานใหญ่ หรือ สาขา
ถ้าเป็นสาขาให้ระบุลำดับที่ของสาขาด้วย
ผู้ประกอบการจะต้องเปลี่ยนแปลงแก้ไขใบกำกับภาษี และ รายงานตามที่อธิบดีกำหนดตั้งแต่ 1 มกราคม 2557 เป็นต้นไป
(ใบกำกับภาษีรูปแบบใหม่จะเริ่มใช้ 1 มกราคม 2557 ส่วนรายงานภาษีซื้อ รายงานภาษีขาย ที่จะต้องใช้ตามรูปแบบใหม่เดือนแรก
คือ 15 กุมภาพันธ์ 2557 ซึ่งก็คือ รายงานของเดือนมกราคม 2557 นั่นเอง)


ที่มาจาก….กรมสรรพากร

ขั้นตอนการจดทะเบียนบริษัท

ขั้นตอนการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท ห้างหุ้นส่วนจำกัด นิติบุคคล 

     ผู้มีหน้าที่จดทะเบียนพาณิชย์ คือ บุคคลธรรมดาคนเดียว หรือหลายคน (ห้างหุ้นส่วนสามัญ) หรือนิติบุคคล รวมทั้งนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมาย ต่างประเทศที่มาตั้งสำนักงานสาขาในประเทศไทยซึ่งประกอบกิจการอันเป็นพาณิช ยกิจตามที่กระทรวงพาณิชย์กำหนด กิจการที่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ได้ออกประกาศให้ผู้ประกอบกิจการดังต่อไปนี้ ต้องจดทะเบียนพาณิชย์ คือ
  1. ผู้ประกอบกิจการโรงสีข้าวและโรงเลื่อยที่ใช้เครื่องจักร
  2. ผู้ ประกอบกิจการขายสินค้าไม่ว่าอย่างใดๆ อย่างเดียวหรือหลายอย่าง คิดรวมทั้งสิ้น ในวันหนึ่งขายได้เป็นเงินตั้งแต่ 20 บาท ขึ้นไปหรือมีสินค้าดังกล่าวไว้เพื่อขายมีค่ารวมทั้งสิ้นเป็นเงินตั้งแต่ 500 บาทขึ้นไป
  3. นายหน้าหรือตัวแทนค้าต่างซึ่งทำการเกี่ยวกับสินค้า ไม่ว่าอย่างใดๆ อย่างเดียวหรือหลายอย่างก็ตาม และสินค้านั้นมีค่า รวมทั้งสิ้นในวันหนึ่งวันใดเป็นเงินตั้งแต่ 20 บาทขึ้นไป
  4. ผู้ประกอบ กิจการหัตถกรรมหรืออุตสาหกรรมไม่ว่าอย่างใดๆ อย่างเดียวหรือหลายอย่างก็ตาม และขายสินค้าที่ผลิตได้ คิดราคารวมทั้งสิ้นในวันหนึ่งวันใดเป็นเงินตั้งแต่ 20 บาทขึ้นไปหรือในวันหนึ่งวันใดมีสินค้าที่ผลิตได้มีราคารวมทั้งสิ้น
    ตั้งแต่ 500 บาทขึ้นไป
  5. ผู้ ประกอบกิจการขนส่งทางทะเล การขนส่งโดยเรือกลไฟหรือเรือยนต์ประจำทาง การขนส่งโดยรถไฟ การขนส่ง โดยรถรางการขนส่งโดยรถยนต์ประจำทาง การขายทอดตลาด การรับซื้อขายที่ดิน การให้กู้ยืมเงิน การรับแลกเปลี่ยน หรือซื้อขายเงินตราต่างประเทศ การซื้อหรือขายตั๋วเงิน การธนาคาร การโพยก๊วน การทำโรงรับจำนำ และการทำโรงแรม
  6. ขาย ให้เช่า ผลิต หรือรับจ้างผลิต แผ่นซีดี แถบบันทึก วีดิทัศน์ แผ่นวีดิทัศน์ ดีวีดีหรือแผ่นวีดิทัศน์ระบบดิจิทัล เฉพาะที่เกี่ยวกับการบันเทิง
  7. ขายอัญมณี หรือเครื่องประดับซึ่งประดับด้วยอัญมณี
  8. ซื้อ ขายสินค้าหรือบริการโดยวิธีการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเครือข่าย อินเตอร์เน็ต บริการอินเตอร์เน็ต ให้เช่าพื้นที่ของเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย บริการเป็นตลาดกลางในการซื้อขายสินค้าหรือบริการโดยวิธีการใช้สื่อ อิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
  9. การให้บริการเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อใช้อินเตอร์เน็ต
  10. การให้บริการฟังเพลงและร้องเพลงโดยคาราโอเกะ
  11. การให้บริการเครื่องเล่นเกมส์
  12. การให้บริการตู้เพลง
กิจการที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์
มีกิจการบางอย่างที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์ คือ
1. การค้าเร่ การค้าแผงลอย
2. กิจการเพื่อการบำรุงศาสนาหรือเพื่อการกุศล
3. กิจการของนิติบุคคลซึ่งได้มีพระราชบัญญัติ หรือพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งขึ้น
4. กิจการของกระทรวง ทบวง กรม
5. กิจการของมูลนิธิ สมาคม สหกรณ์
6. พาณิชยกิจซึ่งรัฐมนตรีได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ได้แก่
1. บริษัทจำกัด ห้างหุ้นส่วนจำกัด ห้างหุ้นส่วนสามัญ จดทะเบียน ที่เป็นนิติบุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วยหุ้นส่วนและบริษัท และได้ยื่นแบบแสดงรายการเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจของห้างหุ้นส่วนบริษัทไว้ แล้วต่อนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท ยกเว้นบริษัทจำกัด ห้างหุ้นส่วนจำกัด ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน ที่ประกอบกิจการต่อไปนี้ต้องจดทะเบียนพาณิชย์ด้วย
(1) ขาย ให้เช่า ผลิต หรือรับจ้างผลิต แผ่นซีดี แถบบันทึก วีดิทัศน์ แผ่นวีดิทัศน์ ดีวีดี หรือแผ่นวีดิทัศน์ระบบดิจิทัล เฉพาะที่เกี่ยวกับการบันเทิง(2) ขายอัญมณี หรือเครื่องประดับซึ่งประดับด้วยอัญมณี
(3) ซื้อขายสินค้าหรือบริการโดยวิธีการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเครือข่าย อินเตอร์เน็ต บริการอินเตอร์เน็ตให้เช่าพื้นที่ของเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย บริการเป็นตลาดกลางในการซื้อขายสินค้าหรือบริการโดยวิธีการใช้สื่อ อิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
(4) การให้บริการเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อใช้อินเตอร์เน็ต
(5) การให้บริการฟังเพลงและร้องเพลงโดยคาราโอเกะ
(6) การให้บริการเครื่องเล่นเกมส์
(7) การให้บริการตู้เพลง
2. พาณิชยกิจของกลุ่มเกษตรที่ได้จดทะเบียนตาม ปว.141 ลงวันที่ 1 พฤษภาคม 2515
การยื่นจดทะเบียนพาณิชย์?
ท่าน สามารถ Download แบบพิมพ์ ไปใช้ในการจดทะบียนได้ หรือ ขอรับแบบพิมพ์ได้ที่สำนักงานบริการจดทะเบียนธุรกิจ และสำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดทุกแห่ง

การจดทะเบียนตั้งใหม่ มีเอกสารดังนี้1. คำขอจดทะเบียน : แบบ ทพ. ( Print - out 2 แผ่น )
2. หลักฐานประกอบคำขอ
2.1 สำเนาบัตรประจำตัวของเจ้าของกิจการ หรือ หุ้นส่วนผู้จัดการ หรือ ผู้รับผิดชอบในการประกอบกิจการในประเทศในกรณีเป็นนิติบุคคลต่างประเทศ
2.2 สำเนาเอกสารแสดงการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลในต่างประเทศหนังสือแต่งตั้งผู้ รับผิดชอบดำเนินการในประเทศใบอนุญาตทำงาน ในกรณีเป็นนิติบุคคลต่างประเทศ
2.3 การจดทะเบียนพาณิชย์ เป็นผู้ประกอบพาณิชยกิจการขายหรือให้เช่า แผ่นซีดี แถบบันทึก วีดิทัศน์ แผ่นวีดิทัศน์ ดีวีดีหรือแผ่นวีดิทัศน์ระบบดิจิทัล เฉพาะที่เกี่ยวกับการบันเทิง ให้ผู้ประกอบพาณิชยกิจแจ้งข้อมูลและส่งสำเนาเอกสารต่อไปนี้ประกอบการขอจด ทะเบียน คือ
- หมายเลขบัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากร พร้อมทั้งแนบสำเนาบัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากร
- แผนที่สถานที่ซึ่งใช้ประกอบพาณิชยกิจเป็นปกติ
- สำเนาหนังสืออนุญาตหรือหนังสือรับรองให้เป็นผู้จำหน่ายหรือให้เช่าสินค้าดังกล่าวจากเจ้าของลิขสิทธิ์ของสินค้าที่ขายหรือให้เช่า
2.4 การจดทะเบียนพาณิชย์ เป็นผู้ประกอบพาณิชยกิจการขายอัญมณีหรือเครื่องประดับ ซึ่งประดับด้วยอัญมณี ต้องเพิ่มหลักฐานหนังสือยินยอมให้ใช้สถานที่ประกอบพาณิชยกิจหรือสัญญาเช่า นอกจากนั้นต้องส่งหลักฐานเพิ่มเติม ดังนี้
- กรณีเป็นบุคคลธรรมดา ต้องทำหนังสือชี้แจงพร้อมแนบหลักฐานแสดงจำนวนเงินทุนที่นำมาใช้ในการประกอบ พาณิชยกิจ หรือมาให้ข้อเท็จจริงในเรื่องดังกล่าว?
- กรณีเป็นนิติบุคคล ต้องทำหนังสือชี้แจงว่าตนเองประกอบอาชีพอะไร เช่น เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ หรือเป็นกรรมการบริษัทใด แล้วแต่กรณี ประกอบคำขอจดทะเบียนด้วย
2.5 หนังสือมอบอำนาจ (ถ้ามี)

การจดทะเบียนเปลี่ยนแปลง มีเอกสารดังนี้

1. คำขอจดทะเบียน : แบบ ทพ. ( Print - out 2 แผ่น )
2. หลักฐานประกอบคำขอ
2.1 สำเนาบัตรประจำตัวของเจ้าของกิจการ หรือหุ้นส่วนผู้จัดการ หรือผู้รับผิดชอบในการประกอบกิจการในประเทศในกรณีเป็นนิติบุคคลต่างประเทศ
2.2 ใบทะเบียนพาณิชย์หรือใบแจ้งความ กรณีใบทะเบียนพาณิชย์สูญหาย
2.3 สำเนาหลักฐานอื่นแล้วแต่กรณี เช่น ใบสำคัญการสมรสใบสำคัญการเปลี่ยนชื่อตัวและชื่อสกุล เป็นต้น
2.4 หนังสือแต่งตั้งผู้รับผิดชอบดำเนินการในประเทศหรือหลักฐานการเปลี่ยนแปลง กรรมการในกรณีเปลี่ยนแปลงผู้รับผิดชอบดำเนินการในประเทศหรือกรรมการ
2.5 หนังสือมอบอำนาจ (ถ้ามี)
รายการที่ต้องยื่นจดทะเบียนเปลี่ยนแปลง มีดังนี้1. เลิกชนิดประกอบกิจการ บางส่วน และ/หรือเพิ่มใหม่
2. เปลี่ยนชื่อที่ใช้ในการประกอบกิจการ
3. ย้ายสำนักงานใหญ่
4. เปลี่ยนผู้จัดการ
5. เจ้าของหรือผู้จัดการย้ายที่อยู่
6. เพิ่มหรือลดเงินทุน
7. ย้าย เลิก หรือเพิ่มสาขา โรงเก็บสินค้า หรือตัวแทนค้าต่าง
8. อื่นๆ เช่น เจ้าของหรือผู้จัดการเปลี่ยนชื่อตัวหรือชื่อสกุล หรือรายการที่จดทะเบียนไว้ไม่ตรงตามข้อเท็จจริง
หมายเหตุุ หากต้องการเปลี่ยนแปลงรายการใด ให้กรอกรายละเอียดเฉพาะรายการที่ต้องการเปลี่ยนแปลงเท่านั้น

การจดทะเบียนเลิก มีเอกสารดังนี้
1. คำขอจดทะเบียน : แบบ ทพ. ( Print - out 2 แผ่น )
2. หลักฐานประกอบคำขอ
2.1 สำเนาบัตรประจำตัวของเจ้าของกิจการ หรือหุ้นส่วนผู้จัดการ หรือผู้รับผิดชอบในการประกอบกิจการในประเทศในกรณีเป็นนิติบุคคลต่างประเทศ
2.2 ใบทะเบียนพาณิชย์หรือใบแจ้งความ กรณีใบทะเบียนพาณิชย์สูญหาย
2.3 หนังสือรับฝากบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชีในกรณีที่มีหน้าที่จัดทำบัญชี
2.4 สำเนาเอกสารการสั่งให้เลิกประกอบกิจการในประเทศในกรณีเป็นนิติบุคคลต่างประเทศ
2.5 สำเนาใบมรณบัตรของผู้ประกอบกิจการ ในกรณีที่ผู้ประกอบกิจการถึงแก่กรรม
2.6 หนังสือมอบอำนาจ (ถ้ามี)

สถานที่จดทะเบียน

1. ผู้ประกอบพาณิชยกิจที่มีสำนักงานตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ยื่นคำขอจดทะเบียนได้ที่ ส่วนจดทะเบียนธุรกิจกลาง หรือ สำนักงานบริการจดทะเบียนธุรกิจ 1 - 7
2. ผู้ประกอบพาณิชยกิจที่มีสำนักงานตั้งอยู่ในต่างจังหวัด ยื่นคำขอจดทะเบียนได้ที่องค์การบริหารส่วนจังหวัด หรือเมืองพัทยา แล้วแต่กรณี เว้นแต่พาณิชยกิจที่รัฐมนตรีกำหนดเป็นการเฉพาะ ให้ยื่นคำขอจดทะเบียนได้ที่สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดที่สำนักงาน ตั้งอยู่ ยกเว้นองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา ระยอง ชัยภูมิ สมุทรปราการ และนราธิวาส ซึ่งยังไม่พร้อมที่จะรับจดทะเบียนให้ยื่นคำขอจดทะเบียนได้ที่สำนักงานพัฒนา ธุรกิจการค้าจังหวัด หรืออำเภอหรือกิ่งอำเภอที่สำนักงานตั้งอยู่ พาณิชยกิจที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดเป็นการเฉพาะให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกรม พัฒนาธุรกิจการค้า มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
- ขาย ให้เช่า ผลิต หรือรับจ้างผลิต แผ่นซีดี แถบบันทึก วีดิทัศน์ แผ่นวีดิทัศน์ ดีวีดี หรือแผ่นวีดิทัศน์ระบบดิจิทัล เฉพาะที่เกี่ยวกับการบันเทิง
- ขายอัญมณี หรือเครื่องประดับซึ่งประดับด้วยอัญมณี
- ซื้อขายสินค้าหรือบริการโดยวิธีการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเครือข่าย อินเตอร์เน็ต บริการอินเตอร์เน็ตให้เช่าพื้นที่ของเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย บริการเป็นตลาดกลางในการซื้อขายสินค้าหรือบริการโดยวิธีการใช้สื่อ อิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
- การให้บริการเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อใช้อินเตอร์เน็ต
- การให้บริการฟังเพลงและร้องเพลงโดยคาราโอเกะ
- การให้บริการเครื่องเล่นเกมส์
- การให้บริการตู้เพลง
ค่าธรรมเนียม
  1. การขอดำเนินการตาม พ.ร.บ. ทะเบียนพาณิชย์ฯ จะต้องเสียค่าธรรมเนียมตามประเภทของการดำเนินการดังต่อไปนี้
  2. จดทะเบียนพาณิชย์ตั้งใหม่ 50 บาท
  3. จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงรายการจดทะเบียน ครั้งละ20 บาท
  4. จดทะเบียนเลิกประกอบพาณิชยกิจ20 บาท
  5. ขอให้ออกใบแทนใบทะเบียนพาณิชย์ ฉบับละ 30 บาท
  6. ขอตรวจเอกสารของผู้ประกอบพาณิชยกิจ ครั้งละ 20 บาท
  7. ขอให้เจ้าหน้าที่คัดสำเนาและรับรองสำเนาเอกสาร ฉบับละ 30 บาท
กำหนดระยะเวลาการจดทะเบียนพาณิชย์
  1. จดทะเบียนพาณิชย์ตั้งใหม่ ต้องจดทะเบียนภายใน 30 วันนับแต่วันเริ่มประกอบกิจการ
  2. การเปลี่ยนแปลงรายการที่จดทะเบียนไว้ตาม (1) ต้องจดทะเบียนภายใน 30 วัน
    นับแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลง
  3. เลิกประกอบกิจการ ต้องจดทะเบียนภายใน 30 วันนับแต่วันที่เลิกประกอบกิจการ
  4. ใบทะเบียนพาณิชย์สูญหายต้องยื่นขอใบแทนภายใน 30 วันนับแต่วันสูญหาย
หน้าที่ของผู้ประกอบกิจการ
  1. ต้องขอจดทะเบียนต่อนายทะเบียนภายในกำหนดเวลาที่กล่าวไว้ในข้อ 7 ตามแต่กรณี
  2. ต้องแสดงใบทะเบียนพาณิชย์หรือใบแทนใบทะเบียนพาณิชย์ไว้ ณ สำนักงานในที่
    เปิดเผยและเห็นได้ง่าย
  3. ต้องจัดให้มีป้ายชื่อที่ใช้ในการประกอบกิจการไว้หน้าสำนักงานแห่งใหญ่และสำนักงาน
    สาขา โดยเปิดเผยภายในเวลา 30 วันนับแต่วันที่จดทะเบียนพาณิชย์ ป้ายชื่อให้เขียนเป็นอักษรไทย อ่านง่ายและชัดเจน จะมีอักษรต่างประเทศในป้ายชื่อด้วยก็ได้ และจะต้องตรงกับชื่อที่จดทะเบียนไว้ หากเป็นสำนักงานสาขาจะต้องมีคำว่า "สาขา" ไว้ด้วย
  4. ต้องไปให้เข้อเท็จจริงเกี่ยวกับรายการจดทะเบียนตามคำสั่งของนายทะเบียน
  5. ต้องอำนวยความสะดวกแก่นายทะเบียนและพนักงานเจ้าหน้าที่ ซึ่งเข้าทำการ
    ตรวจสอบในสำนักงานของผู้ประกอบกิจการ
บทกำหนดโทษ
  1. ประกอบกิจการโดยไม่จดทะเบียน แสดงรายการเท็จ ไม่ยอมให้ถ้อยคำ ไม่ยอมให้พนักงาน
    เจ้า หน้าที่เข้าไปตรวจสอบในสำนักงาน มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท กรณีไม่จดทะเบียนอันเป็นความผิดต่อเนื่อง ปรับอีกวันละไม่เกิน 100 บาท จนกว่าจะได้ปฏิบัติให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติ
  2. ถ้าใบทะเบียนพาณิชย์สูญหายไม่ยื่นคำร้องขอรับใบแทน หรือไม่แสดงใบทะเบียนพาณิชย์ไว้
    ที่ สำนักงานที่เห็นได้ง่าย ไม่จัดทำป้ายชื่อ มีความผิด ปรับไม่เกิน 200 บาท และถ้าเป็นความผิดต่อเนื่อง ปรับอีกวันละไม่เกิน 20 บาท จนกว่าจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง
  3. ผู้ประกอบกิจการซึ่งกระทำการฉ้อโกงประชาชน ปนสินค้าโดยเจตนาทุจริต ปลอมสินค้า
    หรือ กระทำการทุจริตอื่นใดอย่างร้ายแรงในการประกอบกิจการ จะถูกถอนใบทะเบียนพาณิชย์ เมื่อถูกสั่งถอนใบทะเบียนพาณิชย์แล้วจะประกอบกิจการต่อไปไม่ได้ เว้นแต่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์จะสั่งให้รับจดทะเบียนพาณิชย์ใหม่
  4. ผู้ประกอบกิจการที่ถูกสั่งถอนใบทะเบียนพาณิชย์แล้ว ยังฝ่าฝืนประกอบกิจการต่อไป
    มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือจำคุกไม่เกินหนึ่งปีหรือทั้งจำทั้งปรับ

แหล่งที่มา :  http://www.tapakom.com/registration-step.html

เครื่องหมายการค้า


เครื่องหมายการค้า


เครื่องหมายการค้า หมายถึง เครื่องหมายหรือสัญลักษณ์หรือตราที่ใช้กับสินค้าหรือบริการ มี 4 ประเภท ดังต่อไปนี้ 


  • เครื่องหมายการค้า (Trade Mark) คือเครื่องหมายที่ใช้เป็นที่หมายเกี่ยวข้องกับสินค้าเพื่อแสดงว่าสินค้าที่ใช้เครื่องหมายนั้นแตกต่างกับสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่น เช่น บรีส  มาม่า  เป็นต้น
            
  • เครื่องหมายบริการ (Service Mark) คือ เครื่องหมายที่ใช้เป็นที่หมายหรือเกี่ยวข้องกับบริการ เพื่อแสดงว่าบริการที่ใช้เครื่องหมายนั้นแตกต่างกับบริการที่ใช้เครื่องหมาย บริการของบุคคลอื่น เช่น เครื่องหมายของสายการบิน ธนาคาร  เป็นต้น            

  • เครื่องหมายรับรอง (Certification Mark) คือ เครื่องหมายที่เจ้าของเครื่องหมายรับรองใช้เป็นที่หมาย หรือเกี่ยวข้องกับสินค้าและบริการของบุคคลอื่น เพื่อเป็นการรับรองคุณภาพของสินค้า หรือบริการนั้น เช่น เชลล์ชวนชิม แม่ช้อยนางรำ เป็นต้น

  • เครื่องหมายร่วม (Collective Mark) คือ เครื่องหมายการค้าหรือเครื่องหมายบริการที่ใช้โดยบริษัทหรือวิสาหกิจในกลุ่มเดียวกัน หรือโดยสมาชิกของสมาคม กลุ่มบุคคล หรือองค์กรอื่นใดของรัฐหรือเอกชน เช่น ตราช้างของบริษัท ปูนซีเมนต์ไทย จำกัด เป็นต้น    

ขั้นตอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า

เนื่องจากระยะเวลากว่าที่เครื่องหมายการค้านั้นจะได้รับการจดทะเบียนใช้ระยะเวลานาน  ซึ่งผู้ยื่นคำขอจดทะเบียนอาจจำเป็นจะต้องใช้เครื่องหมายการค้านั้นในช่วงระยะเวลาที่เครื่องหมายการค้านั้นยังไม่ได้อนุมัติให้จดทะเบียน  ดังนั้น เพื่อให้ผู้ยื่นคำขอมั่นใจในระดับหนึ่งว่า เครื่องหมายการค้านั้น จะไม่ถูกฟ้องร้องจากเจ้าของเครื่องหมายการค้าอื่นที่ได้รับการจดทะเบียนแล้ว และมีความเป็นไปได้สูงที่เครื่องหมายการค้านั้น จะได้รับการจดทะเบียน ดังนั้น ขั้นตอนต่อไปนี้ จึงมีความสำคัญเป็นอย่างมาก

  • ตรวจสอบความเหมือนคล้าย ลักษณะบ่งเฉพาะ หรือลักษณะต้องห้าม ของเครื่องหมายการค้านั้นกับเครื่องหมายการค้าอื่นที่ได้รับการจดทะเบียนแล้ว
  • จัดเตรียมคำขอ เพื่อยื่นจดทะเบียนที่กรมทรัพย์สินทางปัญญา
  • หลังจากนายทะเบียนตรวจสอบคำขอแล้ว (ระยะเวลาประมาณ 8 เดือน นับจากวันที่ยื่นคำขอ) นายทะเบียนจะแจ้งอนุมัติให้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้า หรือแจ้งให้ดำเนินการแก้ไข หากเครื่องหมายการค้านั้นมีข้อบกพร่อง โดยผู้ยื่นคำขอจะต้องดำเนินการแก้ไขให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด  ทั้งนี้หากเครื่องหมายการค้านั้นได้รับการปฏิเสธ คำขอดังกล่าว จะไม่สามารถจดทะเบียนได้ หากผู้ยื่นคำขอยังคงต้องการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า จะต้องเปลี่ยนแปลงเครื่องหมายการค้านั้น และยื่นคำขอใหม่ ทั้งนี้จะใช้ระยะเวลาอีกประมาณ 8 เดือน นับจากวันที่ยื่นคำขอ ซึ่งนายทะเบียนจะแจ้งผลการตรวจสอบอีกครั้ง
เราเป็นผู้เชี่ยวชาญในการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ามากว่า 30 ปี  เรามั่นใจว่าขั้นตอนการยื่นจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่เราทำให้แก่ท่านนั้น จะทำให้เครื่องหมายการค้าของท่านมีความเป็นไปได้สูงที่จะได้รับการจดทะเบียน  เราจะดำเนินการทุกขั้นตอนจนกว่าเครื่องหมายการค้าของท่านจะได้รับการจดทะเบียน

ระยะเวลากว่าที่เครื่องหมายการค้าจะได้รับการอนุมัติให้จดทะเบียน


  • หากเครื่องหมายการค้านั้นไม่ได้รับการปฏิเสธ จะใช้ระยะเวลา ประมาณ 8 เดือน นับจากวันที่ยื่นคำขอจดทะเบียน

ระยะเวลาคุ้มครองเมื่อเครื่องหมายการค้าได้รับการจดทะเบียนแล้ว
  
  • 10 ปี นับจากวันที่ได้รับการจดทะเบียน

แหล่งที่มา: http://www.friendaccountancy.com/content.php?id=34

วันจันทร์ที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2557

ติดต่อเรา



บริษัท บุศราคัมการบัญชี จำกัด

473/103 ซ.จรัญสนิทวงศ์35 แยก 4 แขวงบางขุนศรี เขตบางกอกน้อย กทม 10700

E-mail    budsarakum01@gmail.com


Facebook   nukbunche              Line  buacc


เวลาทำการ  วันจันทร์-เสาร์ 9.00-18.00

ติดต่อ  คุณฝ้าย  (ผู้จัดการบัญชี)             062-4593641
             คุณเจ็ง   (หัวหน้าฝ่ายบัญชี)         062-3597942
             คุณกี  (ฝ่ายการเงิน โปรแกรมPEAK)         089-7694159
             คุณเอ็ม  (ฝ่ายทะเบียน)                090-9718988
           


แผนที่




บริการคัดเอกสาร

          บริษัท บุศราคัมการบัญชี จำกัด เราให้บริการคัดหนังสือรับรอง และเอกสารชนิดอื่นๆ ที่คัดจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า สำนักงานระกันสังคม กรมสรรพากร  ซึ่งเรามีพนักงานสามารถไปคัดเอกสารให้ลูกค้าได้ทุกวันทำการและสามารถ scan ส่งเอกสารให้กับลูกค้าได้ด้วยความรวดเร็ว หลังจากที่ลูกค้าได้โอนเงินค้าบริการให้กับเรา
  • ลูกค้าไม่ต้องเสียเวลาไปคัดหนังสือรับรอง
  • ลูกค้าไม่ต้องเบื่อกับการเดินทางไปคัดหนังสือรับรอง
  • เราให้บริการรวดเร็วให้บริการคัดเอกสารในเขตพื้นที่ กรุงเทพมหานคร ปริมณฑล 

 

ทำไมต้องใช้บริการจากเรา


เราไม่เพียงแต่ให้บริการคัดเอกสารเท่านั้น ลูกค้าจะได้รับความสะดวกสบาย และบริการที่ประทับใจจากทางบริษัท เหมาะสำหรับลูกค้าที่ต้องการคัดเอกสาร แต่ไม่มีเวลาในการดำเนินการเอง อีกทั้งเราให้บริการรวดเร็วให้บริการคัดเอกสารในเขตพื้นที่ กรุงเทพมหานคร ปริมณฑล


บริการงานคัดเอกสาร
  • คัดเอกสารกรมพัฒนาธุรกิจการค้า  เช่น หนังสือรับรอง  บอจ5 บริคณห์สนธิ ตราประทับ และอื่นๆ 
  • คัดเอกสารกรมสรรพากร  เช่น  ภงด50 ภงด51 ภงด1 ภงด3 ภงด53 พ30 งบการเงิน  และอื่นๆ
  • คัดเอกสารสำนักงานประกันสังคม เช่น แบบ สปส ใบเสร็จประกันสังคม

ระยะเวลาในการดำเนินการ
  • ถ้าสั่งคัดเอกสารกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ก่อน 10.00 น. ได้รับเอกสารสแกน ภายใน 15.00 น. และจะดำเนินการส่งตัวจริงให้ทางไปรณีย์
  • ถ้าสั่งคัดเอกสารกรมสรรพากร หรือเอกสารสำนักงานประกันสังคม (ต้องทำเรื่องมอบอำนาจในการดำเนินการแทน) ระยะเวลา 1-3 วัน ขึ้นอยู่กับความพร้อมทางด้านเอกสารทางลูกค้า

บริการงานจดทะเบียน





          บริษัท บุศราคัมการบัญชี จำกัด ให้บริการงานทะเบียนในเขตพื้นที่ กรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และต่างจังหวัด ทางบริษัทมีพนักงานรับ-ส่งเอกสาร ไปหาลูกค้าถึงที่บ้านเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับลูกค้าทุกคน

          โดยลูกค้าจะได้รับความสะดวกสบาย และบริการที่ประทับใจจากทางบริษัท เหมาะสำหรับลูกค้าที่ต้องการจะจดทะเบียนบริษัท แต่ไม่มีเวลาในการดำเนินการเอง หรือ ยังไม่เข้าใจขั้นตอนเกี่ยวกับการจดทะเบียนบริษัท, ไม่ทราบเกี่ยวกับเรื่องของเอกสารที่ต้องใช้ในการจดเบียนบริษัท หรือ เรื่องอื่นๆ อีก เนื่องจาก ขั้นตอนและเอกสารที่จำเป็นต้องใช้ในการจดทะเบียนบริษัทนั้น ค่อนข้างจะยุ่งจากและซับซ้อน


ทำไมต้องใช้บริการจากเรา

          เราไม่เพียงแต่ให้บริการจดทะเบียนเท่านั้น เรายังให้คำปรึกษาทุกอย่างที่เกี่ยวกับการจัดตั้งบริษัทโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย โดยผู้เชี่ยวชาญทางด้านบัญชีและภาษี ลูกค้าสามารถสอบถามเกี่ยวกับการเปิดบริษัท เพื่อเพิ่มความมั่นใจในการจดทะเบียน


บริการงานทะเบียน
  • จดทะเบียนจัดตั้งบริษัทจำกัด ห้างหุ้นส่วนจำกัด
  • จดเปลี่ยนแปลงกรมพัฒนาธุรกิจฯ เช่น ย้ายสถานประกอบการ เปลี่ยนแปลงผู้ถือหุ้น  เปลี่ยนแปลงกรรมการ  แก้ไขชื่อบริษัท  เพิ่มทุนจดทะเบียน และอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
  • จดทะเบียนเลิกและชำระบัญชี บริษัทจำกัด ห้างหุ้นส่วนจำกัด
  • ขึ้นทะเบียนนายจ้างสำนักงานประกันสังคม
  • จดภาษีมูลค่าเพิ่มกรมสรรพากร
  • จดเปลี่ยนแปลงกรมสรรพากร เช่น ย้ายสถานประกอบการ เพิ่มวัตถุประสงค์

ระยะเวลาในการดำเนินการ

          ระยะเวลา 1-5 วันในการดำเนินการจดทะเบียน (ขึ้นอยู่กับความพร้อมทางด้านเอกสารของลูกค้า)



Disqus Shortname

Comments system