วันศุกร์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

จดทะเบียนบริษัท หรือ ห้างหุ้นส่วนดีไหม



จดทะเบียนแบบไหนดี ?
จะจดทะเบียนดีหรือไม่ ?
หลังจดไปแล้วมีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง ?
มันช่วยลดภาษีได้จริงหรือ ?

มีผู้ประกอบการหลายราย  ที่เริ่มต้นจะประกอบธุรกิจ  หรือประกอบธุรกิจมานานแล้วแต่ลังเลว่าจะจดทะเบียน บริษัท หรือห้างหุ้นส่วนดีหรือไม่  มีลูกค้าหลายรายโทรเข้ามาปรึกษา และสอบถามเข้ามาจำนวนมาก ว่าจะจดทะเบียนบริษัทดีไหม  

ขอให้ทุกท่านพิจารณาปัจจัยดังต่อไปนี้ค่ะ

1. งานที่ท่านทำจำเป็นที่จะต้องจดทะเบียนบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนหรือไม่  (ถ้าปกติรับงานจากบุคคลธรรมดา  หรือ มีคนรู้จักที่ ดิวงานด้วยกันอยู่แล้ว อันนี้ไม่แนะนำให้จดค่ะ  เพราะยังไงลูกค้าก็ให้ความเชื่อถือในตัวเราอยู่แล้ว  แต่หากรับงานกับบุคคลภายนอกที่ไม่รู้จักเลย  ถ้าอยากสร้างความน่าเชื่อถือ  จดทะเบียนบริษัท ห้างหุ้นส่วน  ก็ถือว่าจำเป็นอย่างยิ่ง  เพราะลูกค้าไม่รู้จักตัวตนเราเลย ดังนั้น การที่จะไว้ใจที่จะให้เราทำงานให้ก็ค่อนข้างเสี่ยงค่ะ  

2. ท่านมีความจำเป็นต้องจดทะเบียน  บริษัท  ห้างหุ้นส่วน  เพราะภาษีที่เสียค่อนข้างสูงมาก  ดังนั้นการเลือกจดทะเบียนบริษัท ห้างหุ้นส่วน ก็ถือว่า เป็นสิ่งที่ดี ที่จะช่วยท่านให้เสียภาษีลดลง  ทีนี้ เราจะรู้ได้อย่างไรละว่าหลังจากจดทะเบียนแล้ว  ระหว่าง  ยอมเสียภาษีนามบุคคลแบบเดิม  หรือ  ยอมจ่ายค่าทำบัญชีดีกว่าแล้วเสียภาษีลดลง  อันนี้ค่อนข้างเป็นประเด็นเลยทีเดียวและต้องให้คนที่มีความรู้เฉพาะทางช่วยคำนวณภาษีให้ เปรียบเทียบระหว่างภาษีนามบุคคล และ นิติบุคคล  หรือท่านจะลองศึกษาจาก web site ที่น่าเชื่อถือก็ได้ค่ะ แล้วลองคำนวณ เพื่อพิจารณาเปรียบเทียบเบื้องต้น

3. แล้วจะจดทะเบียนแบบไหนดี  ทุกท่าน ลองอ่านตามลิงค์นี้นะคะ  >>>  จดทะเบียนแบบไหนดี

4. นอกจากท่านจะมีค่าใช้จ่ายในการจดทะเบียนแล้ว  ก็จะมีค่าใช้จ่าย  และความยุ่งยาก  เกิดขึ้นหลายๆอย่าง  เช่น  ค่าทำบัญชีและตรวจสอบ อาจเริ่มต้นปีละ 8000+........บางรายหลักแสนก็ขึ้นอยู่กับจำนวนเอกสารและรายได้ของกิจการค่ะ  (ท่านลองพิจาณาดูค่ะว่า  ระหว่างค่าใช้จ่ายที่จ่ายไป  หรือ  ค่าภาษีที่ได้จ่ายไปอย่างไหนคุ้มกว่ากัน) 

ส่วนความยุ่งยากที่เกิดขึ้น  ก็จะเป็นเรื่องการจัดเก็บเอกสารบัญชีที่ถูกต้องตามที่กรมสรรพากรกำหนด ในส่วนนี้ก็เป็นเรื่องที่สำคัญมากพอสมควรเพราะ หากท่านเก็บเอกสารไม่เรียบร้อยแล้ว  บิลหาย  มีบิลแต่มีเหล่านั้นใช้ไม่ได้  นั่นคือปัญหา เกี่ยวกับการจัดทำบัญชีและการเสียภาษีนามนิติบุคคลนั่นเอง  

นอกจากนี้บางท่านก็ไม่รู้เลยว่าต้องจัดทำบัญชีและตรวจสอบ  หรือรู้แต่ไม่มีงบประมาณในการจัดทำบัญชีและตรวจสอบ  เป็นเหตุให้ได้รับหมายเรียกจากทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติให้ยื่นงบการเงิน

ดังนั้น  ทางเราอยากให้ทุกๆท่านพิจารณาให้อย่างถี่ถ้วนก่อนที่จะจดทะเบียนบริษัท  "บริษัท บุศราคัมการบัญชี  จำกัด"  ขอเป็นกำลังใจให้กับผู้ประกอบการทุกๆท่านนะคะ  หากมีข้อสงสัยเพิ่มเติม  สามารถโทรปรึกษาเราได้ค่ะ ยินดีให้คำแนะนำกับทุกๆท่านค่ะ  089-6386450

อ่านรายละเอียดอื่นๆเพิ่มเติม

วันพุธที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

ค่าปรับยื่น ภงด51 ล่าช้า

ข้อควรระวังสำหรับการยื่นแบบ ภ.ง.ด. 51

การยื่นแบบ ภ.ง.ด. 51 เป็นการยื่นแบบแสดงรายการภาษีครึ่งปี ซึ่งเป็นการนำส่งภาษีไว้ล่วงหน้า โดยความผิดที่อาจจะเกิดขึ้นได้สำหรับกรณีนี้นั้น มีอยู่ 2 กรณี คือ การยื่นแบบแสดงรายการล่าช้า และ การประมาณการกำไรสุทธิขาดไปเกินร้อยละ 25
1. การยื่นแบบล่าช้า กรณีที่ไม่ได้ยื่นแบบแสดงรายการตามกำหนดเวลา บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลต้องระวางโทษปรับอาญาตามมาตรา 35 แห่งประมวลรัษฎากร ดังนี้.
1. กรณียื่นแบบแสดงรายการ ภายใน 7 วันนับตั้งแต่วันพ้นกำหนดยื่นรายการ ต้องระวางโทษปรับ 1,000 บาท
2. กรณียื่นแบบแสดงรายการหลังจาก 7 วันนับตั้งแต่วันพ้นกำหนดเวลายื่นรายการต้องระวางโทษปรับ 2,000 บาท
ถ้าหากมีเงินภาษีต้องชำระ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลยังต้องรับผิดชอบเสียเงินเพิ่มตามมาตรา 67 ตรีแห่งประมวลรัษฎากรในอัตราร้อยละ 1.5 ต่อเดือน
2. การประมาณการกำไรสุทธิสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีขาดไปเกินร้อยละ 25
มาตรา 67 ตรีแห่งประมวลรัษฏากรกำหนดไว้ว่า หากกิจการประมาณการกำไรสุทธิขาดไปเกินร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิ โดยไม่มีเหตุอันสมควร มีผลทำให้ต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 20 ของจำนวนเงินภาษีที่ต้องชำระ
ตัวอย่างเช่น บริษัทได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคล (ภ.ง.ด.51) โดยประมาณการกำไรสุทธิทั้งปีไว้จำนวน 6,000,000 บาท แต่ปรากฏว่าเมื่อสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี บริษัทมีกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้จำนวน 10,000,000 บาท จากกรณีดังกล่าวบริษัทแสดงประมาณการกำไรสุทธิทั้งปีตามแบบ ภ.ง.ด. 50 ต่ำกว่ากำไรสุทธิจริงที่ได้ยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 เมื่อสิ้นรอบระยะเวลาบัญชีไปจำนวน 4,000,000 บาท หรือคิดเป็นร้อยละ 40 ซึ่งถือว่าบริษัทฯได้ประมาณการขาดไปเกินกว่าร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิตามแบบ ภ.ง.ด.50
อย่างไรก็ตามประมวลรัษฏากรมีบทอนุโลมเพื่อลดหย่อนกรณีประมาณการกำไรขาดเกินไว้ นั่นคือ คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป. 50/2537 ได้ระบุไว้ว่า ถ้าหากกิจการสามารถเลือกที่จะประมาณการกำไรสุทธิและยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีครึ่งปีไว้ “ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง” ของภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ได้ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในรอบระยะเวลาบัญชีที่แล้ว กรณีดังกล่าวจะถือว่าเป็นกรณีที่มีเหตุอันสมควร และถ้าหากกิจการทำได้เพียงเท่านี้ก็ไม่มีปัญหาที่ต้องโดนเบี้ยปรับเงินเพิ่มและยื่นคำร้องขอพิจารณาลดเบี้ยปรับและเงินเพิ่มย้อนหลังอีกต่อไป
ตัวอย่างเช่น บริษัทแห่งหนึ่งได้ยื่นภาษีเงินได้สำหรับรอบบัญชีปี 2556 ไว้จำนวน 5,000,000 บาท ดังนั้นในปี 2557 บริษัทฯ ดังกล่าวต้องยื่นชำระภาษีครึ่งปีของไว้ไม่ต่ำกว่า 2,500,000 บาท ถึงแม้ว่าจะประมาณการกำไรสุทธิขาดเกินไปกว่าร้อยละ 25 ก็ถือว่าเป็นเหตุอันสมควร เพราะเสียภาษีไว้ไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของ 5,000,000 บาท

การคำนวณ “เงินเพิ่ม” เมื่อประมาณการกำไรสุทธิขาดเกินไปกว่าร้อยละ 25

ตัวอย่างเช่น บริษัท SMEs มีทุนที่ชำระแล้วในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีไม่เกิน 5 ล้านบาท และมีรายได้จากการขายสินค้าจำนวน 25 ล้านบาท มีกึ่งหนึ่งของประมาณการกำไรสุทธิที่ต้องเสียภาษีคือ 2,500,000 บาท (จากประมาณการกำไรสุทธิทั้งปี 5,000,000 บาท) ดังนั้นภาษีที่คำนวณได้และต้องยื่นแบบแสดงรายการก็คือก็คือ 405,000 บาทเนื่องจากกิจการดังกล่าวได้รับยกเว้นกำไรสุทธิ 300,000 บาทแรกตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นรัษฎากรฉบับที่ 564
เมื่อถึงวันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี ปรากฎว่าบริษัทฯมีกำไรสุทธิที่เกิดขึ้นจริงจำนวน 10,000,000 บาท นั่นหมายความว่า บริษัทฯได้ประมาณการขาดเกินไปถึงร้อยละ 50 ซึ่งมากกว่าร้อยละ 25 ดังนั้นวิธีการคำนวณเงินเพิ่มจะเป็นดังนี้
1. กำไรสุทธิตาม ภ.ง.ด.50 = 10,000,000 บาททำให้บริษัทฯมีกึ่งหนึ่งของกำไรสุทธิ = 5,000,000 บาท
2. คำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลตามอัตราที่กฎหมายกำหนด รวมภาษีที่คำนวณได้ 905,000.00
3. ดังนั้นภาษีที่ยื่นขาดไปจำนวน (905,000 – 405,000) = 500,000 บาท มีผลให้บริษัทต้องเสียเงินเพิ่ม 20 % ของภาษีที่ชำระขาดไป (500,000 x 20%) คือ = 100,000 บาท

Disqus Shortname

Comments system