วันอังคารที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2558

เพิ่งเปิดบริษัท ควรทำอย่างไร ภาค2

ขออภัยที่ห่างหายไปนานจ้าาา  ไม่ได้หนีหายไปไหนนะคะ  ง่วนกับการปิดบัญชีประจำปีอยู่ค่ะ  ตอนนี้เริ่มว่างแล้ว  ฝ้ายเลยมาอัพเดทข้อมูลอันเป็นประโยชน์ในการทำบัญชีแก่ทุกๆท่านค่ะ

หลังจากเราเลือกได้แล้วจะจดทะเบียนแบบไหน

กรณีเลือกจดทะเบียนร้านค้า
-  เลือกหักค่าใช้จ่ายแบบเหมา  เอกสารบิลซื้อขายค่าใช้จ่ายต่างๆ  เก็บไว้บ้างค่ะ  เวลายื่นภาษีบางทีสรรพากรก็สุ่มตรวจดูนะคะ
- เลือกหัก ค่าใช้จ่ายตามจริง  อันนี้ต้องเก็บบิลให้ครบทุกใบเลยค่ะ  ต้องทำบัญชีรายรับรายจ่ายด้วยค่ะ  เปิดบิลขายสินค้า  (ที่สำคัญบิลต้องถูกต้อง  สามารถพิสูจน์ผู้รับเงินได้  ถ้าหัวบิลเป็นพวกเงินสดๆ  ร้านข้างทาง  ไม่มีชื่อปั๊มว่าใครเป็นผู้ซื้อ  ผู้ขาย  ใช้ไม่ได้นะคะ  รายละเอียดค่อนข้างเยอะค่ะ)

กรณีเลือกจดทะเบียนนิติบุคคล
- หักค่าใช้จ่ายได้แบบเดียวค่ะ  ตามจริงเท่านั้น  ต้องเก็บบิลให้ครบค่ะ  และบิลต้องถูกต้องค่ะ  ต้องเปิดบิลขายด้วยนะคะ

***ฟังดูเหมือนจะง่าย  ไม่ยากสักเท่าไหร่  มีอะไรเก็บไว้ให้หมด***


ประเด็นที่สำคัญ  (ที่พบจากลูกค้า SME 80%)

1.  ส่วนใหญ่ไม่เก็บเอกสาร

2. เก็บเอกสารแต่บิลซื้อจากตาสีตาสาที่ไหนก็ไม่รู้  ไม่สามารถพิสูจน์ผู้รับเงินได้

3. อยากทำบัญชีเอง  ไม่ต้องจ้าง  แต่ขาดความรู้ทำให้โดนสรรพากรประเมินภาษีที่ตกหล่น  (ยังไม่รวมเบี้ยประเงินเพิ่ม  ที่ไม่ได้ยื่นตามกำหนด)


อยากรู้ว่าในแต่ละเดือนต้องยื่นภาษีอะไรบ้าง  ตามลิงค์ด้านล่างนี้ค่ะ
http://nukbunche.blogspot.com/2015/06/blog-post.html


อยากรู้ว่าค่าปรับสรรพากร  มีอะไรบ้าง  ตามลิงค์ด้านล่างนี้ค่ะ
http://nukbunche.blogspot.com/2015/06/blog-post_23.html

***ค่าปรับดังที่เห็นแล้วว่า  หากท่านขาดความรู้ความเชี่ยวชาญแล้วย่อมจะทำให้เสียค่าปรับค่ะ  แนะนำถ้าไม่ถนัดจริงๆ  หาคนรู้จักที่มีประสบการณ์ด้านบัญชีดูแลเถอะค่ะ  หรือเลือกใช้บริการเราก็ได้ค่ะ  เริ่มต้นเดือนละ 500 บาทค่ะ***


งั้นเรามาดูกันก่อนแล้วกันนะคะเก็บเอกสารทำอย่างไรให้สรรพากรยอมรับ
เก็บเอกสารตั้งเยอะตั้งแยะ  แต่ใช้ไม่ได้เลยสักใบ

1. กรณี  ไม่มีบิลค่ะ  ทำใบรับเงินเลยค่ะ  หน้าตาใบรับเงินเป็นแบบนี้ค่ะ  หัวด้านบนเป็นชื่อเรานะคะ  แล้วให้ผู้ที่รับเงินจากเรากรอกแบบฟอร์มค่ะ  ชื่อ - สกุล  ที่อยู่  เลขที่ประชาชน  ได้รับเงินค่า???  กรณีเป็นนิติบุคคลมีการจ่ายค่าใช้จ่ายดังต่อไปนี้ต้องหัก ณ ที่จ่ายด้วยนะคะ  ค่าจ้างแรงงาน3%  ค่าบริการ3%  ค่าเช่า5%  ค่าโฆษณา2%  ค่าขนส่ง1%  และนำส่งภาษีประจำเดือนค่ะ  (หากไม่ได้หัก  ทำอย่างไรล่ะ  เตรียมตัวนำส่งสรรพากรแทนเองเลยค่ะ  ควักเนื้อ)  อีกอย่างอย่าลืมออกหนังสือรับรอง หัก ณ ที่จ่าย ให้คนที่ถูกเราหัก นะคะ

2. กรณีมีบิล  ก็ขอนามบัตรเค้ามาแนบนะคะ  (แต่บิลต้องเป็นใบเสร็จ  บิลเงินสดเท่านั้นนะคะ  ใบส่งของใช้ไม่ได้จ้า)
แบบฟอร์ม ใบรับเงิน



เบี้ยปรับเงินเพิ่ม (สรรพากร)

เบี้ยปรับเงินเพิ่ม 
1.  ค่าปรับอาญา กรณีไม่ได้ยื่นแบบ  ภพ30  (ไม่เคยยื่นแบบมาก่อน) 
-  กำหนดการยื่นแบบ  ภพ.30  ทุกวันที่  15  ของเดือนถัดไป
-  กรณียื่นแบบเกินกำหนดเวลา  แต่ไม่เกิน  7  วัน  ปรับ  300 บาท
-  กรณียื่นแบบเกินกำหนดเวลา  และเกิน  7  วัน  ปรับ  500  บาท

2.  เงินเพิ่ม
-  คิดในอัตราร้อยละ  1.5  ต่อเดือน  ของภาษีที่ต้องชำระทั้งสิ้น  (เศษของเดือนนับเป็น  1  เดือน)
-  กรณีไม่มีภาษีที่ต้องเสีย  ก็ไม่ต้องจ่ายเงินเพิ่ม  แต่จะเสียค่าปรับอาญากรณีไม่ได้ยื่นแบบเท่านั้น

3.  เบี้ยปรับ  คิดเบี้ยปรับในอัตราร้อยละ 2  ถึง  ร้อยละ 20
-  กรณียื่นเพิ่มเติม  (ต้องมีการยื่นแบบปกติมาก่อนถึงจะยื่นเพิ่มเติมได้)
                ถ้าชำระภายใน  1-15  วัน  คิดค่าเบี้ยปรับในอัตรา  2%
                ถ้าชำระภายใน  16-30  วัน  คิดค่าเบี้ยปรับในอัตรา  5%
                ถ้าชำระภายใน  31-60  วัน  คิดค่าเบี้ยปรับในอัตรา  10%
                ถ้าชำระภายใน  60  วันไปแล้ว  คิดค่าเบี้ยปรับในอัตรา  20%
 
-  กรณีไม่เคยยื่นแบบมาก่อน  (อาจจะลืมยื่น  หรือเงินไม่พอจ่ายเลยไม่ยื่น)
                ถ้าชำระภายใน  1-15  วัน  คิดค่าเบี้ยปรับในอัตรา  2%  *2 เท่า
                ถ้าชำระภายใน  16-30  วัน  คิดค่าเบี้ยปรับในอัตรา  5%  *2 เท่า
                ถ้าชำระภายใน  31-60  วัน  คิดค่าเบี้ยปรับในอัตรา  10%  *2 เท่า

                ถ้าชำระภายใน  60  วันไปแล้ว  คิดค่าเบี้ยปรับในอัตรา  20%  *2 เท่า

ตอบปัญหาบัญชีภาษีอากร (เรื่องภาษีถูกหัก ณ ที่จ่าย นำมาหักภาษีในแต่ละเดือนได้หรือไม่)

ตอบปัญหาบัญชีภาษีอากร 

เรื่อง  ภาษีถูกหัก ณ ที่จ่าย นำมาหักภาษีในแต่ละเดือนได้หรือไม่

คำถาม  :

ขอสอบถามเพิ่มเติมค่ะ
สำหรับในส่วน ของการหักภาษี ณ ที่จ่าย ที่ทางบริษัทฯ ถูกหักไป 3% จำนวน 2 รายการตามเอกสารแนบ
ไม่สามารถนำมาหักภาษีในแต่ละเดือนได้หรอค่ะ


คำตอบ :

ใบถูกหัก  3%  เราไม่สามารถนำมาหัก  ภาษีขายในแต่ละเดือนได้

เงื่อนไขการนำส่ง  ภพ30  คือ  ภาษีขาย-ภาษีซื้อ  เป็นภาษีที่ต้องนำส่ง

ใบถูกหัก  3%  นั้น  ไม่ใช่ภาษีซื้อจึงนำมาหัก  ออกจากภาษีขายไม่ได้


*****คำถามคือ  แล้วใบนี้ที่เราโดนหักไป  จะไปใช้อะไรได้บ้าง*****

สามารถนำมาใช้ได้ค่ะตอนสิ้นปี   คือ   รายได้-ค่าใช้จ่าย  เป็นกำไร

กำไรตัวนั้นหากถึงเกณฑ์ที่ต้องเสียภาษี  สมมุติ  คำนวนภาษีสิ้นปีได้  50000

ใบถูกหัก 3%  ทั้งหมดที่มี  30000  ดังนั้นภาษีที่เสียสิ้นปี  คือ 20000

ซึ่งหากทางลูกค้าไม่เก็บใบถูกหักไว้  สิ้นปีก็จะไม่สามารถ  ใช้ใบถูกหักมาลบกับภาษี

สิ้นปีได้ค่ะ  (เพราะถือว่าไม่มีเอกสาร  ดังนั้น  ควรเก็บให้ครบทุกใบค่ะ)


*****ภาษีทำไมมีหลายตัว****  ภาษีจะแบ่งเป็น 2 ส่วน

ภาษีที่เราจะต้องนำส่งรายเดือน

1. ภพ30  ภาษีขาย7%  ที่เราเรียกเก็บจากลูกค้ามา  ภาษีตัวนี้  เราต้องนำส่งสรรพากร  แต่หากมีภาษีซื้อก็สามารถนำมาหัก กับภาษีขายได้  ต้องนำส่ง  ภายใน วันที่ 15 ของเดือนถัดไป
2. ภงด3,53  ภาษีหักณ ที่จ่าย  ที่เรามีการจ่ายค่าจ้างให้กับบุคคลอื่น  หากมีการจ่ายมูลค่าตั้งแต่  1000  บาทขึ้นไปต้องหัก ณ  ที่จ่าย  ตามเกณฑ์ที่ประมวลรัษฎากรกำหนด  เช่น  ค่าขนส่งหัก 1%  ค่าจ้างหัก 3%  ค่าบริการหัก3%  ค่าโฆษณาหัก2%  เป็นต้น

ภาษีที่เราจะต้องนำส่งรายครึ่งปีและสิ้นปี

1. ภงด51 ภาษีนิติบุคคล  ตามกฎหมายกำหนดให้มีการเสียภาษี เงินได้นิติบุคคล  ครึ่งปี
2. ภงด50  ภาษีนิติบุคคล ตามกฎหมายกำหนดให้มีการเสียภาษี เงินได้นิติบุคคล  ปลายปี

ดังนั้น  ภาษีถูกหัก 3%  ที่ทางลูกค้าถามมานั้นจึงมาใช้หัก  กับตอนกลางปีและสิ้นปีได้ค่ะ


หากลุกค้าท่านใดมีข้อสงสัยสามารถ  Email  สอบถามเราได้ค่ะ budsarakum01@gmail.com  เราจะตอบปัญหาที่ข้องใจให้ทุกท่านค่ะ  และนำมาเผยแพร่เพื่อเป็นความรู้และประโยชน์แก่ท่านอื่นๆต่อไปค่ะ

ส่วนท่านใดต้องการตัดปัญหาการยื่นภาษีตกหล่น  สามารถเรียกใช้บริการเราได้ค่ะยินดีให้บริการ 
(ราคาไม่แพงค่ะ)  

Disqus Shortname

Comments system