เมื่อจะเริ่มต้นประกอบกิจการ จะจดทะเบียนแบบไหนดี
1. บุคคลธรรมดา
|
หรืออีกนัยหนึ่ง คือ “ธุรกิจเจ้าของคนเดียว” ลักษณะของกิจการประเภทนี้คือ
การตัดสินใจต่าง ๆ เป็นสิทธิของผู้เป็นเจ้าของเพียงคนเดียว การตัดสินใจต่าง
ๆ อยู่ในลักษณะ คิดคนเดียว ทำคนเดียว ซึ่งผลดีคือตัดสินใจง่ายและรวดเร็ว
แต่ผลจากการคิดคนเดียว ไม่ว่าจะเป็นผลดี…ได้
กำไร หรือเป็นผลเสีย….ขาดทุน ก็รับผลคนเดียวเต็ม ๆ
ซึ่งลักษณะธุรกิจประเภทนี้จะดีมากถ้าเจ้าของไม่มีปัญหาเรื่องเงินทุนหมุน
เวียน เพราะธุรกิจประเภทนี้ไม่สามารถระดมทุนจากใครได้
ลักษณะการเสียภาษี
เป็นไปตาม “อัตราก้าวหน้า” ซึ่งหมายถึง
ถ้ารายได้มากก็จะเสียภาษีมาก โดยอัตราภาษี สูงสุด ถึง 37%
ของกำไรหลังหักค่าใช้จ่าย นั่นคือ ค่าใช้จ่ายจะถูกกำหนดไว้ เป็น 2
ลักษณะ คือ อัตราเหมา (
กำหนดเป็นเปอร์เซ็นต์ตายตัวตามประเภทของธุรกิจ) และค่าใช้จ่ายตามจริง
(ต้องอ้างอิงเอกสารค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่สรรพากรยอมรับได้ หลังจากนั้นจึงนำมาหักค่าลดหย่อนส่วนตัว จึงจะเป็นฐานภาษีสำหรับคำนวณภาษีที่ต้องชำระ
2.นิติบุคคล
|
เป็นรูปแบบธุรกิจที่บุคคล 2 คนขึ้นไป ตกลงทำกิจการร่วมกัน
โดยมีวัตถุประสงค์จะแบ่งเป็นผลกำไร ตามอัตราส่วนที่แต่ละคนได้ลงทุน
ซึ่งแบ่งได้ เป็น 2 ประเภท คือ
1. หุ้างหุ้นส่วนสามัญ
- ลักษณะธุรกิจประเภทนี้ ไม่จำเป็นต้องเป็นนิติบุคคล
- ผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนต้องรับผิดชอบในหนี้สินไม่จำกัดจำนวน
- ถ้าไม่จดทะเบียนจะมีสถานะเป็นคณะบุคคล
- ถ้าจดทะเบียน มีสถานะเป็นนิติบุคคล เรียกว่า “ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล"
การจัดทำบัญชีและเสียภาษี การเสียภาษีเงินได้ของคณะบุคคลจะเสียภาษีเงินได้เหมือนกับบุคคลธรรมดาที่แยกออกจากตัวบุคคล ถือเป็นบุคคลอีกคนหนึ่งตามมาตรา 56 วรรค (2) ของประมวลรัษฏากร นอกจากนี้เงินส่วนแบ่งกำไรจากห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ด้วย
2 . ห้างหุ้นส่วนจำกัด
2 . ห้างหุ้นส่วนจำกัด
- ต้องจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล
- ความรับผิดชอบของผู้เป็นหุ้นส่วนแบ่งเป็น 2 ประเภทคือ
- ผู้เป็นหุ้นส่วนรับผิดชอบในหนี้สินจำกัด ไม่เกินเงินที่ได้ลงทุนไป ซึ่งหุ้นส่วน ประเภทนี้จะไม่มีสิทธิในการตัดสินใจในกิจการ
- ผู้เป็นหุ้นส่วนรับผิดชอบในหนี้สิน “ไม่
จำกัดจำนวน” ในที่นี้คือ
“หุ้นส่วนผู้จัดการ” ซึ่งหุ้นส่วนประเภทนี้จะมีหน้าที่รับผิดชอบ
และมีสิทธิเต็มที่ในการตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ ของกิจการ
การจัดทำบัญชีและเสียภาษี มีหน้าที่ต้องจัดทำบัญชี เหมือนกรณีตั้งบริษัท และเสียภาษีตามอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล
3 . บริษัทจำกัด
มีลักษณะจำเพาะดังนี้คือ
- แบ่งเงินลงทุนเป็นหุ้นมีมูลค่าหุ้นละ เท่า ๆ กัน
- มีผู้เริ่มก่อการจัดตั้งบริษัท ไม่น้อยกว่า 3 คน
- ผู้ถือหุ้นรับผิดชอบไม่เกินจำนวนค่าหุ้นที่ยังชำระไม่ครบถ้วน
- มีสภาพเป็นนิติบุคคล
- สามารถระดมทุนได้มากและง่าย
- ลักษณะการตัดสินใจในการบริหารงานเป็นในรูปของคณะกรรมการบริษัท จึงทำให้ได้รับความน่าเชื่อถือมากกว่าแบบบุคคลธรรมดา
การจัดทำบัญชีและเสียภาษี มีหน้าที่ต้องจัดทำบัญชี และเสียภาษีตามอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล
รายละเอียด
|
เจ้าของคนเดียว
|
ห้างหุ้นส่วน
|
บริษัทจำกัด
|
1. เงินลงทุน
|
มีเงินทุนจำกัด
|
ระดมทุนได้มากขึ้น
|
ระดมทุนได้ง่ายและมาก
|
2. การบริหารงาน
|
มีอำนาจตัดสินใจคนเดียว
|
ต้องปรึกษากับหุ้นส่วน
|
บริหารโดยคณะกรรมการบริษัท
|
3. ความรับผิดในหนี้สิน
|
เต็มจำนวน
|
- เต็มจำนวน(กรณีไม่จำกัดความรับผิดชอบ)
- จำกัด ไม่เกินมูลค่าหุ้น (กรณีจำกัดความรับผิดชอบ)
|
จำกัดเฉพาะมูลค่าหุ้นที่ยังชำระไม่ครบ
|
4. ผลกำไรขาดทุน
|
รับเพียงคนเดียว
|
เฉลี่ยให้ผู้เป็นหุ้นส่วน
|
จ่ายเป็นเงินปันผลตามจำนวนหุ้นที่ถือ
|
5. ภาษีเงินได้
|
ตามอัตราก้าวหน้า สูงถึง 37%
|
ตามอัตราก้าวหน้า สูงถึง 37% แต่ถ้าจดเป็นนิติฯ จะเสีย 15%-30% กรณีขาดทุนไม่ต้องเสียภาษี
|
อัตราร้อยละ 30 ของกำไรสุทธิ (SME เสียภาษีตามอัตราก้าวหน้า 15%-30%) ในกรณีขาดทุนไม่ต้องเสียภาษี
|
6. ความน่าเชื่อถือ
|
ต่ำ
|
ปานกลาง
|
สูง
|